Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14390
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิช-
dc.contributor.authorบุญหนัก ศรีเกษม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-01-11T06:05:36Z-
dc.date.available2011-01-11T06:05:36Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14390-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) แบบเปรียบเทียบกับกลุ่มเกณฑ์ (Static group comparision design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนของผู้ป่วยหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลวิชาชีพกับกลุ่มการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 30 คน เป็นผู้ป่วยที่เลือกเข้ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติจำนวน 15 คนและกลุ่มทดลอง 15 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ป่วยได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติและกลุ่มทดลองด้วยวิธีจับคู่กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมมี 4 ชุดคือ 1) แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรม 2) คู่มือการปฏิบัติงาน และ 3) วีดีทัศน์เรื่องการปฏิบัติตนของผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด และ4) แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูลมี 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกจำนวนวันนอน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบ เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเท่ากับ .93 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอลไทล์ และทดสอบความแตกต่างของจำนวนวันนอนด้วยสถิติ Independent t-test และทดสอบความแตกต่างของความ พึงพอใจต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลด้วยสถิติ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จำนวนวันนอนของผู้ป่วยศัลยกรรมหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม สั้นกว่าจำนวนวันนอนของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของพยาบาล ต่อการใช้รูปแบบของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าการพยาบาล ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this experimental research were to study the effect of surgical nursing based on JCAHO model on length of stay, and nurses satisfaction between experimental group and criteria group in Rajavithi Hospital. The research subjects consisted of 30 surgical patient and 10 professional nurses who worked in woman surgical unit. The surgical patients were randomly assigned to either experimental group and control group by matched pair technique. Research instruments were guideline for surgical nursing, handbook of nursing practice, video media and observation form of nursing practice. Research data were obtained by questionnaires of patient length of stay and nurses’ satisfaction. The content validity of nurses’ satisfaction by 5 experts was .93. The Cronbach’s alpha coefficient of questionnaires were .94 respectively. Statistical methods used in data analysis were mean, standard deviation, median, interquatile range, independent t –test and Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test. The research findings were as follow 1. The length of stay in experimental group after the implementation of using surgical nursing model was significantly lower than normal nursing care group at the level .05 2. The overall nurses satisfaction after using surgical nursing model was significantly highly than using normal nursing care at the level .05en
dc.format.extent1641992 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.980-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความพึงพอใจen
dc.subjectพยาบาลen
dc.subjectการดูแลก่อนศัลยกรรมen
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรมen
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแลen
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลต่อจำนวนวันนอนของผู้ป่วยศัลยกรรมและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลราชวิถีen
dc.title.alternativeEffects of using nursing model on surgical patients' length of stay and professional nurses's using nursing model satisfaction, Rajavithi Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsuvinee@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.980-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonnak_sr.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.