Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15201
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์-
dc.contributor.authorวิชุดา บูรณะเลิศไพศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-24T09:33:44Z-
dc.date.available2011-05-24T09:33:44Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15201-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ระงับเชื้อในการลดระดับปริมาณเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ในน้ำลายในคนที่มีปริมาณเชื้อมากกว่า 105 โคโลนีต่อน้ำลาย 1 มิลลิลิตร ให้มีปริมาณเชื้อต่ำกว่า 105 โคโลนีต่อน้ำลาย 1 มิลลิลิตร ตัวอย่างมาจากอาสาสมัคร 40 คน อายุ 15-30 ปี มีระดับปริมาณเชื้อในน้ำลายสูง จัดสรรตัวอย่างแบบสุ่มเป็น 4 กลุ่ม ตามชนิดของน้ำยาบ้วนปาก ดังนี้ น้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน น้ำยาบ้วนปากน้ำมันหอมระเหย น้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ และน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีฤทธิ์ระงับเชื้อ ตรวจระดับปริมาณเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ในน้ำลาย โดยใช้ Dentocult SM® ก่อนใช้และเมื่อใช้น้ำยาบ้วนปาก 2 สัปดาห์ กรณีที่พบว่ามีการลดระดับปริมาณเชื้อเป็นระดับต่ำ ทำการตรวจปริมาณเชื้ออีกครั้งภายหลังหยุดใช้น้ำยาบ้วนปาก 2 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ระงับเชื้อทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิผลในการลดค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนใช้น้ำยาบ้วนปาก (p < 0.05) โดยค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเชื้อก่อนใช้และเมื่อใช้น้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนเป็น 2.30 และ 0.20 น้ำยาบ้วนปากน้ำมันหอมระเหย เป็น 2.30 และ 1.20 และน้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ เป็น 2.40 และ 1.10 และมีประสิทธิผลในการลดจำนวนตัวอย่างที่มีระดับปริมาณเชื้อสูงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีฤทธิ์ระงับเชื้อ (p < 0.05) โดยประสิทธิผลเป็นร้อยละ 100, 60 และ 50 ตามลำดับ และน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนมีประสิทธิผลสูงกว่าน้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในกลุ่มตัวอย่างที่มีการลดลงของปริมาณเชื้อจากระดับสูงเป็นต่ำ พบว่าหลังหยุดใช้น้ำยาบ้วนปาก 2 สัปดาห์ มีจำนวนตัวอย่างที่มีปริมาณเชื้อกลับมาเป็นระดับสูงในน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนร้อยละ 30 น้ำยาบ้วนปากน้ำมันหอมระเหยร้อยละ 33.3 และน้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ ร้อยละ 60 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาสรุปได้ว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ระงับเชื้อทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิผลในการลดระดับปริมาณเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ ในน้ำลายของผู้ป่วยที่มีระดับปริมาณเชื้อสูง โดยน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนมีประสิทธิผลมากที่สุด น้ำยาบ้วนปากน้ำมันหอมระเหยและน้ำยาบ้วนปากเซทิลไพริดิเนียม คลอไรด์ มีประสิทธิผลใกล้เคียงกัน.en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the effectiveness of antiseptic mouthrinses in reducing salivary Streptococcus mutans in person with high bacterial level (≥ 105 CFU/ml) to low level (< 105 CFU/ml). Forty subjects with high level of salivary Streptococcus mutans, age 15-30 years, were recruited to the study. Subjects were randomly assigned to 4 groups according to mouthrinses as follows: chlorhexidine, essential oil, cetylpyridinium chloride and placebo. Salivary samples were collected to assess Streptococcus mutans level by using Dentocult SM® at baseline and after rinsing for 2 weeks. Subjects with low bacterial level were assessed bacterial level again at a 2 week–period of post-rinsing. In this study, it was found that all 3 antiseptic mouthrinses were significantly reduced mean scores of Streptococcus mutans level compared to baseline (p <0.05). The mean scores at baseline and after a 2-week period of rinsing in chlorhexidine mouthrinse was 2.30 and 0.20, essential oil mouthrinse was 2.30 and 1.20 and cetylpyridinium chloride mouthrinse was 2.40 and 1.10. All 3 antiseptic mouthrinses were effectively reduced numbers of subjects with high bacterial level compared to placebo (p < 0.05). Chlorhexidine mouthrinse was more effective than cetylpyridinium chloride mouthrinse (p < 0.05). The effectiveness of chlorhexidine, essential oil and cetylpyridinium chloride mouthrinses were 100%, 60% and 50% respectively. The percentage of subjects changed from low to high level after a 2-week period of post-rinsing in chlorhexidine, essential oil and cetylpyridinium chloride mouthrinses were 30%, 33.3% and 60% respectively. There were no statistical differences among groups. The present study suggests that all 3 antiseptic mouthrinses were effective in reducing salivary Streptococcus mutans in patients with high bacterial level. Chlorhexidine was the most effective mouthrinse. Essential oil mouthrinse was same effectiveness as cetylpyridinium chloride mouthrinse.en
dc.format.extent1774561 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1907-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสเตรปโตคอคคัสมิวเทนส์en
dc.subjectน้ำลายen
dc.subjectน้ำยาบ้วนปากen
dc.titleประสิทธิผลของน้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์ระงับเชื้อในการลดระดับของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ในน้ำลายen
dc.title.alternativeEffectiveness of antiseptic mouthrinses in reducing salivary streptococcus mutans levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThipawan.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1907-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wichuda.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.