Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15163
Title: | ผลของภาวะการเก็บเชื้อต่อการรอดชีวิตและความสามารถในการย่อยสลายไพรีนของกล้าเชื้อกลุ่มแบคทีเรีย STK |
Other Titles: | Effects of storage conditions on viability and pyrene degrading ability of the STK bacterial consortium inoculum |
Authors: | กานต์ชนา สิทธิ์เหล่าถาวร |
Advisors: | กาญจณา จันทองจีน กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jkanchan@chula.ac.th kobchai@sc.chula.ac.th |
Subjects: | การบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ ไพรีน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ แบคทีเรีย |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กลุ่มแบคทีเรีย STK สามารถย่อยสลายและใช้ไพรีนซึ่งเป็นสารพิษเป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งพลังงานได้ งานวิจัยนี้มุ่งที่จะเก็บรักษากลุ่มแบคทีเรีย STK ในเศษใบไม้เพื่อใช้ในการบำบัดการปนเปื้อนของไพรีนในดิน เศษใบไม้ประกอบด้วยใบจามจุรี ใบหูกวาง ใบโพธิ์ และใบประดู่ เลี้ยงกลุ่มแบคทีเรีย STK ในเศษใบไม้ที่แบ่งเป็นไม่เติม และเติมไพรีน 100 พีพีเอ็ม และปรับความชื้น บ่มที่อุณหภูมิ 30 ℃ ในที่มืด เป็นเวลา 14 วัน แบ่งกล้าเชื้อที่สร้างเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ใช้กล้าเชื้อ 1.5 กรัม เก็บใส่ถุงอะลูมิเนียม ปิดถุงและทำให้ภายในเป็นสุญญากาศ แยกเก็บที่อุณหภูมิ 4℃ และอุณหภูมิห้อง ส่วนที่ 2 ใช้กล้าเชื้อเดียวกัน นำไปลดความชื้นให้เป็น 40% และ 30%ของความจุสูงสุดในการอุ้มน้ำ โดยการทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง เก็บใส่ถุงอะลูมิเนียมและปิดถุงให้ภายในเป็นสุญญากาศ แยกเก็บที่ภาวะเดียวกับส่วนที่1 เปรียบเทียบกับกลุ่มแบคทีเรีย STK ที่เก็บรักษาด้วยวิธีไลโอฟิไลซ์ที่มี 10% ซูโครส เป็นสารป้องกันความเย็น และเก็บที่อุณหภูมิ 4 ℃ เมื่อครบเวลา 0 4 8 และ 12 เดือนนับจำนวนเชื้อ STK ที่เก็บทั้ง 2 แบบโดยทำ Viable plate count พบว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 4 ℃ ให้การอยู่รอดชีวิตสูงกว่าที่อุณหภูมิห้อง และพบว่าการเก็บด้วยวิธีไลโอฟิไลซ์มีการรอดชีวิตสูงกว่าวิธีที่เก็บด้วยการเลี้ยงกล้าเชื้อในเศษใบไม้ โดยพบว่าในเดือนที่ 8 และ 12 ของการเก็บรักษา จำนวนเซลล์ลดลง 13.3% และ17.6% ตามลำดับ และพบว่าในภาวะการเลี้ยงในเศษใบไม้ที่ความชื้น30%ของความจุสูงสุดในการอุ้มน้ำ ใส่ไพรีน เก็บที่อุณหภูมิ 4 oซ มีการรอดชีวิตใกล้เคียงกับไลโอฟิไลซ์ที่สุด คือ ค่า จำนวนเซลล์ลดลงลดลง 29.3% และ 36.8% เมื่อทำการทดสอบความสามารถในการย่อยสลายไพรีน 100 พีพีเอ็ม โดยเติมกล้าเชื้อในเศษใบไม้หรือในไลโอฟิไลซ์ ลงในสเลอรีดิน (ดิน : น้ำ = 1: 8) ที่ไม่ปลอดเชื้อ วิเคราะห์ปริมาณไพรีน ด้วยวิธี HPLC พบว่า กลุ่มแบคทีเรีย STK ที่เก็บโดยเลี้ยงในเศษใบไม้สามารถย่อยสลายไพรีนได้ดีกว่าการเก็บด้วยวิธีไลโอฟิไลซ์ โดยในเดือนที่12 ของการเก็บรักษา กลุ่มแบคทีเรีย STK ที่เลี้ยงในเศษใบไม้ที่ความชื้น 30%ของความจุสูงสุดในการอุ้มน้ำ ใส่และไม่ใส่ไพรีน เก็บที่อุณหภูมิ 4 ℃ ทำให้ปริมาณไพรีนที่เหลืออยู่ เท่ากับ และ 6.8% และ 10.5% ตามลำดับ ขณะที่การเก็บรักษากลุ่มแบคทีเรีย STK ด้วยวิธืไลโอฟไลซ์ทำให้ปริมาณไพรีนที่เหลืออยู่ 11%. ติดตามพลวัตรประชากรกลุ่มแบคทีเรีย STK ในช่วงเวลาของการบำบัดไพรีนในสเลอรีดินด้วยวิธี Denaturing Gradient Gel Electrophoresis |
Other Abstract: | A potent bacterial consortium STK, capable of degrading and utilizing pyrene as a carbon and energy source was preserved in sterile mixed leaves (Samanea saman (Jacq.)Merr., Terminalia catappa L., Ficus religiosa L. and Pterocarpus macrocarpus Kurz.) as an inoculum for bioremediation of pyrene contaminated soil. The STK consortium was cultivated in the sterile mixed leaves, with and without 100 ppm pyrene, with the moisture content adjusted to 70% of water holding capacity and incubated at 30℃ in the dark for 14 days. This inoculum was then divided into 2 parts, the first part was put into aluminium bag, packed under vacuum condition. The second part had the moisture contents reduced to 40% or 30% of water holding capacity by freezing-dryer was then packed in aluminium bag under vacuum condition. Tthe bags were stored at 4℃ or at room temperature. Lyophilization, using 10% (w / w) sucrose as a cryoprotectant, was set up to store the STK culture in order to use as standard control. After 4, 8 and 12 months of storage, the sample stored at 4℃ were found to survival better than at room temperature, whilst lyophilization was also better at preserving STK viability than freeze-dried in mixed leaves since only 13.3% and 17.6% of cell number respectively decreased after 8 and 12 months of storage while the best survival of the later technique using 30% moisture content and kept at 4℃ resulted 29.3% and 36.8% decrease. The pyrene degrading ability of STK stored by the two stated techniques was investigated in non-sterile soil slurry (soil:water = 1:8) contaminated with pyrene. The concentration of remaining pyrene in the soil slurry was observed by HPLC analysis. In contrast to the viability results, the pyrene degradation efficiency was higher in the freeze-dried STK in mixed leaves than in the lyophilized sample. At 12 months of storage, inoculum prepared at 30% moisture content with and without pyrene and stored at 4℃ had remaining pyrene levels of 6.8% and 10.5%, respectively, whereas that of the lyophilized inoculum was 11%. DGGE profile analysis confirmed degradation of pyrene in the slurry was achieved by the STK activity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15163 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.698 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.698 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanchana_si.pdf | 7.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.