Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13977
Title: การสร้างอัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่าง
Other Titles: Identity construction of vocational students
Authors: ไปรยา ศรีสวัสดิ์
Advisors: ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.P@chula.ac.th
Subjects: อัตลักษณ์
วัฒนธรรมย่อย
นักเรียนอาชีวศึกษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่าง ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ และการรับรู้อัตลักษณ์นักเรียนอาชีวศึกษาสายช่างของสังคม โดยอาศัยการสัมภาษณ์กลุ่มกับนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่าง และการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่างหรือเด็กช่าง ประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล โดยเด็กช่างคิดว่าตนเองมีความแตกต่างจากนักเรียนสายสามัญในด้านการเรียนและการใช้ชีวิต ซึ่งการแสดงออกถึงความเป็นเด็กช่างไม่ขัดแย้งกับตัวตนที่แท้จริง และคิดว่าบุคคลในสังคมมองว่าตนเองเป็นตัวปัญหาและชอบใช้ความรุนแรงมากที่สุด 2) อัตลักษณ์ทางสังคม เด็กช่างแต่ละคนมีการแสดงอัตลักษณ์ของเด็กช่างแตกต่างกันไป ซึ่งจะเลือกนำมาปฏิบัติเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอง โดยแสดงออกผ่านการแต่งกาย การใช้เครื่องประดับที่มีตราสถาบัน ความนับถือในพระวิษณุกรรม การใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม และการรวมกลุ่มในที่สาธารณะมากที่สุด 3) อัตลักษณ์กลุ่ม นอกจากการแบ่งกลุ่มเด็กช่างตามสถาบันแล้ว ยังสามารถแบ่งตามการเกิดกลุ่มได้อีกคือ กลุ่มที่เกิดจากการเรียน กลุ่มที่เกิดจากเวลาเรียนและกลุ่มที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะมีการสื่อสารอัตลักษณ์ของเด็กช่างผ่านทางการแต่งกาย การใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม กลุ่มเพื่อน การศึกษาและการศึกษาต่อ ค่านิยมความเชื่อ ดนตรี งานกราฟฟิติ ความรัก ยาเสพติด และการใช้ความรุนแรงหรือการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่าง ได้แก่ ตัวของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่างเอง เพื่อน รุ่นพี่ ครอบครัว สถาบันอาชีวศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน และสังคม โดยกระบวนการสร้างอัตลักษณ์แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนและหลังจากเข้ามาศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาสายช่าง ซึ่งอัตลักษณ์ของเด็กช่างจะถูกสร้างผ่านกระบวนการปลูกฝังค่านิยมและสร้างทัศนคติ รวมถึงการเลียนแบบรุ่นพี่ โดยอัตลักษณ์ดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ทั้งนี้ สังคมรับรู้อัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่างผ่านการแสดงออกของเด็กช่างในที่สาธารณะและหนังสือพิมพ์มากที่สุด โดยจะนึกถึงเรื่องในด้านลบได้ก่อนเสมอคือ การใช้ความรุนแรงก่อเหตุทะเลาะวิวาท การรวมกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และปัญหาสังคม
Other Abstract: To examine the identity of vocational students in the field of mechanics, and to investigate the factors influencing their self-perception and construction of their identity and how they are perceived by the public. To gather data, focus groups with vocational students and in-depth interviews with the general public were used. The results show that; 1) regarding individual identity, the vocational students were perceived differences in learning and lifestyle with general students, reflecting that there was no conflict with self-identity among the vocational students. The vocational students were perceived as troublemakers who are likely to be aggressive and commit violence. 2) social identity: individual vocational students have a somewhat different social identity. They are inclined to follow what seems suitable to them. Their expression and conduct was done through dress, wearing accessories symbolizing their institutes, respect for Vishnukarma, social dialect and public gathering mostly. 3) collective identity: vocational students are categorized by institution, and group formation; namely, learning groups and everyday lifestyle groups. Means of communication was expressed through dressing, social dialect, peer groups, education, educational advancement, values, belief, music, graffiti, love, drug use, extreme violence and quarreling. The factors influencing the identity construction of the vocational students included the student model, peers, senior students, family, vocational institute, related functional groups, mass media, and society. The identity formation process can be divided into two phrases, before and after becoming a vocational student The identity was formed through a process of nurturing the values and attitude, and imitation of senior students. The later perception varied with the context. The public perceived the vocational student’s identity through expression in public and their portrayal in the newspaper media mostly. The most frequently perceived picture of vocational students by the public was of violence, quarreling, gang activity and social problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13977
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1774
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1774
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairaya_Sr.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.