Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorวชิรา สุทธิธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-11-16T07:18:24Z-
dc.date.available2010-11-16T07:18:24Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13912-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ (one–group repeated measures design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสอนแนะการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เรื่องการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบวัดความรู้เรื่องการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หาค่าความเที่ยง โดยใช้สูตร KR-20 ได้เท่ากับ .70 ส่วนแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หาความเที่ยงได้เท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติเฉลี่ย 10.47 (SD=1.64) และ 41.84 (SD=5.33) หลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติเฉลี่ย 13.42 (SD=1.71) และ 66.00 (SD=0.00 ) และ 1 เดือนหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้และคะแนนการปฏิบัติเฉลี่ย 14.21 (SD=0.71) และ 65.89 (SD=0.32) ตามลำดับ2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะ หลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะทันทีและหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ 1 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี Scheffe’ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะน้อยกว่าหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะทันทีและหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ 1 เดือน 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติ ก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะ หลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะทันทีและหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ 1 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธี Scheffe’ พบว่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติก่อนได้รับโปรแกรมการสอนแนะน้อยกว่าหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะทันทีและหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ 1 เดือนที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะทันทีและหลังได้รับโปรแกรมการสอนแนะ 1 เดือนไม่แตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of research one–group repeated measures design was to examine the effect of coaching program on knowledge and nursing practices to prevent ventilator associated pneumonia (VAP). The samples were 19 registered nurses, who worked at the medical intensive care unit in Maharaj Nakornsrithammaraj Hospital. The intervention tool employed in this study was a coaching program to prevent VAP. The instruments for collecting data consisted of the personal information questionnaire, knowledge preventing VAP question and observational checklist regarding nurses practices for preventing VAP. All instruments were validated by a panel of 5 experts. The reliability of the knowledge was .70 and observational was .99 receptively. The data were analyzed using mean, standard deviation, and One Way Repeated Measures ANOVA. Results were as follows: 1. At baseline, the mean of knowledge scores and the mean of practice scores were 10.47 (SD=1.64) and 41.84 (SD=5.33) respectively. Immediately after receiving coaching program, the mean of knowledge scores and the mean of practice scores were 13.42 (SD=1.71) and 66.00 (SD=0.00) while one-month post intervention, the mean of knowledge scores and the mean of practice scores were 14.21 (SD=0.71) and 65.89 (SD=0.32). 2. Mean of knowledge scores for preventing VAP at baseline was lower than the scores immediately after receiving coaching program and one-month post receiving coaching program at the level .05. 3. Mean of practice scores for preventing VAP at baseline was lower than the scores immediately after receiving coaching program and one-month post receiving coaching program at the level .05. There was no significant difference on the mean of practice scores immediately and one-month post receiving coaching program.en
dc.format.extent3172002 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1047-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเครื่องช่วยหายใจen
dc.subjectปอดอักเสบen
dc.titleผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจen
dc.title.alternativeEffects of coaching program on knowledge and nursing practices to prevent ventilator associated pneumonaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1047-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wachira_su.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.