Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15168
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร-
dc.contributor.authorพนมนาถ สมิตานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-14T07:25:54Z-
dc.date.available2011-05-14T07:25:54Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15168-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ (Descriptive correlational research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ คุณภาพชีวิตการทำงาน กับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 342 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้ง 3 ชุด โดยหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าความเที่ยง .87, .94, .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าเฉลี่ยผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.85, SD = .46) 2. ความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .51, p < .001) 3. คุณภาพชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .42, p < .001)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationships between emotional intelligence, quality of work life, and job performance of professional nurses in private hospitals, Bangkok metropolis. The Sample consisted of 342 professional nurses worked in patient departments more than 1 year. Selected by multi-stage random sampling technique. The research instruments were emotional intelligence, quality of work life, and job performance questionnaires which were developed by the researcher, judged by the panel of experts, and Cronbach’s alpha coefficients of reliability were .87, .94, and .82 respectively. Statistical techniques used for data analysis were frequencies, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation. The major findings were as follows: 1.Mean score of job performance of professional nurses was at a high level. ( =3.85, SD =.46)2. Emotional intelligence and job performance of professional nurses was significantly correlated. (r =.51, p < .001) 3. Quality of work life and job performance of professional nurses was significantly correlated. (r =.42, p < .001)en
dc.format.extent2463298 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.975-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานen
dc.subjectสมรรถนะen
dc.subjectพยาบาลen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ คุณภาพชีวิตการทำงาน กับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeRelationships between emotional intelligence, quality of work life, and job performance of professional nurses, private hospitals, Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBoonjai.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.975-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanomnart_sm.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.