Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15530
Title: ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์ที่มีต่อความสามารถในการสื่อความหมายของเด็กอนุบาล
Other Titles: Effects of organizing experience by using the storyline method on communication ability of kindergarteners
Authors: ธีรารัตน์ ศรีวิรัตน์
Advisors: วรวรรณ เหมชะญาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Worawan.H@Chula.ac.th
Subjects: พัฒนาการของเด็ก
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
การสื่อทางภาษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์ที่มีต่อความสามารถในการสื่อความหมายของเด็กอนุบาล 2 ด้าน ได้แก่ การระลึกได้ และการจับใจความ การจัดประสบการณ์โดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเรียงร้อยสถานการณ์ ขั้นที่ 2 การขยายประสบการณ์ และขั้นที่ 3 การเล่าเรื่องย้อนกลับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 5 – 6 ปี โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดประสบการณ์โดยใช้วิธีสตอรี่ไลน์ จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดประสบการณ์ทางภาษาแบบปกติ จำนวน 24 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการสื่อความหมายของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองคะแนนความสามารถในการสื่อความหมายด้านการระลึกได้ และการจับใจความของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of organizing experience by using the storyline method on the communication ability of kindergarteners, in terms of recall and comprehension. The process of organizing experience by using the storyline method were: 1) situation plotting 2) experience elaborating and 3) story retelling The sample was 48 kindergarteners of five to six years of age at Bankhongwa (Thaweeratrajbamrung) school. The sample was divided into two groups: 24 children in the experimental group organized experiences using the storyline method and 24 children in the control group used the conventional method. Research duration was 10 weeks. The research instrument was a test of communication ability of kindergarteners. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The research results were that after the study, the scores on communication ability in terms of recall and comprehension of the experimental group were significantly higher than those of the control group at the .01 significance level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15530
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.581
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.581
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thirarat_sr.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.