Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1374
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์-
dc.contributor.authorนุชจรินทร์ อาจปรุ, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-02T12:37:10Z-
dc.date.available2006-08-02T12:37:10Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741711948-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1374-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractเนื่องจากความเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ผู้ใช้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เครือข่ายต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เช่นเว็บเซิร์ฟเวอร์มีขนาดเล็กไม่สามารถรองรับการร้องขอจากผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ จึงได้มีการประยุกต์แนวความคิดของแคชมาช่วย หลักการของแคช คือ การจัดเก็บเอกสารที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ หรือเป็นที่นิยมเอามาไว้ให้ใกล้กับผู้ใช้มากที่สุด จึงทำให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์แคชเกิดขึ้น มีทั้งที่เป็นฟรีแวร์ และซอฟต์แวร์ทางการค้า โปรแกรมสควิด เป็นโปรแกรมฟรีแวร์ทางด้านพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้ใช้ในการร้องขอเอกสารจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่จากการทำเบนช์มาร์กของเบคออฟ พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานของสควิดทำได้ดีที่ 80 คำร้องขอต่อวินาที ถ้าหากมีการร้องขอในอัตราที่สูงกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงเรื่อยๆ โดยที่ระยะเวลาในการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น และอัตราการฮิตลดลง การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพการทำงานของโปรแกรมสควิดในระดับมอดูลภายใต้สภาวะการร้องขอที่ต่างกัน ผลที่ได้จะนำไปเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการใช้งานโปรแกรมสควิดให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น โดยจะใช้หลักการในการพิจารณาปรับปรุงส่วนที่ใช้เวลาทำงานมากที่สุดก่อน เพื่อให้การปรับปรุงได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งจากการศึกษาและวิจัยพบว่าเวลาที่ใช้ในส่วนต่างๆ ของการทำงานของสควิดมีผลน้อยมากต่อเวลาการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเวลาที่ใช้ไปส่วนใหญ่เกิดจากเวลาในส่วนการทำงานของเครือข่าย ดังนั้นในการปรับปรุงสมรรถภาพการทำงานของสควิดควรจะปรับปรุงสภาพการทำงานของเครือข่ายเป็นลำดับแรก และพิจารณาขนาดของแคชที่ใช้เก็บข้อมูล โดยให้เหมาะสมตามสภาพการใช้งานของเครือข่ายในแต่ละองค์กร และเมื่อพิจารณาปรับปรุงการทำงานในระดับมอดูลของสควิด ควรปรับปรุงส่วนการจัดการเครือข่ายเป็นลำดับแรก ส่วนการติดต่อเซิร์ฟเวอร์เป็นลำดับที่สุง ส่วนการจัดเก็บข้อมูลเป็นลำดับที่สามและส่วนการติดต่อไคลเอนต์เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของแคชได้ดียิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe growth of the Internet has resulted in an increasing number of users accessing large amount of data from server. This has resulted to the increasing of server loads. The development of web caching is an attempt to reduce server load by allowing users to obtain objects from the cache instead of going directly to the server. Squid is a high performance web caching widely used to increase web service performance and reduce Internet connection cost. The bake-off benchmark indicates that performance of squid when there are more than 80 request/Sec. Many researches have been addressed squid's performance. However, they treat squid as a black-box which prevents them to explain how the time increases. This thesis has focused on measuring the elapsed time of the client request spending inside squid and analyzing squid at module-level. The results can be used for improving the performance of squid. The results indicate each request spends large overhead in network management modules. Thus, to improve the squid performance, the network overhead must be addressed first. The overhead in server, storage management, and client managemetn can be optimized after that.en
dc.format.extent2415961 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเว็บแคชen
dc.subjectเว็บเซิร์ฟเวอร์en
dc.subjectสควิด (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)en
dc.subjectโปรแกรมคอมพิวเตอร์en
dc.titleการวัดและวิเคราะห์สมรรถภาพของโปรแกรมสควิดในระดับมอดูลen
dc.title.alternativeThe performance measurement and analysis of squid at module-levelen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornatawut@cp.eng.chula.ac.th, Natawut.N@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuchjarin.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.