Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.advisorธิดารัตน์ บุญนุช-
dc.contributor.authorทัศนา เมฆเวียน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-06-12T02:49:01Z-
dc.date.available2011-06-12T02:49:01Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15266-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียน รู้ และ3) นำเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมประสิทธิภาพหลักสูตรนานาชาติด้วยศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ โดยใช้แบบทดสอบการเรียนรู้ลาสซี่ (LEARNING AND STUDY STRATEGIES INVENTORY: LASSI) ในการสำรวจยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรนานาชาติที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่หนึ่ง โดยใช้วิธีแบบเจาะจงจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีนักศึกษาต่างชาติหลักสูตรนานาชาติศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิตอย่างน้อยร้อยละ 5 ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิทยาลัยมิชชั่น รวม 4 แห่ง นักศึกษาที่ตอบแบบสำรวจยุทธศาสตร์การเรียนรู้มีจำนวน 449 คน การพัฒนารูปแบบศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ และการนำเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมประสิทธิภาพหลักสูตรนานาชาติด้วยศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ ได้มีการจัดทำรูปแบบและประเมินโดยการสำรวจยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ การทดลองใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อวิพากษ์รูปแบบศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้และยุทธศาสตร์ส่งเสริมประสิทธิภาพหลักสูตรนานาชาติด้วยศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติที่อยู่ในระดับมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนามากคือหมวดความตั้งใจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การลดความกังวล ยุทธศาสตร์ที่มีความจำเป็นต้องพัฒนา คือ หมวดการเรียนรู้ ได้แก่ ยุทธศาสตร์กระบวนการจัดกระทำข้อมูล ยุทธศาสตร์การแยกแยะใจความหลักและใจความรอง ยุทธศาสตร์ในการสอบ หมวดการบริหารและจัดการตนเอง คือ ยุทธศาสตร์การมีสมาธิ ยุทธศาสตร์การประเมินตนเองในการสอบ ยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรในการส่งเสริมการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การบริหารเวลา ส่วนยุทธศาสตร์ที่ไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาคือหมวดความตั้งใจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทัศนคติและยุทธศาสตร์แรงจูงใจ ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติหลักสูตรนานาชาติมีความแตกต่างเป็นนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ หมวดความการเรียนรู้ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การแยกแยะใจความหลักและใจความรอง หมวดความตั้งใจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การลดความกังวล และหมวดการบริหารและจัดการตนเอง ได้แก่ ยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ และยุทธศาสตร์การประเมินตนเองโดยการสอบ รูปแบบศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้จึงพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติเป็นสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น3 ส่วนคือ1) ผู้ใช้บริการโดยพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาที่มีปัญหาในการเรียน 2) การให้บริการ คือการพัฒนายุทธศาสตร์ การสอบ และการแนะแนว 3) การบริหารจัดการ อย่างมีอิสระ เพื่อความคล่องตัวโครงสร้างและบุคลากร เทศะที่สร้างบรรยากาศไม่ตึงเครียด ทรัพยากรที่ทันสมัย และการนำเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมประสิทธิภาพหลักสูตรนานาชาติด้วยศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ เพื่อช่วยนักศึกษาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมในการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาและเพื่อส่งเสริมความเป็นสากลของนักศึกษาและหลักสูตรนานาชาติ ผู้วิจัยเสนอแนะให้จัดทำศูนย์พัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการบริการนักศึกษาสู่ความเป็นสากลด้วยการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนรู้.en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to survey learning strategies among students in international program under the Commission on Higher Education 2) to develop a model for learning strategy centers 3) to introduce strategies for supporting International programs through learning strategy centers. Learning and Study Strategies Inventory (LASSI) was used as an instrument in surveying the strategies used by students in international program. The purposive sample group was the first year students selected from Institutions of Higher Education that have at least 5% of international students. The survey was based on 449 baccalaureate students from the following institutions: Assumption University, Mahidol University, Thammasart University, and Mission College. The research method applied in the development of the center were 1) data collected from a survey of learning strategies of students in international program, 2) a pilot study of the effect of the development of learning strategies on students, 3) the interview of the experts, and 4) the connoisseurship of the experts was organized to assess the model and strategies to support international program through learning strategy centers. The results of the study on the students in international program identified anxiety as strategy that needed most improvement. The strategies that should be improved were the following: information processing, selecting main idea and detail, test strategy, concentration, self- assessment, uses of resources, and time management. The strategies that need no improvements were attitude and motivation. There was a significant statistical difference in the learning strategies between Thai and International students at the .05 levels in the following strategies: selecting main idea and detail, testing, anxiety, uses of resources, and self- assessment. The development of learning strategy centers incorporated the improvements of strategies needed in order to enhance students with learning strategies. Thus, the model of learning strategy centers composed of 1) customers: first year students and those who have learning problem 2) services: the development of learning strategies, testing, and counseling 3) Administration and management: autonomous management to provide flexible management, structure and personnel, enough budget to manage and improve center, comfortable atmosphere, up to date equipments, and strategies to support international programs through learning strategies centers in order to prepared students in their adjustment and preparation at the baccalaureate level and be ready to serve in a more global setting. It is recommended that an effective center for learning strategies be organized in order to prepare students for services in a global context.en
dc.format.extent4178674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.546-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- หลักสูตรen
dc.subjectคหกรรมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en
dc.titleวิวัฒนาการของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์ระดับอุดมศึกษา ในสมัยรัตนโกสินทร์en
dc.title.alternativeEvolution of home economics curriculum and instruction at higher education in Rattanakosin perioden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornchulee.A@Chul.ac.th-
dc.email.advisorThidarat.B@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.546-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tusana.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.