Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15369
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา จาติกวนิช | - |
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | จารุวรรณ ทองสนิท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-06-28T01:56:07Z | - |
dc.date.available | 2011-06-28T01:56:07Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743346104 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15369 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบคทีเรียกรดแลคติคชอบเค็มในกระบวนการหมักน้ำปลาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดการหมัก (0-18 เดือน) ในโรงงาน A B และ C โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเอ็มอาร์เอสที่เติมโซเดียมคลอไรด์ 5 เปอร์เซนต์ พบจำนวนแบคทีเรียทนเค็มและชอบเค็มทั้งหมดของโรงงาน A อยู่ในช่วง 6.50 x 10-8.25 x 10 x 10 x 10 x 10 x 10 CFU/ml โรงงาน B อยู่ในช่วง 0-2.40 x 10 x 10 x 10 x 10 CFU/ml และโรงงาน C อยู่ในช่วง 0-9.90 x 10 x 10 x 10 x 10 CFU/ml แยกได้แบคทีเรียกรดแลคติคชอบเค็มทั้งหมด 389 สายพันธุ์ จากโรงงาน A 266 สายพันธุ์ โรงงาน B 100 สายพันธุ์ และโรงงาน C23 สายพันธุ์ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของตัวอย่างน้ำปลาจากโรงงาน A B และ C พบว่ามีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 4.99-6.31, 5.06-5.69 และ 4.78-6.30 ปริมาณกรดแลคติคอยู่ระหว่าง 0.76-2.92, 0.90-3.70 และ 0.20-3.74 เปอร์เซนต์ และปริมาณโซเดียมคลอไรด์อยู่ระหว่าง 18.25-23.62, 19.25-31.00 และ 22.00-32.50 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ จากการศึกษารูปแบบการหมักน้ำตาล 6 ชนิด คือ เมเลซิโทส อะราบิโนส มอลโทส กาแลคโทส ไซโลส และไรโบส เพื่อจัดกลุ่มแบคทีเรียกรดแลคติคชอบเค็ม พบว่าแบคทีเรีย 389 สายพันธุ์ จากโรงงาน A B และ C มีรูปแบบการหมักน้ำตาล 24 รูปแบบ คัดเลือกตัวแทนแบคทีเรียจาก 24 รูปแบบของการหมักน้ำตาลรวม 174 สายพันธุ์ เพื่อศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ พบว่า สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ของแบคทีเรียได้เป็น Tetragenococcus sp. 172 สายพันธุ์ และอีก 2 สายพันธุ์ ไม่สามารถจัดจำแนกได้จัดกลุ่มแบคทีเรีย 174 สายพันธุ์ โดยใช้รูปแบบของฟีโนไทป์เป็น 6 กลุ่ม และคัดเลือกตัวแทน 80 สายพันธุ์ เพื่อศึกษาความคล้ายคลึงทางดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอไฮบริไดเซชั่นในไมโครเพลต โดยการติดฉลากโพรบดีเอ็นเอด้วยโฟโตไบโอติน พบว่า สามารถแบ่งแบคทีเรียทั้ง 80 สายพันธุ์ ได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 40 สายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์ความคล้ายคลึงทางดีเอ็นเอกับแบคทีเรีย T.halophilus สายพันธุ์มาตรฐาน ATCC 33315T เท่ากับ 70.03-109.05 เปอร์เซนต์ จึงจัดเป็นแบคทีเรีย T.halophilus กลุ่มที่ 2 มี 38 สายพันธุ์มีเปอร์เซนต์ความคล้ายคลึงทางดีเอ็นเอกับ T.muriaticus สายพันธุ์มาตรฐาน JCM 10006T เท่ากับ 70.94-105.60 เปอร์เซนต์ จึงจัดเป็น T.muriaticus กลุ่มที่ 3 มี 2 สายพันธุ์ ไม่มีความคล้ายคลึงทางดีเอ็นเอกับ T.halophilus ATCC 33315T, T.muriaticus JCM 10006T และ Aerococcus viridans TISTS 393T เท่ากับ 3.69-16.30 เปอร์เซนต์ จึงไม่สามารถระบุสปีชีส์ได้ คัดเลือกตัวแทนของ Tetragenococcus sp. เพื่อศึกษาการสร้างฮีสตามีน, ไอโซเมอร์ของกรอแลคติค และองค์ประกอบ กรดไขมันของเซลล์ พบว่าแบคทีเรียสามารถสร้างฮีสตามีนได้ปริมาณ 0.036-52.29 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตรของอาหาร ไอโซเมอร์ของกรดแลคติคเป็นชนิดแอล และมีองค์ประกอบกรดไขมันของเซลล์ชนิด C18:1 เป็นองค์ประกอบหลัก จากการศึกษาอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม พบว่า อาหารเลี้ยงเชื้อเอ็มอาร์เอสที่ลดปริมาณกลูโคสเป็น 0.5 เปอร์เซนต์ เหมาะสำหรับการเจริญของ T. halopkilus และที่เติมโซเดียมคลอไรด์ 10 เปอร์เซนต์ เหมาะสำหรับการเจริญของ T. muriaticus นอกจากนี้ในงานวิจัยนี้ยังได้ทำการทดลองเบื้องต้นในการเตรียมหัวเชื้อบริสุทธิ์ พบว่า การเก็บเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อปลาป่นผสมกับรำข้าวที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นวิธีที่ให้เปอร์เซนต์การรอดชีวิตของแบคทีเรียกรดแลคติกชอบเค็มได้มากที่สุด | en |
dc.description.abstractalternative | Halophilic lactic acid bacteria were studied in fermented fish sauce collected from 0 to 18 month products of factories A, B and C using 5% BaCl-MRS agar. A total halotolerant and halophilic count ranged from 6.50 x 10-8.25 x 10 x 10 x 10 x 10 x 10, 0-2.50 x 10 x 10 x 10 x 10 CFU/ml for A, B and C respectively. A total 389 strains of halophilic lactic acid bacteria were isolated 266, 100 and 23 strains from A, B and C respectively. Chemical characteristics of samples from A, B and C revealed that they had a pH of 4.99-6.31, 5.06-5.69 and 4.78-6.30, lactic acid concentration 0.76-2.92, 0.90-3.70 and 0.20-3.74 percent and sodium chloride concentration 18.25-23.62, 19.25-31.00 and 22.00-32.50 percent, respectively. The fermentation of six carbohydrates (melezitose, arabinose, maltose, galactose, xylose and ribose) of 389 isolates was totally 24 patterns. Based on the phenotypic characteristics studied, 172 isolates selected from 24 patterns were belonged to genus Tetragenococcus and 2 isolates were unidentified. Eighty strains selected from 6 groups of phenotypic characteristics were studied for DNA relatedness using photobiotin labelling DNA-DNA hybridization in microplate wells. The bacteria could be catagorized into three groups. Group 1 (40 strains) showed high degree (70.03-109.05%) of DNA-DNA homologies with T.halophilus ATCC 33315T. Then they were identified as T.halophilus. Group 2 (38 strains) showed high degree (70.94-105.60%) of DNA-DNA homologies with T.muriaticus JCM 10006T. Theh they were identified as T.muriaticus. Group 3 (2 strains) showed low degree (3.69-16.30%) of DNA-DNA homologies with T.halophilus ATCC 33315T, T.muriaticus JCM 10006T and Aerococcus viridans TISTR 393T. Then they were left unidentified. Tetragenococcus sp. strains were selected for study of histamine production, isomer of lactic acid and cellular fatty acid composition. The selected strains could produce histamine ranged from 0.036-52.29 mg/100 ml, L-lactic acid from glucose and the main cellular fatty acids composition of C18:1. MRS medium containing 0.5% glucose is useful for cultivation of Tetragenococcus strains. T.halophilus strains could grow well in 5% NaCl-MRS medium while T.muriaticus strains grow well in 10% NaCl-MRS medium. The preliminary study of starter cultures of selected strains was showed that the bacterial preservation in medium containing fish meal and rice bran kept at 4 ํC gave highest viability of cells. | en |
dc.format.extent | 13584475 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การหมัก | en |
dc.subject | น้ำปลา | en |
dc.subject | ดีเอ็นเอไฮบริไดเซชัน | en |
dc.subject | แบคทีเรียชอบเค็ม | en |
dc.title | การใช้ดีเอ็นเอไฮบริไดเซชั่นในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของ Tetragenococccus species ที่แยกได้จากการหมักน้ำปลา | en |
dc.title.alternative | DNA-DNA Hybridization in the identification of Tetragenococcus species isolated from fish sauce fermentation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Somboon.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jaruwan_Th.pdf | 13.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.