Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/151
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บังอร ทับทิมทอง | - |
dc.contributor.advisor | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | - |
dc.contributor.author | อธิภัทร พูลถนอมสุข, 2519- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-29T09:37:08Z | - |
dc.date.available | 2006-05-29T09:37:08Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741708211 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/151 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรต่อสาขาอุตสาหกรรม 13 สาขา ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่ม, อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง, อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน, อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก, อุตสาหกรรมแก้วและเซรามิก, อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า, อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นการวัดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งตัวแปรในระดับมหภาคและตัวแปรในระดับจุลภาคในลักษณะของการวิเคราะห์ดุลยภาพเชิงเปรียบเทียบจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรของประเทศไทยตามข้อผูกพันขององค์การค้าโลกระหว่างปี ค.ศ. 1998 และปี ค.ศ. 2004 โดยใช้แบบจำลองดุลยภาพทั่วไป CAMGRM เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบ ประกอบกับการวิเคราะห์โครงสร้างการผลิตจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศไทย ณ ปี ค.ศ. 1998 เพื่อนำไปสู่การอธิบายผลลัพธ์ที่ได้อย่างสมเหตุผล รวมไปถึงการหาข้อสรุปเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญ เนื่องจากสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรจากปี ค.ศ. 1995 และจบสิ่นในปี ค.ศ. 1999 ค่าอัตราภาษีศุลกากรที่ปรับลดเฉลี่ยจากปี ค.ศ. 1998 ถึงปี ค.ศ. 2004 จึงมีค่าเพียง 4.53% จากการใช้แบบจำลอง CAMGEM ในการประเมินผลกระทบ ปรากฏผลลัพธ์ทั้งในระดับมหภาคและระดับจุลภาคที่แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวสูงขึ้นของตัวแปรทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งได้แก่ การนำเข้า, การส่งออก, การบริโภค, ระดับผลผลิต, การจ้างงาน และการลงทุน โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของตัวแปรด้านราคา ซึ่งประกอบด้วย ระดับราคาสินค้านำเข้า, ระดับราคาสินค้าส่งออก และระดับราคาสินค้าภายในประเทศ สาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวของระดับผลผลิตในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสาขาอุตสาหกรรมอื่น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง จากการวิเคราะห์โครงสร้างการผลิตโดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตทำให้ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่กำหนดการขยายตัวและระดับผลผลิตดังกล่าว อันได้แก่ ปัจจัยด้านการลดต้นทุน, ปัจจัยด้านความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิต ปัจจัยด้านความต้องการลงทุน และปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ สำหรับประเด็นทางด้านนโยบาย ควรมีการอำนวยความสะดวกด้านการผลิตในสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรในระดับที่สูงซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ควรส่งเสริมให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับปัจจัยการผลิตได้อย่างมากและทั่วถึงได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study is to analyze the effect of reducting the traff rate for 13 industries, such as food and beverage, textile and clothing, footwear and leather, wood and furniture, drug and chemical products, rubber and rubber products, pertrochemicals, plastic products, glass and ceramics, iron and steel, electronics and appliance, vehicle and auto parts, and jewelry and ornaments industry. The tariff reducing rate has to comply with WTO's bound rate, starting from 1998 to 2004. The CAMGEM model is used to analyze the impact of reducing tariff rate on both micro and macro economic variables with the comparative static analysis. The input-output model of Thailand in 1998 is used to analyze the production structure of these industries, in order to be able to draw some appropriate policy conclusion for the major industries. The average tariff reducing rate from 1998 to 2004 was only 4.53% because the tariff rate for most industries products has already been reduced since 1995 and finished in 1999. The estimation results by using CAMGEM model indicates the increase in real economic variables, i.e. import, export, consumption, production, employment and investment. But the price variables, such as import price level, export price level and domestic price level are decreased. Comparing with other industries, the iron and steel, electronics and appliance, vehicle and auto parts, and footware and leather industry have the highest expansion impact for all the production level. The cost factor, activity factor, investment factor, and trade factor are the main factors determining the expansion of production. These factors are analyzed from the production structure of the input-output table. For the policy analysis, there should be a policy to provide some facilitation in the regulation for production of the industries which receive higher benefit from reducing the tariff rate, such as vehicle and auto parts, footwear and leather, jewelry and ornaments, and traxtile and clothing industry. Apart from this, there sould be production promotion for the industries which play a vital role in generating income such as textile and clothing, and food and beverage industry. | en |
dc.format.extent | 3362888 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.524 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษีศุลกากร | en |
dc.subject | อุตสาหกรรม--ไทย | en |
dc.subject | แบบจำลองดุลยภาพครอบคลุม | en |
dc.title | ผลกระทบของการลดอัตราภาษีศุลกากรภายใต้ข้อผูกพันองค์การการค้าโลกต่อโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทย | en |
dc.title.alternative | The effects of tariff reduction Under WTO on the structure of Thai manufacturing sectors | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Bangorn.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.524 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arthiphat.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.