Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15254
Title: สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาของครูสังคมศึกษา
Other Titles: State and problems of organizing instructional activities to develop good citizenship characteristics of secondary school students by social studies teachers
Authors: ปลินธร เพ็ชรฤทธิ์
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th
Subjects: กิจกรรมการเรียนการสอน
ครูสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ตามการรับรู้ของครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน 2. เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ตามการรับรู้ของครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน โดยแบ่งครูเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี และกลุ่มครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 30 ปี กลุ่มตัวอย่างคือครูสังคมศึกษา 291 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 27 โรงเรียนในจังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ([x-bar]) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยมีการค้นพบ ดังนี้ 1. สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี 1.1 การจัดเนื้อหาในหลักสูตร ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม เน้นการใช้เฉพาะเนื้อหาในสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมในการสอน และการจัดหน่วยบูรณาการเนื้อหาความเป็นพลเมืองดีกับสาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในด้านทักษะพื้นฐานน้อยกว่าด้านอื่นๆ 1.3 การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม เน้นการใช้ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทเรียน และแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมาเป็นสื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1.4 การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม เน้นการวัดและการประเมินผลควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีการประเมินจากการทดสอบและการสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ใช้แบบทดสอบ แบบฝึกหัด และแบบสังเกตเป็นเครื่องมือ และประเมินผลโดยครูผู้สอนเป็นผู้ประเมินเพียงผู้เดียว 2. ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี 2.1 ด้านนักเรียน ครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี เห็นว่าทักษะการเรียนเป็นปัญหาค่อนข้างมาก ส่วนครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนมากกว่า 30 ปี เห็นว่าเป็นปัญหาค่อนข้างน้อย และครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่มเห็นว่าปัญหาการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนเป็นปัญหาค่อนข้างน้อย 2.2 ด้านครู ครูสังคมศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม เห็นว่าปัญหาความรู้ในการจัดเนื้อหา ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปัญหาการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นปัญหาค่อนข้างน้อย
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to study state of organizing instructional activities to develop good citizenship characteristics of social studies teachers with teaching experiences more than 30 years and less than or equivalent 30 years 2) to study problems of organizing instructional activities to develop good citizenship characteristics of social studies teachers with teaching experiences more than 30 years and less than or equivalent 30 years. The subject was 291 social studies teachers in 27 secondary schools in Songkhla province. The research instrument was a set of questionnaire. The obtained data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. State of organizing instructional activities to develop good citizenship characteristics. 1.1 Organizing content. Both groups of social studies teachers focused on contents in the areas of civics, culture and the living in the society and designed unit of teaching by integrating civics content with religion and ethics content. 1.2. Organizing instructional activities. Both groups of social studies teachers organized classroom activities, extra curriculum activities and activities with communities instructional activities to develop good citizenship characteristics to development of basic skills less than the other aspects. 1.3. Instructional material and learning resources. Both groups of social studies teachers used news and articles related to lessons and communities as main instructional material and learning resources. 1.4. Measurement and evaluation. Both groups of social studies teachers focused on measurement and valuation along with instructional activities. Testing and working behaviour observation of students were the method of measurement. Teacher-made tests, exercises and observation form were measurement instrument. Teachers were the only evaluators. 2. Problems of organizing instructional activities to develop good citizenship characteristics. 2.1 Student aspect. Social studies teachers with less than or equivalent 30 years of teaching experiences viewed that students’ study skills were rather high level problems but teachers with more than 30 years of teaching experiences viewed that it was rather low level problems. Both groups viewed that activities participation of students was rather low level problems. 2.2 Teacher aspect. Both group of social studies teachers viewed that knowledge in organizing content, organizing activities, use of instructional material and learning resources, measurement and evaluation were rather low level problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15254
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1931
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1931
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Palintorn_Ph.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.