Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14162
Title: อิทธิพลของวัสดุผนังและช่องเปิดต่อการถ่ายเทความร้อนในอาคารรูปทรงปิระมิด : กรณีศึกษา มหาวิหารธรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The effect of wall materials and opening on heat transfer in pyramidal shape building : case study of Mahaviharn Dhamma, Wat Phra Sri Rattana Mahathat Vora Mahaviharn Phitsanulok
Authors: สรณียา หมั่นดี
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: soontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: ความร้อน -- การถ่ายเท
สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
วัสดุปิดผนัง
การปรับอากาศ
วิหาร
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การควบคุมอุณหภูมิอากาศภายในอาคารให้คงที่ ปัจจัยที่สำคัญคือวัสดุผนังและช่องเปิด เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายเทความร้อนระหว่างอุณหภูมิอากาศภายในและอุณหภูมิภายนอกอาคาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของวัสดุมวลสารและช่องเปิดที่มีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิ ภายในอาคารรูปทรงปิระมิดทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าการถ่ายเทความร้อนภายในอาคารรูปทรงปิระมิด ของผนังที่มีค่าความเป็นฉนวนต่างกัน โดยการสร้างหุ่นจำลองรูปทรงปิระมิดที่ใช้วัสดุแตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ ผนังเหล็กเคลือบสังกะสี มีค่าR เท่ากับ 1.01 hr.ft2.°F/Btu ผนังยิปซัมสองชั้น มีค่าR เท่ากับ 1.61 hr.ft2.°F/Btu และผนังระบบฉนวน มีค่าR เท่ากับ 12.88 hr.ft2.°F/Btu และจำลองสภาพการทดลองเป็น 3 กรณี ได้แก่ เปิดช่องแสง ปิดช่องแสง เปิดช่องแสงปรับอากาศ โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 ขั้นตอนคือ 1) เก็บข้อมูลอุณหภูมิทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง 2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศ จากการศึกษาพบว่า กรณีเปิดช่องแสงของผนังทุกประเภท มีอุณหภูมิอากาศภายในสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก โดยผนังเหล็กรีดลอนและผนังยิปซัมสองชั้น มีค่าความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุด 2℃ กรณีปิดช่องแสงของผนังทุกประเภท มีอุณหภูมิอากาศภายในสูงกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอกแต่ต่ำกว่ากรณีเปิดช่องแสง และผนังระบบฉนวนมีค่าความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศภายในสูงสุด 13℃ ส่วนอุณหภูมิอากาศภายในที่ความสูงจากพื้น 15 เซนติเมตร มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศภายในที่ความสูงจากพื้น 30 45 และ 60 เซนติเมตร โดยอุณหภูมิในระดับล่างจะต่ำกว่าอุณหภูมิในระดับสูงประมาณ 0.5℃ ส่วนกรณีเปิดช่องแสงปรับอากาศพบว่า ผนังเหล็กรีดลอน และผนังยิปซัมสองชั้น สามารถควบคุมอุณหภูมิอากาศภายในที่ระดับความสูงจากพื้น 2 เซนติเมตรให้อยู่ในเขตสภาวะน่าสบายได้ในช่วงเวลา 18.00-09.00 น. จำนวน 15 ชั่วโมง ส่วนผนังระบบฉนวน สามารถควบคุมอุณหภูมิอากาศคงที่ ที่ระดับความสูงจากพื้น 2 เซนติเมตรให้อยู่ในเขตสภาวะน่าสบายได้เกือบตลอดวัน ผลการวิจัยพบว่า ขนาดของช่องเปิดมีผลต่อการถ่ายเทความร้อนภายในอาคาร อาคารที่มีวัสดุมวลสารน้อย และช่องเปิดขนาดใหญ่ จะมีปริมาณความร้อนเข้ามาภายในอาคารมาก ถ้าอาคารมีช่องเปิดขนาดเล็ก สามารถรับแสงได้เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าช่องแสงมีขนาดที่เหมาะสม ทำให้ความร้อนเข้ามาในอาคารได้น้อย และมีแสงจากภายนอกเพียงพอต่อการใช้งานจะประหยัดพลังงานในอาคารเป็นจำนวนมาก และเพื่อให้ได้อาคารที่ประหยัดพลังงานควรพิจารณาเลือกใช้ผนังที่มีค่าRที่เหมาะสม (R-Value = 12.88 hr.ft2.°F/Btu) และขนาดของช่องเปิดควรมีประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่เปลือกอาคาร
Other Abstract: The crucial factors in stabilizing indoors temperature are wall materials and openings as they play an important part in the heat transfer. This study aims at analyzing the effects of materials and openings on the difference of temperatures measured on both vertical and horizontal planes in a pyramidal-shaped building, and comparing heat transfer rates of walls with various insulating properties. Three pyramidal-shaped models were constructed using different materials -- a corrugated metal sheet R-Value 0.94 hr.ft2.°F/Btu, double layered gypsum R-Value 2.47 hr.ft2.°F/Btu and an insulated wall R-Value 13.12 hr.ft2.°F/Btu. Three different conditions were simulated -- openings open, openings closed, and air-conditioned openings open. The study was conducted in 2 steps, starting with the collection of temperatures on horizontal and vertical planes; and the temperature data comparative analysis. The study found that when the openings were open, indoor temperature was higher than that outside whereas when the openings were closed, indoor temperature was still higher than outside, but not as much as when the openings were open. The corrugated metal sheet and double-layered gypsum walls showed the highest temperature variance at 2℃ while the insulated wall showed a difference of indoor temperature at 13℃. The temperature measured at the height of 15 centimeters from the ground was lower then the temperatures measured at 30, 45, and 60 centimeters from the ground by 0.5℃. When the air-conditioned openings were open, the corrugated metal sheet and double-layered gypsum walls could control indoor temperature at the height of 2 centimeters from the ground to be in comfort condition for 15 hours during 18.00-09.00. The insulated walls, on the other hand, could stabilize temperature at the height of 2 centimeters from the ground to be in comfort condition for most of the day. The finding show that the glass fenestration size affect building heat transfer. The low mass building with large glass fenestration will allow high building heat transfer. On the other hand, the low mass building with small glass fenestration will allow low building heat transfer. The recommended R-Value for energy saving building should be 12.88 hr.ft2.°F/Btu and glass fenestration size should have approximately 5% of useable area.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14162
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.213
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.213
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soraneya_Mh.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.