Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15550
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ | - |
dc.contributor.author | อนันดา สัณฐิติวณิชย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-07-28T08:51:38Z | - |
dc.date.available | 2011-07-28T08:51:38Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15550 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ตรวจสอบคุณภาพ และสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายของคะแนนและคู่มือการพัฒนาแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ภาคกลาง ปีการศึกษา 2551 จำนวน 471 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมโดยใช้โปรแกรม TAP และ B-index ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นวัดจากองค์ประกอบ 3 ด้าน และ 11 ตัวบ่งชี้ ซึ่งองค์ประกอบความสามารถในการอ่านมี 4 ตัวบ่งชี้คือ การจับใจความสำคัญ การเข้าใจความหมาย การให้รายละเอียดสำคัญ การสรุปความและอนุมาน องค์ประกอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์มี 3 ตัวบ่งชี้คือ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ องค์ประกอบความสามารถในการเขียนสื่อความมี 4 ตัวบ่งชี้คือ การเสนอเนื้อหา การลำดับความ ไวยากรณ์ และกลไกภาษา ซึ่งแบบวัดความสามารถนี้แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นข้อปรนัยจำนวน 18 ข้อและตอนที่ 2 เป็นข้ออัตนัยจำนวน 4 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ พบว่า แบบวัดความสามารถในส่วนที่เป็นแบบปรนัยมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.89 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.14 – 0.52 ค่าความยากเฉลี่ยเท่ากับ 0.63 และค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยเท่ากับ 0.30 แบบวัดความสามารถในส่วนที่เป็นอัตนัยมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.61 – 0.71 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.41 – 0.58 และแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.63 และแบบวัดความสามารถมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง 3. การสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายคะแนนโดยการแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานที พบว่า แบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความมีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T19.28 – T80.72 ความสามารถในการอ่านมีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T19.28 - T75.55 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T21.41 – T75.55 และความสามารถในการเขียนสื่อความมีคะแนนมาตรฐานทีอยู่ในช่วง T24.45 – T74.91 4. คู่มือการพัฒนาแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน แนวทางในการพัฒนาแบบวัดความสามารถ คุณภาพของแบบวัดความสามารถ และตัวอย่างแบบวัดความสามารถ 5. ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการพัฒนาแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คู่มือมีคุณภาพด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านอรรถประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were to develop, verify the quality and construct norm and manual for the development of a test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities for ninth grade students. The sample was 471 grade nine students in central region in 2008 academic year from schools under the Office of Basic Education Commission. The research instrument was a test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities for the ninth grade students. Data were analyzed by descriptive statistics. CTT – based item analysis was employed by using TAP and B-index, Second order factor analysis was also used to analyze the data. The research findings were as follows: 1) A developed test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities was consisted of 3 factors and 11 indicators. There were four indicators in reading ability factor, i.e., gisting, comprehension, circumstantiate and summary and inference. There were three indicators in analytical thinking ability factor, i.e., elements analysis, relationships analysis and organizational analysis. There were four indicators in communication writing ability factor, i.e., content, organization, grammar and mechanics. The instrument consisted of 18 multiple choice items and 4 essay items. 2) Multiple choice items had a level of difficulty ranged from 0.29 to 0.89, a power of discrimination ranged from 0.14 to 0.52, an average of difficulty level was 0.63, and an average of a discrimination power was 0.30. Essay items had level of difficulty ranged from 0.61 to 0.71 and power of discrimination ranged from 0.41 to 0.58. An internal consistency reliability of the test was 0.63. There was a construct validity prove by second order confirmatory factor analysis. 3) Norm of instrument was standard T score that ranged from T19.28 to T80.72. The standard T score of reading ability, analytical thinking ability and communication writing ability ranged from T19.28 to T75.55, T21.41 to T75.55, and T24.45 to T74.91, respectively. 4) The developed manual for the construction of a test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities for ninth grade students was consisted of the contents about Evaluation of reading, analytical thinking, and writing ability. Process for the construction of a test, as well as a Sample test and a quality of a test 5) The quality of the manual for the construction a test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities for ninth grade students from evaluation results revealed that the quality of the manual was in very high levels in accuracy, propriety and utility aspects where as the quality of the manual was in high level in feasibility aspect. | en |
dc.format.extent | 1840165 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.268 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การทดสอบความสามารถ | en |
dc.subject | การอ่าน -- การทดสอบความสามารถ | en |
dc.subject | ความคิดและการคิด -- การทดสอบความสามารถ | en |
dc.subject | การเขียน -- การทดสอบความสามารถ | en |
dc.title | การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 | en |
dc.title.alternative | Development of a test of reading, analytical thinking, and communicative writing abilities for ninth grade students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kamonwan.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.268 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ananda_sa.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.