Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1489
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิตรา รู้กิจการพานิช | - |
dc.contributor.author | ชัยสิทธิ์ วุฒิพงศ์วรกิจ, 2514- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-05T05:55:43Z | - |
dc.date.available | 2006-08-05T05:55:43Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | ชัยสิทธิ์ วุฒิพงศ์วรกิจ,|d2514- | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1489 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | ปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องผสมคอมปาวด์ ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำด้วยยางแห่งหนึ่งจำนวน 4 เครื่อง โดยศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องผสมคอมปาวด์มีค่าต่ำ เมื่อวิเคราะห์โดยใช้ผังก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาพบว่ามีสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ระบบงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันเดิมไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ แผนการบำรุงเชิงป้องกันเดิมที่มีความถี่ในการเข้าบำรุงรักษาเชิงป้องกันต่ำมาก การขาดมาตรฐานในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการขาดระบบควบคุมงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรขาดการบำรุงรักษาที่ดีพอ เป็นผลให้เครื่องผสมคอมปาวด์เสียบ่อย และมีความพกพร่องแฝงหลายประการ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการผสมคอมปาวด์ต่ำ โดยใช้เวลาในการผสมคอมปาวด์มากกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นมาก 2. สภาพเครื่องผสมคอมปาวด์เดิมที่มีความบกพร่อง ได้แก่ ซีลกระบอกกดห้องผสมคอมปาวด์รั่ว ชุดควบคุมอุณหภูมิเดิมเป็นแบบอนาลอกทำให้มีความแม่นยำในการทำงานต่ำ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิห้องผสมสึก เป็นต้น ซึ่งความบกพร่องเหล่านี้ส่งผลอย่างมาก ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องผสมคอมปาวด์คือ ทำให้ต้องใช้เวลาในการผสมคอมปาวด์นานกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นอย่างมาก และยังทำให้เกิดของเสียในกระบวนการผลิต ในการปรับปรุงประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ การจัดการระบบงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยการจัดให้มีระบบการตรวจสอบติดตามผล การฝึกอบรมพนักงานคุมเครื่องถึงความรู้เบื้องต้นในงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และให้มีการลงมือปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบเครื่องจักรในการเข้าบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ส่วนที่สอง ได้แก่ การปรับปรุงสภาพเครื่องผสมคอมปาวด์ ได้แก่ การตรวจสอบสภาพเครื่องผสมคอมปาวด์ที่บกพร่อง และการแก้ไขให้เครื่องสามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง ภายหลังการปรับปรุงพบว่าเครื่องผสมคอมปาวด์มีประสิทธิผลโดยรวมสูงขึ้นจากเดิม มีค่าเฉลี่ยประมาณ 61% สูงขึ้นเป็น 74% (เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 13%) ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ประสิทธิภาพการเดินเครื่องสูงขึ้นเป็นสำคัญ | en |
dc.description.abstractalternative | To improve overall equipment effectiveness for four compound mixing machines in a rubber auto-parts factory. By using fish-bone diagram to make analysis found that there were two main causes as below : 1. An inefficiency of preventive maintenance system such as a low frequency of preventive maintenance, no standard for preventive maintenance and no control system for preventive maintenance. These caused the compound mixing machines having a rather high down time and had a latent failure in compound mixing machines. 2. The previous latent failure of compound mixing machines such as leakage of mixing pressing cylinder, uppreciseness of analog temperature controller, wear of sensor in mixing chamber. These caused a low efficiency of compound mixing machine and high mixing time. According to the mentioned problems, the following two guidelines were proposed for improvement with the first part by managing preventive maintenance system such as initiating a control system for the preventive maintenance work, containing the article about basic preventive maintenance in operators training with assigning a preventive maintenance for co-working with the PM section and generating the standard checking machine for preventive maintenance work the second part by re-conditioning the compound mixing machines to get a normal condition again. The mentioned managements were applied to improve the overall equipment effectiveness of compound mixing machines. It was found improvement that OEE increasing from before improvement 62% to 74% or increasing 12%. This main cause of this increased OEE came from an improvement of performance efficiency index in major. | en |
dc.format.extent | 6196592 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม | en |
dc.subject | การบำรุงรักษาโรงงาน | en |
dc.subject | เครื่องมือในการอุตสาหกรรม--การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | en |
dc.title | การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องผสมคอมปาวด์ ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ทำด้วยยาง | en |
dc.title.alternative | Improvement of overall equipment effectiveness for compound mixing machines in a rubber auto-parts factory | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaisit.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.