Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15554
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรีพร ธนศิลป์ | - |
dc.contributor.author | กรกฎ สุวรรณอัคระเดชา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-07-28T09:43:00Z | - |
dc.date.available | 2011-07-28T09:43:00Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15554 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กงต่อความเครียดและระดับคอร์ติซอลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันประสาทวิทยาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 คน และกลุ่มทดลอง 15 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องของคะแนนการรับรู้ความเครียด โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd และคณะ (2001) และแนวคิดการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย 2) การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการความเครียดร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง 3) การฝึกบริหารกาย-จิตแบบชี่กง และ 4) การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการรับรู้ความเครียด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับ โปรแกรมฯ น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของคอร์ติซอลในน้ำลายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกัน (p > .05) 2.ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลอง ภายหลัง ได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของคอร์ติซอลในน้ำลายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกัน (p > .05) | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this quasi-experimental research were to study effects of the symptom management program combined with qigong on stress and cortisol level in stroke patients. The study samples were 30 patients admitted at Prasat Neurological Institute, and were assigned into either the control group and experimental group. The group were matched in terms of perceive stress scale of patients. The control group received routine nursing care while the experimental group received the Symptom Management Program combined with Qigong. This program based on the Symptom Management Model (Dodd et al., 2001) and QIGONG concepts and was comprised of 4 session 1) symptom experience assessment, 2) knowledge providing, 3) Qigong practice, and 4) evaluation. The instrument for collecting data was Perceived Stress Scale tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .79. Data were analyzed by using descriptive statistic and t – test (paired t-test and independent t-test). The major findings were as follows: 1.The posttest mean scores of stress in stroke patients of the experimental group were significantly lower than that of the pretest (p < .05), but the pretest and posttest mean scores of salivary cortisol concentration in stroke patients of the experimental group were not significantly difference (p > .05). 2.The posttest mean scores of stress in stroke patients of the experimental group were significantly lower than that of the control group (p < .05), but the posttest mean scores of salivary cortisol concentration in stroke patients of the experimental group and the control group were not significantly difference (p > .05). | en |
dc.format.extent | 2285800 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.973 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชี่กง | en |
dc.subject | หลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย | en |
dc.subject | ฮัยโดรคอร์ติโซน | en |
dc.subject | ความเครียด (จิตวิทยา) | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กง ต่อความเครียดและระดับคอร์ติซอลในผู้ป่วยโรคหลอดเลีอดสมอง | en |
dc.title.alternative | Effects of the symptom management program combined with Qigong on stress and cortisol level in stroke patients | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sureeporn.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.973 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Korrakote_su.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.