Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13854
Title: | Prevalence and van gene of vancomycin-resistant enterococci isolated from ark shell (arca granulosa) in Thailand |
Other Titles: | ความชุกและยีนดื้อยาของเชื้อเอ็นเตอร์โรค็อคชัยที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซินที่แยกได้จากหอยแครงในประเทศไทย |
Authors: | Varacha Singhsuwan |
Advisors: | Thongchai Chalermchaikit Tanittha Chatsuwan |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | Thongchai.c@chula.ac.th Tanittha.C@Chula.ac.th |
Subjects: | Enterococcus Vancomycin Vancomycin resistance Arcidae -- Thailand |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Prevalence of vancomycin resistant enterococci (VRE) in Thailand had been studied in farm animals, food of animal origins, domesticated animals and human. However, VRE in environment has not been reported in Thailand. Therefore this study was used ark shells which cultivated from the Gulf of Thailand as biological marker of VRE in the environment. They were filter feeders which could concentrate materials presented in water in their digestive tracts. Ark shell samples were collected from August 2005 to August 2006. Samples were pooled and individual counts; pooled of ark shell from same source approximately 10 shells which give total weight 25g as one sample, and individual shell from one source as one sample. All samples were screened for VRE by selective media contained 6 g of vancomycin per mL. Individual ark shell samples were found 0.36% of low level resistant VRE and all 5 isolates (100%) were classified as E.gallinarum. Pooled ark shell samples were found 26 isolates (4.3%) and classified as E.faecium 15 isolates (57.7%), E.faecalis 6 isolates (23.1%), E.gallinarum 3 isolates (11.5%) and E.casseliflavus 2 isolates (7.7%). Antimicrobial susceptibility test had been performed by using agar dilution method for six antibiotics; vancomycin (VN), ampicillin (AP), cholramphenicol (CHPC), erythromycin (ET), tetracycline (TE) and tylosin (TS) and E-test for teicoplanin (TP). All of 5 VRE isolated from individual ark shell samples were low level resistance (MIC = 8 g/ml) to VN and sensitive to all of other antibiotics. All of VRE isolated from from pooled ark shell samples were low level resistance to VN and sensitive to TP. E.faecium 15 isolates were resistance to AP, CHPC, TE and TS 13.3% and resistance to ET 33.3%. E.faecalis 6 isolates were susceptible to AP and CHPC and resistance to ET, TE and TS 16.7%. E.gallinarum were susceptible to AP and resistance to CHPC and TS 33.3% and resistance in ET and TE 66.7% and one from two of E.casseliflvus was resistance to only antibiotics; ET. Detection of van gene from all of low level resistance VRE by polymerase chain reaction (PCR) were found gene vanC1 in all of E.gallinarum isolates and vanC2/C3 in all of E.casseliflavus isolates. The low prevalence of VRE found in this study which showed low level resistance to vancomycin and susceptible to teicoplanin. Therefore VRE should not be a public health threat in Thailand. |
Other Abstract: | ความชุกของเชื้อเอ็นเตอร์โรค๊อกซัยที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (vancomycin resistant enterococci : VRE) ในประเทศไทยมีรายงานการศึกษาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ สัตว์เลี้ยง และในมนุษย์ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงเชื้อนี้ในสิ่งแวดล้อมมาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำการตรวจหาเชื้อ VRE ในสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยหอยแครงที่มีการเลี้ยงอยู่ตามบริเวณปากอ่าวไทย เนื่องจากเป็นสัตว์ที่สามารถรับเอาเศษตะกอนต่างๆที่อยู่ในแหล่งน้ำเข้าไปขณะที่กินอาหาร ดังนั้น หอยแครงสามารถเป็นตัวบ่งบอกการปนเปื้อนของเชื้อ VRE ในสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาการเก็บตัวอย่างเริ่มจากเดือน สิงหาคม 2548 ถึงเดือน สิงหาคม 2549 และได้แยกวิธีนับตัวอย่างออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ ใช้หอยแครงเพียง 1 ตัว ต่อแหล่งที่มา 1 แหล่ง และนำหอยแครงหลายตัวที่มาจากแหล่งเดียวกันรวมกันจนได้น้ำหนัก 25 กรัม โดยตัวอย่างทั้งหมดจะทำการเพาะแยกเชื้อโดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อจำเพาะที่มียาแวนโคมัยซิน 6 มิลลิกรัม/ลิตร พบว่าการใช้หอยหนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งตัวอย่างสามารถแยกเชื้อ VRE ที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซินระดับต่ำ (8 มก./ลิตร) 5 ตัวอย่าง (0.36%) โดยเป็น Enterococcus gallinarum ทั้งหมด ส่วนการรวมตัวอย่างหอย 25 กรัมเท่ากับหนึ่งตัวอย่างพบเชื้อ VRE 26 ตัวอย่าง (4.3%) โดยเป็น E.faecium 15 (57.7%) E.faecalis 6 ตัวอย่าง (23.1%) E.gallinarum 3 ตัวอย่าง (11.5%) และ E.casseliflavus 2 ตัวอย่าง (7.7%) การทดสอบความไวรับของเชื้อ VRE ต่อยา แวนโคมัยซิน แอมพิซิลิน คลอแรมฟินิคอล อิริโทมัยซิน เตตร้าซัยคลิน และไทโรซิน ด้วยวิธี agar dilution และการทดสอบความไวรับของเชื้อ VRE ต่อยาไทโคพานินด้วย E-test พบว่าเชื้อ VRE ที่แยกได้จากการนับตัวอย่างหอยหนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งตัวอย่างซึ่งเป็น E.gallinarum ทั้งหมดนั้นดื้อต่อยาแวนโคมัยซินในระดับต่ำ (ค่าต่ำสุดของยาที่ใช้ในการยับยั้งแบคทีเรียเท่ากับ 8 มิลิกรัม/ลิตร) และไม่มีการดื้อต่อยาต้านจุลชีพชนิดอื่นๆ สำหรับ VRE ที่แยกได้จากการนับตัวอย่างอีกวิธีนั้นพบว่าทุกตัวดื้อต่อยาแวนโคมัยซินในระดับต่ำ (8 มก./ลิตร) และไม่มีการดื้อต่อยาไทโคพานิน ส่วนการรวมตัวอย่างหอย 25 กรัมเท่ากับหนึ่งตัวอย่างซึ่งเป็น E.faecium 15 ตัวอย่างพบว่าดื้อต่อยา แอมพิซิลิน คลอแรมฟินิคอล เตตร้าชัยคลิน และไทโรซิน อย่างละ 13.3% และดื้อต่อยาอิริโทมัยซิน คิดเป็น 33.3% E.faecalis 6 ตัวอย่าง ไม่มีการดื้อต่อยา แอมพิซิลิน คลอแรมฟินิคอล และดื้อต่อยา อิริโทมัยซิน ไทโรซิน และเตตร้าซัยคลิน คิดเป็นอย่างละ 16.7% E.gallinarum ไม่มีการดื้อต่อยาแอมพิซิลิน และดื้อต่อยาคลอแรมฟินิคอล และไทโรซิน คิดเป็นอย่างละ 33.3% และในยาอิริโทมัยซิน และ เตตร้าซัยคลิน คิดเป็นอย่างละ 66.7% และ E.casseliflavus พบว่าดื้อต่อยาอิริโทมัยซินเพียงชนิดเดียวคิดเป็น 50% ทั้งนี้ การตรวจหายีนดื้อยาแวนโคมัยซินของเชื้อ VRE ที่แยกได้จากตัวอย่างทั้งหมดด้วยวิธี polymerase chain reaction พบยีน vanC1 ใน E.gallinarum ทุกตัว และพบยีน vanC2/C3 ใน E.casseliflavus ทุกตัว และไม่พบยีน vanA และ vanB การที่เชื้อ VRE ที่แยกได้จากหอยแครงมีปริมาณน้อย มีการดื้อต่อยาแวนโคมัยซินรับต่ำ แสดงให้เห็นว่า VRE ที่พบในประเทศไทยนั้นไม่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2006 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Medical Microbiology (Inter-Department) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13854 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1787 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1787 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Varacha_Si.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.