Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/144
Title: ความไม่มีเสถียรภาพของการส่งออกและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศกำลังพัฒนา
Other Titles: Export instability and economic growth of developing countries
Authors: เปรมจิตต์ ศิริรังสรรค์กุล
Advisors: สมช่าย รัตนโกมุท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: การค้าระหว่างประเทศ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ--ประเทศที่กำลังพัฒนา
อุตสาหกรรมการส่งออก--ประเทศที่กำลังพัฒนา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มีเสถียรภาพของรายรับ จากการส่งออกและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการประมาณค่าสมการถดถอยและ Autoregressive heteroscadasticity conditional model (ARCH Model) โดยใช้ข้อมูลแบบ pooling data ของ 24 ประเทศกำลังพัฒนา ระหว่าง พ.ศ. 2533-2543 การศึกษานี้พบว่าประเทศกำลังพัฒนา ที่มีอัตราการเปิดประเทศอย่างสูงจำนวน 13 ประเทศที่ทดสอบ มีสมการแนวโน้มที่แสดงความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามระหว่างสองตัวแปร ขณะที่ประเทศกลุ่มตัวอย่างที่มีอัตราการเปิดประเทศต่ำ จำนวน 11 ประเทศมีความสัมพันธ์ในทางบวก ดังนั้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา หากยิ่งมีการเปิดประเทศมากขึ้นเท่าใด ยิ่งได้รับผลกระทบจากความไม่มีเสถียรภาพ ของการส่งออกมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วไม่ว่ามีอัตราการเปิดประเทศสูงหรือต่ำ ไม่ได้รับผลกระทบจากความไม่มีเสถียรภาพของการส่งออก ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานที่เชื่อว่า ความไม่แน่นอนของรายรับจากการส่งออก จะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างถูกต้อง และเป็นอุปสรรคต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศกำลังพัฒนาในระยะยาว นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่า ข้อผูกพันขององค์กรระหว่างประเทศ และงานศึกษาเชิงประจักษ์ของนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน สนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาคิดหาวิธีป้องกันผลกระทบ ของความไม่มีเสถียรภาพของการส่งออก ต่อการดำเนินกิจกรรมภายในประเทศมากกว่าการปิดประเทศ เพื่อลดความยากจน เพิ่มอัตราการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องมีการรื้อฟื้น ความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้นใหม่ภายในกลุ่มของผู้ผลิตด้วยกัน
Other Abstract: This study regressed export instability on economic growth of developing counties with ARCH Model and available pooling data of 24 developing countries in the period of 1990-2000, and found that export instability and economic growth of the 13 developing countries with high-openness rate had a negative relationship. While it was positive for 11 developing countries with lower-openness rate. This results implied that the developing countries have suffered from export instability according to their sizes of international activities they involved. During the same period, it was found that the sampling of 14 developed countries were not affected by their instabilities irrespective with their openness. The results corresponded with traditional hypothesis on the adverse effects of export earnings fluctuation in the developing countries. As a result, these developing countries could not properly plan their additional investment or new projects. This would obstruct their growth in the long run. Nevertheless, many international agreements and various empirical studies of the new growth theorists support the idea that a developing country should prevent herself from these effects rather than cutting herself out of the international trade. In order to reduce poverty, sustain growth and development, there should be an increase in cooperation among producing countries
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/144
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.518
ISBN: 9740311598
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.518
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramjit.pdf12.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.