Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15502
Title: การออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุสำหรับการประเมินการคงสภาพของท่อที่มีรอยร้าวด้วยระเบียบวิธี R6
Other Titles: Design of object-oriented program for cracked pipe integrity assessment using R6 procedure
Authors: เนติพันธ์ พุทธรักษ์
Advisors: จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmejks@eng.chula.ac.th
Subjects: การโปรแกรมเชิงวัตถุ
ท่อ -- รอยร้าว
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุสำหรับการประเมินการคงสภาพของท่อที่มีรอยร้าว ด้วยระเบียบวิธี R6 โปรแกรมสามารถประเมินท่อที่มีรอยร้าวผิวรูปครึ่งวงรี 2 ชนิดคือ ชนิดแรกรอยร้าววางตัวภายในตามแนวเส้นรอบวง และชนิดที่สองวางตัวภายในตามแนวแกน รอยร้าวชนิดแรกรับภาระแรงดึงตามแนวแกน และโมเมนต์ดัด ส่วนรอยร้าวชนิดที่สองรับภาระความดันภายใน โดยใช้การประเมินในระดับที่ 1 และระดับที่ 2 กับแผนภาพการประเมิน FAD ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนของโปรแกรมที่สามารถจัดการกับรอยร้าว กรณีโครงสร้างมีรอยร้าวปรากฏอยู่ใกล้กันสองรอย โดยใช้วิธีการตามข้อแนะนำของมาตรฐาน API 579 การออกแบบโปรแกรมประยุกต์ใช้วิธีของ Rumbaugh et al. มีขั้นตอนคือ 1) เขียนเนื้อความของปัญหา 2) หาคลาสจากเนื้อความของปัญหา 3) สร้างคลาสไดอะแกรม 4) ปรับปรุงคลาสไดอะแกรม และ5) สร้าง sequence diagram การตรวจสอบโปรแกรมแบ่งเป็นการตรวจสอบผลการระบุลักษณะรอยร้าว และผลการประเมินโดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากโปรแกรม MathCAD จากการตรวจสอบพบว่า ผลการระบุลักษณะรอยร้าวและผลการประเมินมีค่าตรงกัน ในอนาคต หากมีความต้องการปรับปรุงเพิ่มเติมขีดความสามารถของโปรแกรม ให้สามารถประเมินโครงสร้างที่หลากหลาย รอยร้าวชนิดอื่นๆ หรือระดับการประเมินและประเภทของแผนภาพที่นอกเหนือจากนี้ โปรแกรมที่ออกแบบสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากโปรแกรมถูกออกแบบด้วยแนวคิดเชิงวัตถุ.
Other Abstract: This thesis develops a cracked pipe’s integrity assessment software based on an R6 procedure. The program’s structure is designed using an object-oriented concept. The program can analyze a pipe containing a semi-elliptical surface crack locates at an inner wall and orients in circumferential or axial directions. For the case of a circumferential crack, the program can assess the integrity of a pipe subjected to an axial force or a bending moment or an internal pressure. For the case of an axial crack, the program can assess the integrity of a pipe subjected to an internal pressure or an arbitrarily distributed circumferential stress. The program can perform levels 1 and 2 assessment and has two options of a failure assessment diagram. Furthermore, the program has a crack characterization routine for the case of a pipe having 2 cracks and has a crack growth routine for calculating a change of crack size due to fatigue loading. Steps in the program’s structure development start from: writing down a problem statement, identifying classes from the problem statement, creating a class diagram, refining a class diagram and creating a sequence diagram. Validation of the program is divided into 2 parts: 1) validating the crack characterization and 2) validating the integrity assessment. The validation results show that the program can correctly characterize the cracks and assess the integrity of a pipe.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15502
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.316
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.316
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natipan_pu.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.