Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิช-
dc.contributor.authorสุดา ทองทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-15T06:45:12Z-
dc.date.available2011-05-15T06:45:12Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15181-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractสร้างแบบประเมินและสร้างเส้นฐานสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบและรายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี โดยการสนทนากลุ่มพยาบาลผู้เชี่ยวชาญห้องผ่าตัด จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี โดยการกำหนดการแสดงพฤติกรรมที่จำเป็นในข้อรายการสมรรถนะ สร้างเกณฑ์การประเมินระดับสมรรถนะด้วยเกณฑ์แบบรูบริก (Rubric) และวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบประเมิน ด้วยการวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญห้องผ่าตัดจำนวน 17 คน และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินสมรรถนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบประเมินด้วยการหาความสอดคล้องภายใน และวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่ โดยให้พยาบาลห้องผ่าตัดจำนวน 5 คู่ เป็นผู้นำแบบประเมินไปใช้ประเมินพยาบาลห้องผ่าตัดจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 กำหนดเกณฑ์การตัดสินระดับสมรรถนะ โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญห้องผ่าตัด จำนวน 9 คน ร่วมกำหนดเกณฑ์ถ่วงน้ำหนักสมรรถนะรายด้าน และเกณฑ์ตัดสินระดับสมรรถนะที่คาดหวังตามเกณฑ์สัมบูรณ์ ระยะที่ 2 สร้างเส้นฐานระดับสมรรถนะ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตัดสินระดับสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด จากการใช้แบบประเมินกับประชากรที่เป็นพยาบาลวิชาชีพในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 57 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถีประกอบด้วย 6 ด้าน มีรายการสมรรถนะรวมทั้งสิ้น 33 ข้อ สมรรถนะ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริการทางคลินิก (มี 9 ข้อ) ด้านการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล (มี 6 ข้อ) ด้านภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม (มี 7 ข้อ) ด้านการวิจัยและการถ่ายทอดความรู้ทางการพยาบาล (มี 5 ข้อ) ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี (มี 3 ข้อ) ด้านการสื่อสาร (มี 3 ข้อ) 2. คุณภาพของแบบประเมินที่สร้างมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) = 0.86 มีค่าความเที่ยงด้วยการหาค่าความสอดคล้องภายใน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง = 0.99 และค่าความเท่าเทียมกันของการสังเกต (Inter–rater reliability) = 0.88 จากการทดลองนำแบบประเมินไปใช้โดยผู้สังเกต 5 คู่ 3. นำแบบประเมินไปใช้ประเมินสรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดทุกระดับ ของโรงพยาบาลราชวิถี ทั้งหมด 57 คน นำข้อมูลที่ได้จากการตัดสินระดับสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด สร้างเส้นฐานสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด.en
dc.description.abstractalternativeTo construct the competency scale, and base line competencies of perioperative nurses in Rajavithi Hospital. The research was conducted in two main phases. The first phase was consisted of 3 steps. The first step were to explore and to select the essential competencies of perioperative nurse to attend the vision of the hospital by using focus group of 9 nurse managers in operation room. The second step was to construct the competency scale by; developing behavior assessment, scaling with rubric scoring, and testing the efficacy scale. Then the competency form was two folds of validated the content by 17 nurse managers. Three experts scrutinizing the reliability. Then the form was tried out by 5 groups of perioperative nurse practice to analyze the reliability. The third step, the standard levels were set by using group of 9 nurse managers in operation room, to weight the competencies for all perioperative nurses and to set absolute grading for expectation competencies. The second phase was to construct the base line competencies of all perioperative nurses with the data assessment of the 57 perioperative nurses in Rajavithi Hospital. The main findings were as follows: 1. The form of perioperative nurses’ competency scale, Rajavithi Hospital consisted of 6 domains, 33 items. The six domains, clinical behavior (9 items), administration and quality improvement (6 items), leadership and teamwork (7 items), nurse research and knowledge transfer (5 items), innovation and technology (3 items), and communication (3 items). 2. The completely form was tested for reliability with alpha coefficient was 0.99, CVI = 0.86, and inter-rater reliability was 0.88. 3. The completely form was used for assessing the competencies of the population of 57 perioperative nurse. The findings of the base line competencies were finally constructed.en
dc.format.extent2766893 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.745-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาลราชวิถีen
dc.subjectพยาบาลห้องผ่าตัดen
dc.subjectสมรรถนะ -- การประเมินen
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลราชวิถีen
dc.title.alternativeThe development of perioperative nurses' competency scale in Rajavithi Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsuvinee@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.745-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suda.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.