Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/138
Title: | การแสดงออกของทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟาในไลเคนพลานัสในช่องปาก |
Other Titles: | Expression of tumor necrosis factor-alpha in oral lichen planus |
Authors: | วิไลรัตน์ สฤษฎีชัยกุล, 2521- |
Advisors: | กอบกาญจน์ ทองประสม กิตติพงษ์ ดนุไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kobkan.T@chula.ac.th |
Subjects: | ปาก--โรค ไลเคนแพลนัส |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไลเคนพลานัสในช่องปากเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งของเยื่อเมือกในช่องปาก อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดโรคไลเคนพลานัสในช่องปากยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด หลักฐานในปัจจุบันสนับสนุนว่าระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์เป็นสื่อ (cell-mediated immunity) เกี่ยวข้องในการเกิดพยาธิสภาพของรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก และอาจถูกควบคุมด้วยซัยโตไคน์และ receptors หลายชนิด ทูเมอร์เนคโครซิสแฟกเตอร์-แอลฟา (Tumor necrosis factor-alpha, TNF-[alpha]) เป็นซัยโตไคน์ที่ทำให้เกิดการอักเสบซึ่งอาจเกี่ยวข้องในกระบวนการตายของเบซัลเซลล์เคอราติโนซัยต์ในเยื่อบุผิวของรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของ TNF-[alpha] ในรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปากเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อปกติ ชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากจำนวน 20 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 ราย ส่งตรวจด้วยวิธีการทางพยาธิวิทยาและอิมมูโนฮิสโตเคมีที่ย้อมด้วยแอนติบอดีต่อ TNF-[alpha] ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากจาก 18 ใน 20 ราย (ร้อยละ 90) แสดงปฏิกิริยาที่ให้ผลบวกต่อ TNF-[alpha] ซึ่งพบ TNF-[alpha] ทั้งหมดในโมโนนิวเคลียร์เซลล์ ในขณะที่มีเพียง 7 จาก 20 ราย (ร้อยละ 35) ที่พบ TNF-[alpha] ในเคอราติโนชัยต์ ส่วนเนื้อเยื่อปกติมีโมโนนิวเคลียร์เซลล์เพียง 1-2 เซลล์ ที่ให้ผลบวกต่อ TNF-[alpha] ในขณะที่เคอราติโนซัยต์ในเนื้อเยื่อปกติทั้งหมดไม่พบการแสดงออกของ TNF-[alpha] อย่างไรก็ตามจำนวนโมโนนิวเคลียร์เซลล์ที่ให้ผลบวกต่อ TNF-[alpha] และโมโนนิวเคลียร์เซลล์บริเวณลามินา โพรเปรียของรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปากมีค่าสูงกว่ากลุ่มเนื้อเยื่อปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.000) เช่นเดียวกับจำนวนเคอราติโนซัยต์ที่ให้ผลบวกต่อ TNF-[alpha] ของรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปากมีค่าสูงกว่ากลุ่มเนื้อเยื่อปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.004) ส่วนจำนวนเซลล์ที่ให้ผลบวกต่อ TNF-[alpha] และโมโนนิวเคลียร์เซลล์บริเวณลามินา โพรเปรียของผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากระหว่างชนิดฝ่อลีบและชนิดแผลถลอกไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษานี้แสดงว่าการเพิ่มการแสดงออกของ TNF-[alpha] อาจมีบทบาทสำคัญในการเกิดพยาธิสภาพของรอยโรคไลเคนพลานัสในช่องปาก |
Other Abstract: | Oral lichen planus (OLP) is a chronic inflammatory oral mucosal disease. However, the cause of OLP remains unknown. Current evidence suggests that cell-mediated immunity is involved in the pathogenesis of OLP and it may be regulated by various cytokines and their receptors. Tumor necrosis factor-[alpha] (TNF-[alpha]) is a proinflammatory cytokine which may be involved in the basal keratinocyte apoptosis in OLP lesional epithelium. The present study investigated the expression of TNF-[alpha] in OLP compared with normal oral mucosa. Twenty OLP and 20 control tissue biopsies were sent for histopathologic examination and immunologically stained with antibody to TNF-[alpha]. The results showed that 18 out of 20 OLP cases (90%) showed positive staining to TNF-[alpha]. All of the TNF-[alpha] positive were observed in mononuclear cells, whereas only 7 out of 20 OLP cases (35%) were detected in keratinocytes. Only few mononuclear cells in normal oral mucosa showed TNF-[alpha] positive, while all of the keratinocytes in normal mucosa were TNF-[alpha] negative. However, the number of mononuclear cells positive for TNF-[alpha] and mononuclear cells in lamina propria of OLP were statistically higher than normal oral mucosa (p=0.000). Likewise, the number of keratinocytes positive for TNF-[alpha] of OLP were also statistically higher than that of normal oral mucosa (p=0.004). The number of cells positive for TNF-alpha and mononuclear cells in lamina propria of OLP between atrophi and erosive types were not statistically different. These findings suggest that increased expression of TNF-[alpha] may play an important role in the pathogenesis of OLP |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ช่องปาก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/138 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.441 |
ISBN: | 9741765754 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.441 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wilairat.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.