Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13824
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ | - |
dc.contributor.advisor | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ | - |
dc.contributor.author | กาญจน์ นทีวุฒิกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | - |
dc.date.accessioned | 2010-11-05T10:47:38Z | - |
dc.date.available | 2010-11-05T10:47:38Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13824 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเหตุผลการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่ โดยพิจารณาองค์ประกอบความหลากหลายของคน ความหลากหลายของเวลา ความหลากหลายของกิจกรรม มีสมมุติฐานการวิจัยว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการใช้อย่างอเนกประโยชน์ มี 3 ประการ คือ คุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่โครงสร้างเชิงสัณฐานของเมืองและผู้ใช้ ซึ่งมีปัจจัยรองได้แก่ ปัจจัยกายภาพ ปัจจัยสังคม และปัจจัยเศรษฐกิจ ตามแนวคิดของ Jane Jacobs, William H. Whyte และ Jan Gehl โดยแบ่งปัจจัยต่างๆ ที่มีระดับอิทธิพลต่อการใช้พื้นที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และมาก วิธีวิจัยประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่ว่างสาธารณะ 42 พื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นำมาวิเคราะห์ด้วยตารางเมตริกซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสัณฐานของเมืองด้วยเทคนิคการซ้อนทับแผนที่ และเทคนิคภาพและพื้น การแบ่งกลุ่มพื้นที่ศึกษาโดยใช้เกณฑ์ของ ย่าน ประโยชน์ใช้สอย การจัดตั้งและดำเนินการพื้นที่ จากนั้นจึงคัดเลือกพื้นที่ว่างสาธารณะ 3 พื้นที่ได้แก่ 1) ถนนคนเดินราชดำเนิน 2) บาทวิถีและถนนตลาดวโรรส และ 3) บาทวิถีหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อศึกษารายละเอียดผู้ใช้โดยแบบสอบถาม ผลของการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ประการ คือคุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่ โครงสร้างเชิงสัณฐานของเมืองและผู้ใช้มีความสัมพันธ์กัน ทำให้พื้นที่ว่างสาธารณะมีการใช้อย่างอเนกประโยชน์แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตามสมมุติฐาน นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์แตกต่างกัน 3 ระดับ กล่าวคือ ระดับแรกคือปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่ด้านกายภาพ ระดับสองคือปัจจัยสนับสนุนได้แก่ ปัจจัยคุณลักษณะเฉพาะพื้นที่ด้านสังคมและเศรษฐกิจรอบพื้นที่ และโครงสร้างเชิงสัณฐานของเมืองด้านความหนาแน่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน และขนาดบล็อกที่ดิน ระดับสุดท้ายที่มีอิทธิพลสูงสุดคือปัจจัยดึงดูดได้แก่ คุณลักษณะเฉพาะของพื้นที่ด้านสังคมและเศรษฐกิจในพื้นที่ และปัจจัยโครงสร้างเชิงสัณฐานของเมืองด้านโครงข่าย ย่าน ที่ตั้งของกิจกรรมเศรษฐกิจ และที่ตั้งของกิจกรรมสังคมวัฒนธรรม ข้อค้นพบสำคัญของการวิจัยนี้คือ พื้นที่ว่างสาธารณะจะเกิดการใช้อย่างอเนกประโยชน์ขึ้นได้ จะต้องมีปัจจัยหลายประการรวมกัน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยดึงดูด | en |
dc.description.abstractalternative | This study aims to define the logic of the multi-use of public open space in chiang Mai City by taking into account of human diversity, time diversity and activity diversity. The study hypothesis is that there are three relevant factors in multi-use, namely specific characteristics of space, urban morphological structure and users together with physical, social and economic sub-factors. This concurs with the concepts expressed by Jane Jacobs, William H. Whyte and Jan Gehl. Factors exerting influences on the use of space are grouped at three levels, low, middle and high. The research methology consists of surveying forty-two public open spaces in Chiang Mai City, then conducting a matrix analysis and studying the urban morphological structure with Overlay Mapping techniques and Figure and Ground techniques respectively. The study areas are divided according to districts, functions, setting and management of spaces. Subsequently, three public open spaces namely, the Ratchadamnoen pedestrian Street, Warorot Market Street and the footpath behind Chiang Mai University were chosen in order to conduct a detailed study of users through a questionnaire. The study reveals that the three factors--specific characteristics of space, urban morphological structure and users-- are meaningfully related. They account for the multi-use of public open spaces according to their locations in line with the study hypothesis. In addition, they exert influences on the multi-use of public open space at three levels. At the first level lies a basic factor, namely the specific physical characteristics of space. The second level concerns support factors namely specific social and economic characteristics of the surrounding areas and the urban morphological structure in terms of density, land use and plot sizes. At the third level are the most influential factors, that is, the attraction factors, namely specific social and economic characteristics of a given space, the urban morphological structure with network, district and locations of economics, social and cultural activities as sub-factors. The most important finding of this study is that the effective multi-use of public open space depends on the suitable combination of the basic factor, support factors and attraction factors. | en |
dc.format.extent | 20478047 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1744 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การใช้ที่ดิน -- ไทย -- เชียงใหม่ | en |
dc.subject | พื้นที่สาธารณะ -- ไทย -- เชียงใหม่ | en |
dc.title | ตรรกะของการใช้พื้นที่ว่างสาธาณะอย่างอเนกประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่ | en |
dc.title.alternative | The logic of multi-use of public open spaces in Chiang Mai City | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาคและเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wannasilpa.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Khaisri.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1744 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kan_Na.pdf | 20 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.