Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorวิภาดา โนตา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสมุทรสาคร-
dc.date.accessioned2011-07-31T04:34:34Z-
dc.date.available2011-07-31T04:34:34Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15569-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractจังหวัดสมุทรสาครมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความต้องการแรงงานในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในพื้นที่ เกิดเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว จึงมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาสภาพการอยู่อาศัย พฤติกรรมความต้องการ และปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับคนต่างด้าวต่อไปในอนาคต โดยใช้กรณีศึกษา ชุมชนวัดตึก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ในการศึกษา โดยสำรวจข้อมูลภาคสนาม สังเกต และสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพการอยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุอยู่ระหว่าง 21-30 ปี มีสถานภาพสมรส ภูมิลำเนาเดิมมาจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า อยู่ในประเทศไทย 1-5 ปี อาศัยอยู่รวมกัน 3-4 คน ต่อหนึ่งหน่วยอาศัย ด้านสภาพเศรษฐกิจพบว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บ โดยครัวเรือนมีรายได้ 10,000-15,000 บาทต่อเดือน สถานที่ทำงานอยู่บริเวณถนนเศรษฐกิจ 1 ซึ่งมีระยะทางห่างจากที่อยู่อาศัย (ชุมชนวัดตึก) 4-6 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 31-60 นาที และเดินทางโดยรถรับส่งของบริษัท ด้านสภาพการอยู่อาศัยพบว่า รูปแบบของหน่วยที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นห้องแถวประเภทตึก มีขนาดพื้นที่ห้อง 15 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ห้องน้ำ 1.5 ตารางเมตร ใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว เมื่อพิจารณาสภาพการอยู่อาศัยโดยรวมของหน่วยพักอาศัยตามเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า หน่วยที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวมีสภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อพิจาณาโดยอ้างอิงเกณฑ์ในการจำแนกสภาพการอยู่อาศัยของผู้ขับขี่รถสามล้อบริเวณย่านชุมชนซอยวัดด่าน พบว่า หน่วยที่อยู่อาศัยมีสภาพปานกลาง ปัญหาเกี่ยวกับการอยู่อาศัย สรุปได้ดังนี้ (1) ปัญหาภายในหน่วยที่อยู่อาศัย พบว่า พื้นที่ในการระบายอากาศของหน่วยที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่รวม (2) ปัญหาด้านสาธารณูปโภค พบว่า น้ำประปาไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชน (3) ปัญหาสภาพแวดล้อมในชุมชน พบว่า มีความหนาแน่นของอาคารมาก สภาพอาคารส่วนใหญ่เก่าและโทรม มีจุดทิ้งขยะไม่เพียงพอ การจัดเก็บขยะไม่ทั่วถึง น้ำท่วม และมีน้ำเน่าขัง ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย สรุปได้ดังนี้ (1) หน่วยงานเจ้าของที่ดิน ควรมีการดำเนินการแก้ปัญหาโดยการบังคับใช้ระเบียบที่มีอยู่อย่างเคร่งครัด (2) ควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในชุมชน โดยเริ่มจากการช่วยกันทำความสะอาดที่อยู่อาศัยและชุมชน (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่หน่วยงานเจ้าของที่ดิน หน่วยงานท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ควรวางแผนร่วมกันในการจัดการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้เพียงพอและเหมาะสม (4) ผู้ประกอบการที่มีส่วนทำให้เกิดแรงงานต่างด้าว ควรมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้ระบบภาษี (5) ให้ความรู้สำหรับคนไทยและแรงงานต่างด้าว เรื่องสุขลักษณะที่ดีในการอยู่อาศัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องสภาพการอยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป.en
dc.description.abstractalternativeSamut Sakhon has undergone a rapid economic expansion. As a result, additional labor has been required for the production of goods and services. To meet this demand, alien manual laborers have been hired to work in the province, resulting in the growth of their community. Therefore, there is a need to examine their living conditions, behavior, needs, and living problems in order to plan for future housing needs. A case study was conducted on the Wat Tuek community, Amphur Muang, Samut Sakhon. The data were collected through field surveys, observations, and structured interviews. The results show that the majority of the workers were female, aged 21-30 years, married, and originally from Malamaeng. At the time of research, they had lived in Thailand for one to five years. The subjects were living in groups of three or four. Economically, most of them were working in industrial factories. With the income of 10,000-15,000 baht they earned per month, they had enough money for expenses and saving. The factories they were working at are on Setthakit Road, four to six kilometers from the Wat Tuek community, requiring 31-60 minutes to commute. The workers used the transportation provided by the factories. With respect to their living conditions, the subjects were living in shophouses with an area of 15m2 and a 1.5 m2 restroom. The area was used solely for living. When their overall living conditions were considered based on standard criteria, they were deemed to be sub-standard. However, the houses were found to be in a moderate condition when analyzing the living conditions of tricycle taxi riders at the Wat Dan community. In regards to the living problems, it was found that in terms of the internal conditions of their houses, there was not enough ventilation. The second problem was public utilities, as the water supply was insufficient for their needs. Finally, their community was overcrowded with old and dilapidated buildings, exacerbated by several problems such as inadequate areas for waste disposal and collection, flooding, and an ineffective wastewater drainage system. Suggestions are as follows. First, the entity owning the land should solve the problems mentioned above by enforcing the relevant regulations more strictly. Second, the residents should be encouraged to improve their living conditions starting with cleaning their houses and communal areas. Third, all related parties such as the land owner, local administration, and governmental agencies should cooperate in planning the public utilities and physical facilities so that they are adequate and suitable. Fourth, the businesses hiring the alien manual laborers should also be made financially responsible for improving the public utilities, physical facilities, and environment. This can probably be done through taxation. Finally, both Thai and alien manual laborers should be educated on good living hygiene so as to prevent future problems regarding living conditions.en
dc.format.extent4867363 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.223-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแรงงานต่างด้าว -- ไทย -- สมุทรสาครen
dc.subjectชุมชนแออัดen
dc.subjectที่อยู่อาศัยen
dc.subjectการย้ายถิ่นen
dc.titleสภาพการอยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร : กรณีศึกษาชุมชนวัดตึกen
dc.title.alternativeLiving conditions of alien manual labourers in Samutsakorn area : a case study of Wat Tuek communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.223-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipada_No.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.