Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพีระ จิรโสภณ-
dc.contributor.authorสุทธาสินี มะสะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-25T11:45:28Z-
dc.date.available2010-12-25T11:45:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14239-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษาช่องว่างทางดิจิทัลของนักหนังสือพิมพ์ไทย เปรียบเทียบระหว่างประเภทหนังสือพิมพ์ที่สังกัดและสายงานที่รับผิดชอบ โดยศึกษาจากตัวอย่างนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 180 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถาม (Questionaire) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอโดยการแจกแจงค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบระหว่างค่าเฉลี่ย ตัวแปร โดยใช้ T-Test และ ANOVA และวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบสหสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของ Pearson’s r ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยในส่วนทักษะ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักหนังสือพิมพ์พบว่า นักหนังสือพิมพ์มีทักษะทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง ทักษะทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำ ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตในระดับปานกลาง ความรู้ความเข้าใจทางด้านไอทีและดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติต่อเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในทางบวกค่อนข้างมาก และมีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับปานกลาง และจากผลการวิจัยในการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. นักข่าวหนังสือพิมพ์มีช่องว่างทางทักษะด้านภาษาอังกฤษ โดยแตกต่างกันตามประเภทหนังสือพิมพ์ที่สังกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้หนังสือพิมพ์แนวคุณภาพนักหนังสือพิมพ์มีทักษะทางภาษาอังกฤษ สูงกว่าหนังสือพิมพ์แนวกึ่งคุณภาพกึ่งปริมาณ 2. นักข่าวหนังสือพิมพ์มีช่องว่างทางทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านอินเทอร์เน็ต และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกันตามประเภทสายงานข่าวที่รับผิดชอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้สื่อข่าวประเภทข่าวหนัก (ยกเว้นข่าวไอที) มีทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะทางอินเทอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำกว่าผู้สื่อข่าวประเภทข่าวไอที 3. นักข่าวหนังสือพิมพ์มีช่องว่างทางทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านอินเทอร์เน็ต ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี แตกต่างกันตามลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม ในด้าน อายุการทำงานข่าว ระดับการศึกษา รายได้ และตำแหน่งงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ด้านคอมพิวเตอร์ และด้านอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลen
dc.description.abstractalternativeTo study the digital divide among Thai journalists comparing across types of newspaper and job categories. Samples of study are 180 newsmen working in Bangkok metropolitan and nearby areas. Survey research was conducted using questionnaires and in-depth interview in gathering research data. Descriptive statistics (frequency, percentage, mean, and standard deviation) and inferential statistics (t-test, ANOVA, and Pearson’s r) were employed to analyze data and test hypothesis with SPSS program. Findings demonstrate that Thai journalists possess moderate efficiency in English language and internet utilization skills, but low computer skill. In addition, they have information technology and digital knowledge in moderate level and attitude regarding IT is much positive. Results from the hypothesis testing show evidence of digital divide as follows: 1. Thai journalists who work in qualitative - oriented newspaper have higher English skill than those who are employees of mixed qualitative-quantitative type newspapers. 2. Thai journalists who cover information – technology (IT) news have higher computer and internet skills and IT practices than journalists who cover other hard news. 3. English language skill, computer skill, internet skill, IT knowledge, IT attitude, and IT practices of Thai journalists are dependent on their working experience, educational level, income level, and job position. 4. English language skill, computer skill, internet skill of Thai journalists are related to their IT knowledge level and IT practice.en
dc.format.extent1532789 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.479-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลen
dc.subjectนักหนังสือพิมพ์ -- ไทยen
dc.titleช่องว่างทางดิจิทัลของนักหนังสือพิมพ์ไทย เปรียบเทียบระหว่างประเภทหนังสื่อพิมพ์ที่สังกัดและสายงานที่รับผิดชอบen
dc.title.alternativeDigital divide among Thai journalists comparing across types of newspapers and job categoriesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPira.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.479-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttasinee_ma.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.