Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14852
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา | - |
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ | - |
dc.contributor.author | วิไลลักษณ์ เดชะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-03-18T03:34:31Z | - |
dc.date.available | 2011-03-18T03:34:31Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14852 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ และสำรวจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนทั่วไป วิธีวิจัยที่ใช้เป็นแบบผสมผสานโดยระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา กรณีศึกษา 2 แห่งคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนทั่วไปที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจากโรงเรียนสองภาษา 43 โรงเรียน และโรงเรียนทั่วไป 43 โรงเรียน จำนวน 258 คน การสำรวจใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนสองภาษาที่มีการปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ มีความเชื่อในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ มีหลักการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ครูผู้สอนจัดทำและดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามหลัก 3 P's คือ ขั้นนำเสนอ (Presentation) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice) และขั้นนำไปใช้ (Production) โดยสอนด้วยภาษาอังกฤษตลอดชั่วโมง และเน้นการฝึกหลายรูปแบบ และวัดผลจากพัฒนาการและชิ้นงานของนักเรียน การบริหารวิชาการ มีแผนปฏิบัติงานวิชาการที่ชัดเจน หลักสูตรสถานศึกษากำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษระดับชั้นละ 3 รายวิชา การจัดชั้นเรียนมีห้องเรียนประจำ แต่ละห้องมีนักเรียน 34-37 คน โรงเรียนจัดครูสอนที่เป็นเจ้าของภาษา และส่งเสริมให้จัดทำแผนและเอกสารประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมการสอนเสริม และให้มีการประเมินความสามารถภาษาอังกฤษจากหน่วยงานภายนอก ความสำเร็จของรูปแบบนี้คือ นักเรียนมีผลการเรียนภาษาอังกฤษดี มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษอย่างโดดเด่น มีความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออก ปัญหาคือ นักเรียนบางส่วนยังขาดความรับผิดชอบ และครูส่วนใหญ่เป็นครูจ้างสอนบางเวลา 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทั่วไปที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีความเชื่อ หลักการ วัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับโรงเรียนสองภาษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแบบ 3 P เช่นเดียวกัน กิจกรรมที่เน้นคือการมอบหมายงานให้ไปค้นคว้า และวัดผลจากชิ้นงานของนัเรียน ส่วนการบริหารงานวิชาการ มีแผนปฏิบัติงานวิชาการที่ชัดเจน หลักสูตรสถานศึกษากำหนดให้นักเรียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นละ 2 รายวิชา การจัดห้องเรียนให้มีนักเรียนห้องละ 50-55 คน และให้เดินเรียน ความสำเร็จของรูปแบบนี้คือ นักเรียนมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษดี และมีทักษะในการค้นคว้า แก้ปัญหา และคิดวิเคราะห์ ปัญหาคือ มีจำนวนนักเรียนมากต่อห้อง และนักเรียนบางส่วนยังขาดความรับผิดชอบและตั้งใจเรียน 3) จากการเปรียบเทียบ 2 รูปแบบพบความแตกต่างที่หลักสูตร ผู้สอน และผลสำเร็จ กล่าวคือ โรงเรียนสองภาษากำหนดให้มีรายวิชาเรียนภาษาอังกฤษมากกว่าโรงเรียนทั่วไป และมีครูเจ้าของภาษาเป็นผู้สอน ผลสำเร็จ คือ นักเรียนในโรงเรียนสองภาษามีทักษะทางภาษาอังกฤษดีและกล้าแสดงออกมากกว่าโรงเรียนทั่วไป 4)ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน พบว่า การปฏิบัติในปัจจุบันของโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนทั่วไปเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ แต่มีระดับการปฏิบัติที่น้อยกว่า โรงเรียนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives were to study, compare and survey the models of English Instructional management in secondary of bilingual and general schools. A mixed method research was employed. Staring with a multi case study of 2 secondary schools. One was a good practice bilingual school and the other a good practice general school. Then a survey research of 258 administrators English teachers in 43 bilingual schools and 43 general schools was collected by a questionnaire and analyzed by description statistics and t-test. The research findings were as follow: 1) In a good practice bilingual school, the English instructional management model belived in child centered, integrated instruction, and authentic assessment. The objective is to learn English for communication. Teachers plan and conduct the instruction according to 3P's principle. They were presentation, practice and production. The whole period was communicated in English and various exercises were employed. Students' development were evaluated through the students' learning products. The academic action plans were clearly established. The school curriculum required 3 English subjects per level. Each class consisted of 34-37 students in a permanent classroom. Native speaker teachers were arranged and supported to plan and produce teaching and learning materials together with extra activities. The school provided outsource for English ability tests. A great success of this model was students had high English achievement and were able to use English outstandingly. The students were confident and outspoken. Problems were some parts of students lacked of responsibility and a number of teachers were part time positions. 2) In a good practice bilingual school, the model had similar, believes, principles and objectives to the bilingual school. Though the 3 P's instruction was used, the teachers emphasized on searching assignment and evaluated from students' learning products. The school provided a clear academic action plan. The school curriculum required 2 English subject per level. There were 50-55 students per class. The success of this model was that students had good learning achievement, critical thinking and problem solving skills. Problems were parts of students had low responsibility and intention, and the class size was too large. 3) The two models were different in curriculum, teachers, and success. The bilingual shcool required more English subjects than the general school. Also, the school can provide native speaker teachers and its students had better English skill, and more confidence than students in general school. 4) The administrators and English teachers in bilingual school and general school indicated that their practice was along the English instructional management model of the bilingual school but at a lower level practice. | en |
dc.format.extent | 8205318 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.533 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.title | การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนทั่วไป : การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ | en |
dc.title.alternative | Comparative analysis of English instruction management models in secondary schools of bilingual and general schools : a qualitative and quantitative study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Duangkamol.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.533 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilailuck_De.pdf | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.