Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15175
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย | - |
dc.contributor.author | ยุทธนา สมลา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | นครราชสีมา | - |
dc.date.accessioned | 2011-05-14T12:13:19Z | - |
dc.date.available | 2011-05-14T12:13:19Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15175 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--, 2549 | en |
dc.description.abstract | วิเคราะห์แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาที่พักอาศัยแบบโฮมสเตย์ ร่วมกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงวิถีชีวิตชุมชนมาใช้อย่างเหมาะสม มีการกำหนดพื้นที่ศึกษาในหมู่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา โดยยึดดัชนีชี้วัด 8 ด้านของโฮมสเตย์ มาตรฐานสำหรับการบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านที่พัก ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมูลค่าเพิ่ม และด้านส่งเสริมการตลาด กระบวนการวิจัยได้มีการเก็บข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิก่อนในเบื้องต้นเพื่อทราบถึงข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ศึกษา และการเก็บข้อมูลในภาคสนามที่ได้จากการสัมภาษณ์และสังเกต โดยแยกแบบสอบถามออกเป็น 3 ชุด สำหรับกลุ่มประชากร 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ จำนวน 18 หลัง เก็บข้อมูลได้ 100% (2) กลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมอื่นของโฮมสเตย์ เก็บข้อมูลได้ 54 ราย จาก 110 ราย (3) กลุ่มนักท่องเที่ยว มีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549-มกราคม 2550 สามารถเก็บข้อมูลได้ 80 ราย และ (4) กลุ่มผู้นำโฮมสเตย์ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้นำกลุ่มโฮมสเตย์ฯ และกรรมการบริหาร ทั้งหมดจำนวน 3 ราย ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านบุไทรได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกเปิดทำที่พักอาศัยแบบโฮมสเตย์ เพื่อเป็นกิจกรรมสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน โดยยึดเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชนเกิดความสมดุล และอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง ผลจากการใช้หลักความพอประมาณ โฮมสเตย์บ้านบุไทรมีการวางแผนในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งส่วนที่เป็นที่พัก การให้บริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว ล้วนเกิดจากการใช้ทรัพยากรภายในท้องถิ่นเป็นหลัก ทำให้ลดต้นทุนในการดำเนินงานลง รวมถึงในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ นั้น ได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละบุคคล ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมนั้นไม่ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเหล่าสมาชิก การใช้หลักความมีเหตุมีผล ทำให้การวางแผนดำเนินงานของโฮมสเตย์บ้านบุไทร มีความสอดคล้องกับเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชุมชนทั้งในด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้หลักภูมิคุ้มกัน ทำให้สมาชิกที่ทำโฮมสเตย์ลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน โดยมีสหกรณ์ออมทรัพย์ของชุมชนเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ช่วยป้องกันผลกระทบต่อวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดกฎระเบียบ รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกฝังเยาวชนให้ช่วยกันดูแลรักษา ส่วนเงื่อนไขด้านความรู้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ ออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ อีกทั้งยังสร้างความน่าสนใจให้กับโฮมสเตย์ด้วยการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม สุดท้ายคือเงื่อนไขด้านคุณธรรม ส่งผลให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มุ่งไปที่ผลประโยชน์โดยรวมของชุมชนเป็นที่ตั้ง ทำให้เกิดความสามัคคีขึ้นในกลุ่มสมาชิก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความสำเร็จในการทำโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านบุไทรนั้น มาจากภาวะความเป็นผู้นำของประธานกลุ่มฯ ที่เล็งเห็นถึงความสามารถของชุมชนในการที่จะพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมถึงต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การมีส่วนร่วมของเหล่าสมาชิกที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความก้าวหน้าและเกิดความเข้มแข็ง โดยยึดหลักในการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นรากฐานที่เข้มแข็งให้กับชุมชนในการพัฒนาในสู่ความยั่งยืนต่อไป ส่วนปัญหาที่พบก็คือ ชุมชนยังใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ยังไม่เต็มความสามารถ ทั้งบุคลากรและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชุมชนยังขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรในระยะยาว โดยเฉพาะแหล่งน้ำ อันเป็นผลสืบเนื่องจากนักท่องเที่ยวโฮมสเตย์และนักท่องเที่ยว ทีเข้ามาพักในรีสอร์ทใกล้เคียงมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งนี้คือ ควรสร้างความเข้าใจและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่สมาชิก ควรพัฒนาโฮมสเตย์จากฐานทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น และควรวางแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นในระยะยาว โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในการให้คำปรึกษาและวางระบบ. | en |
dc.description.abstractalternative | To analyze an application of the sufficiency economy concept to developing homestay accommodation by exercising local wisdom, resource management principles, with the community's way of life being taken into account. Baan Busai, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province, is our study site. Eight aspects of homestay are used as indexes for categorizing management standards: aspects of physical characteristics (i.e. buildings, infrastructure); food and hygiene; safety; management; sightseeing and entertaining activities; environment; value added; and marketing promotion plan. At the beginning, data was collected from secondary sources in order to provide an overview of Baan Busai. Then, further data collected from field study was derived from interviews and observation. Questionnaires are divided into 3 types for 4 subject groups: homestay accommodation owners; members participating in homestay's activities; tourists; and homestay accommodation leaders. (1) Homestay accommodation owners: 18 homestay accommodations. All data was collected. (2) Members participating in homestay activities: 54 from 110 questionnaires were collected. (3) Tourists: data was collected between October 2006 - January 2007: 80 tourists. (4) Homestay accommodation leaders and management committee: 3 people were interviewed. The study's results show that the Baan Busai Community has joined hands in setting up a homestay accommodation. They aim to earn extra money from the homestay. Their homestay management is based on the concept of sufficiency economy to achieve a balanced resource allocation and the community's self-reliance. Having exercised the Moderation Principle, the Baan Busai Homestay has successfully utilized community resources beneficially and suitably. The accommodation itself, services and sightseeing of activities are all locally oriented, and hence the cost can be lowered. Moreover, each member of staff is assigned to take responsibility according to his/her potential. Therefore, his/her participation in homestay activity does not badly affect his/her daily life. Applying the Sensibility Principle enables the planning of the Baan Busai Homestay to be in accordance with the community's culture, tradition, and lifestyle. Community involvement is indeed one of the key factors in the success of the Baan Busai Homestay. The Immunization Principle helps reduce the financial risks of homestay. A local saving cooperative is set up as a helpful source of investment with low interest rates. This helps protect against possible bad impact on culture, local tradition, and the environment by stipulating necessary rules and regulations. The Baan Busai Homestay also place equal emphasis on creating environmental immunity by teaching the youth to preserve the environment. The Knowledge Condition leads to an amalgamation of local wisdom and modern fields of study which result in profitable products. The Baan Busai Homestay also tries to adapt itself to be an agricultural knowledge centre. The Moral Condition makes management and implementation transparent and accountable. Wealth distribution is fair and for the benefit of the whole community. As a result, all group members are united. The key factor contributing to the Baan Busai Homestay's success is leadership of the group leader who realizes the community and individuals' potentials. He manages to successfully add value to the existing resources and upgrade the community's quality of life. Another key factor leading to the success of the Baan Busai Homestay is community involvement: community members all share common goals in developing and strengthening their community. All the above-mentioned factors lead to the community sustainable development. However, group members also encounter some problems. The community has not yet optimized the use of available resources, especially human capacity and natural attractions. Community members still lack long-term planning for resource utilization, particularly water resources. This problem becomes obvious when tourists increasingly visit Baan Busai Homestay each year. From this study, it is recommended that understanding and cooperative learning among group members be encouraged. Homestay accommodation should be further developed by using and diversifying available resources. Long-term management of local resources should be introduced together with government agencies' assistance in providing consultation especially systematic planning. | en |
dc.format.extent | 2968918 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.327 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน | en |
dc.subject | การท่องเที่ยวโดยชุมชน | en |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง | en |
dc.subject | การพัฒนาแบบยั่งยืน | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- นครราชสีมา | en |
dc.subject | หมู่บ้านบุไทร (นครราชสีมา) | en |
dc.title | การบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา หมู่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา | en |
dc.title.alternative | Homestay management based on the sufficiency economy concept : a case study of Baanbusai Wang Nam Khiao district Nakhon Ratchasima Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เคหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Saowaluck.Su@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.327 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yootthana.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.