Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14559
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนเรศร์ จันทน์ขาว-
dc.contributor.advisorอุดร ยังช่วย-
dc.contributor.authorนพพร ยิ้มแฉล้ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-01-24T08:21:34Z-
dc.date.available2011-01-24T08:21:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14559-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractเบริลเลียม-7 (Beryllium-7) เป็นนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดจากปฏิกิริยาของรังสีคอสมิกในบรรยากาศเบื้องบน และเข้ามาสู่บรรยากาศด้านล่างโดยกระบวนการหมุนเวียนของบรรยากาศประมาณร้อยละ 90 ของเบริลเลียม-7 สลายตัวโดยการจับอิเล็กตรอนเกิดเป็นลิเทียม-7 ที่สภาวะพื้นโดยตรง และอีกประมาณร้อยละ 10 ได้ลิเทียม-7 ที่สภาวะโลด แล้วตามด้วยการปลดปล่อยรังสีแกมมาพลังงาน 477.6 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ด้วยค่าครึ่งชีวิต 53.3 วัน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการวัดความแรงรังสีจำเพาะของเบริลเลียม-7 ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมทั้งน้ำและในพืชน้ำบางชนิด จากการวิจัยเบื้องต้นโดยการวัดรังสีแกมมาพลังงาน 477.6 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ด้วยหัววัดรังสีเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงพบว่า สามารถตรวจพบเบริลเลียม-7 ในผักตบชวา จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างผักตบชวาในช่วงเวลาต่างๆ กันของปี พ.ศ. 2550-2551 จากบริเวณหนึ่งในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ซึ่งได้พบว่าปริมาณเบริลเลียม-7 มีค่าสูงในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม 2550 และเดือนมิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน โดยมีค่าความแรงรังสีจำเพาะของเบริลเลียม-7 อยู่ระหว่างประมาณ 3-5 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ส่วนในช่วงฤดูแล้ง คือ ฤดูหนาวและฤดูร้อนของปี มีค่าความแรงรังสีจำเพาะต่ำกว่าค่าขีดจำกัดที่ต่ำสุในการวัด ค่าความแรงรังสีจำเพาะของเบริลเลียม-7 ที่พบในผักตบชวาขึ้นอยู่กับปริมาณฝนที่ตกตามที่ได้คาดไว้ ส่วนค่าความแรงรังสีจำเพาะของเบริลเลียม-7 ที่พบในแหนและจอกนั้น ส่วนใหญ่มีค่าความแรงรังสีจำเพาะต่ำกว่าค่าขีดจำกัดต่ำสุดในการวัด และค่าความแรงรังสีจำเพาะของเบริลเลียม-7 ที่พบในแหนและจอกจะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกen
dc.description.abstractalternativeBeryllium-7 (Be-7) is a cosmogenic radionuclide produced in the upper atmosphere and enters the lower atmosphere by atmospheric circulation processes. About 90% of Be-7 decays directly through electron capture to Li-7 at ground state and about 10% to Li-7 at 1st excited state followed by 477.6 keV gamma-ray emission with a half-life of 53.3 days. The aim of this research was to measure Be-7 activity in environmental samples including water and aquatic plants. From the preliminary investigation by measurement of the 477.6 keV gamma-ray peak using a HPGe detector, Be-7 could be found in fresh Water Hyacinth samples. Thus, Water Hyacinth samples were then collected at different times of the year 2007-2008 in an area of Bang Khaen campus of Kasetsart University for determination of Be-7 activity. It was found that Be-7 specific activity was about 3-5 Bq/kg in the samples collected in rainy season during August-October 2007 and in June 2008 and less than the Lower Limit of Detection (LLD) in dry seasons i.e. summer and winter. The specific activity of Be-7 in Water Hyacinth samples depended on rainfalls as expected. The specific activity of Be-7 in almost of Water lettuce and Water fern samples were less than the LLD and not depended on rainfalls.en
dc.format.extent4951823 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.563-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเบริลเลียมen
dc.subjectแกมมาเรย์สเปกโตรเมตรีen
dc.titleการตรวจวัดเบริลเลียม-7 ในพืชน้ำโดยวิธีแกมมาสเปกโตรเมตรีen
dc.title.alternativeMeasurement of beryllium-7 in aquatic plants using gamma-ray spectrometryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfnenck@eng.chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.563-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nopporn_yi.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.