Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13890
Title: ผลของสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อการเติบโต การรอดตาย และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในกุ้งขาว Litopenaeus vannamei
Other Titles: Effects of immunostimulants on growth, survival, and immune response in the white shrimp Litopenaeus vannamei
Authors: ขวัญดาว จันทโชติ
Advisors: สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.P@Chula.ac.th
Subjects: กุ้งขาวแวนนาไม
ระบบภูมิคุ้มกัน
สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
บีตากลูแคน
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของอาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมบีตากลูแคนและนิวคลีโอไทด์ เปรียบเทียบกับอาหารชุดควบคุมในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) โดยเลี้ยงกุ้งด้วยอาหารเสริม 0.01%บีตากลูแคน 2%นิวคลีโอไทด์ และอาหารชุดควบคุม ที่ความเค็ม 20 ส่วนในพันส่วน แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดลองที่ 1 การศึกษาผลของบีตากลูแคนและนิวคลีโอไทด์ต่อการเติบโตและการรอดตายในกุ้งขาวแวนนาไม โดยเริ่มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ขนาดน้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 0.1 กรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า การเติบโตของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม 0.01 %บีตากลูแคนและ 2%นิวคลีโอไทด์สูงกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การรอดและผลผลิตรวมของกุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม0.01 %บีตากลูแคน มีค่าสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ และการทดลองที่ 2 การศึกษาผลของบีตากลูแคนและนิวคลีไทด์ต่อการเติบโต การรอด และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในกุ้งขาวแวนนาไม โดยเริ่มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมขนาดน้ำหนัก 11-15 กรัม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า การเติบโต การรอด และผลผลิตรวมของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม 0.01 %บีตากลูแคน มีค่าสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ การตอบสนองภูมิคุ้มกันในกุ้งขาวแวนนาไมก่อนการชักนำให้เกิดโรคด้วย Vibrio harveyi สายพันธุ์ 1526 พบว่า อาหารเสริม 0.01 %บีตากลูแคนมีค่าปริมาณเม็ดเลือดรวมและแอคทิวิตีของฟีนอลออกซิเดสมีค่าสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การตอบสนองภูมิคุ้มกันในกุ้งขาวแวนนาไมหลังการชักนำให้เกิดโรคด้วย Vibrio harveyi สายพันธุ์ 1526 เป็นเวลา 4 วัน พบว่า อาหารเสริม 0.01 %บีตากลูแคน มีค่าปริมาณเม็ดเลือดรวมและแอคทิวิตีของฟีนอลออกซิเดสมีค่าสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทดลองสูตรอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และเปอร์เซ็นต์การตายสะสมของกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม 0.01 %บีตากลูแคนมีเปอร์เซ็นต์การตายสะสมที่น้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารทดลองเสริม 2%นิวคลีโอไทด์และอาหารทดลองชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
Other Abstract: The present study was designed to determine the effect of beta-glucan (BG) and nucleotide on white shrimp Litopenaeus vannamei . Shrimp were fed diets supplemented 0.01% beta-glucan , 2% nucleotide and non of them (control) at salinity 20 ppt. The experiment was separated into two parts. The first part was to study the effects of beta-glucan and nucleotide on growth and survival in white shrimp Litopenaeus vannamei . Shrimp with average weight of 0.1g were fed diets for 12 weeks. The result showed that growth of white shrimp fed 0.01% beta-glucan and 2% nucleotide diets were significantly (P<0.05) higher than that of control diet. Survival and production of white shrimp fed 0.01% beta-glucan diet were significantly (P<0.05) higher than those of the other treatments. And the second part was to study the effects of beta-glucan and nucleotide on growth survival and immune response of white shrimp. Shrimp with weight of 11-15g were fed those diets for 4 weeks. The result showed that growth, survival and production of white shrimp fed 0.01% beta-glucan were significantly (P<0.05) higher than those of other treatments. Immune response before challenging the white shrimp with Vibrio harveyi strain 1526 showed that total hemocyte count and phenoloxidase activity of the white shrimp fed 0.01% beta-glucan were significantly (P<0.05) higher than those of other treatments. Cumulative mortality of white shrimp fed 0.01% beta- glucan (12.5%±0.0%) was significantly (P<0.05) lower than the groups fed 2% nucleotide (31.25%±8.84%) and control (62.5%±0.0%).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13890
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.826
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khwandaw_ch.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.