Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15629
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อังสนา บุณโยภาส | - |
dc.contributor.author | ชิตาภา วงศ์ศุปไทย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-08-08T11:36:43Z | - |
dc.date.available | 2011-08-08T11:36:43Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15629 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ประกอบด้วยโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซต่อเชื่อมกับโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการก่อสร้างมากกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น เพราะสามารถสร้างได้เร็ว มีต้นทุนการผลิตต่ำและให้ประสิทธิภาพสูง แต่การสร้างโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแต่ละแห่งนำมาซึ่งข้อขัดแย้งและการต่อต้านจากชุมชนโดยรอบพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า ที่มีความกังวลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ไม่ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะได้แสดงให้เห็นถึงมาตรการต่างๆ ที่ได้ทำในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำมวลชนสัมพันธ์อย่างเข้มแข็ง แต่ปัญหาก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ มีการตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาน่าจะมาจากภาพลักษณ์ของโรงไฟฟ้าที่ในการออกแบบวางผังเน้นประสิทธิภาพในการผลิตมากกว่าการคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการวางผังโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม เพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น โดยศึกษาการวางผังของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมภายในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 3 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าบางปะกง โรงไฟฟ้าวังน้อย โรงไฟฟ้าพระนครใต้และทำการเปรียบเทียบกับการวางผังบริเวณของโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเอกชนที่ได้รับรางวัลด้านการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบวางผังโรงไฟฟ้าให้มีภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ในประเด็นเรื่องของการมองเห็นตัวโรงไฟฟ้า การมีพื้นที่ใช้สอยร่วมกับชุมชนโดยรอบ และการใช้ภูมิทัศน์เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Landscape Mitigation) จากผลการศึกษาพบว่า โรงไฟฟ้ารุ่นเก่าของการไฟฟ้าฯ คือ โรงไฟฟ้าบางปะกงและพระนครใต้จะมีสัดส่วนของกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ที่สูงกว่าโรงไฟฟ้ารุ่นใหม่ และโรงไฟฟ้าเอกชน และมีการนำเอาภูมิทัศน์เข้าช่วยในการลดผลกระทบน้อย ต่างจากโรงไฟฟ้าเอกชนที่มีสัดส่วนของกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ที่ต่ำ รวมทั้งมีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่มากกว่า มีการใช้ภูมิทัศน์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง จึงทำให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า โดยการวางผังทั่วๆไปแบ่งเกณฑ์ในการพิจารณาออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1)ควรการเลือกที่ตั้งโครงการที่ติดถนนหรือติดแหล่งน้ำ 2)การใช้ที่ดินภายในโครงการที่แบ่งออกเป็น ส่วนสำนักงานและส่วนตัวโรงไฟฟ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มตัวโรงไฟฟ้า กลุ่มอาคารประกอบสำหรับโรงไฟฟ้า กลุ่มอาคารประกอบทั่วไปและกลุ่มงานระบบส่ง ที่วางเรียงตัวกันตามกระบวนการผลิต 3) เส้นทางสัญจรควรมีถนนหลักเข้าถึงกลุ่มอาคารสำคัญของโรงไฟ ฟ้าและมีถนนย่อยที่แจกไปทุกพื้นที่ในโครงการ ส่วนทางเดินเท้ามีเฉพาะตามแนวถนนหลัก 4)ควรมีพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการ เพื่อความสวยงาม ความร่มรื่นกับพื้นที่ และเพื่อใช้ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่โครงการ ในเรื่องของ การป้องกันการกระจายตัวของฝุ่นละอองก๊าซและเสียง และผลกระทบทางสายตา การสร้างแนวป้องกันลม ที่ใช้ต้นไม้ และเนินดิน ควร มีการบำบัดน้ำเสีย และลดอุณหภูมิของน้ำก่อนปล่อยออกสู่ลำน้ำสาธารณะอย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น. | en |
dc.description.abstractalternative | In a Combined Cycle Power Plant(CCPP), a gas Turbine generator generates electricity and the waste heat is used to make steam to generate additional electricity via a steam turbine. Nowadays, CCPP is more popular because its consumes less construction time, has lower cost of production, and higher efficiency. However, building a power plant always causes disagreement and protest against its from the surrounding communities who seriously concerning about the environmental impacts and their quality of life. No matter how hard the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) has shown its effort to reduce environmental impacts, the protest still always occurs. Perhaps, the problems caused by the physical image of the power plant which has very industrial look, together with its site design and planning which more favor in production efficiency than environmental friendliness. The objective of this study is to set a site plan of CCPP to gain eco-friendly images by exploring the site plans of the three EGAT’s CCPP, which are the Bangpakong power plant, the Wang noi Power plant, and the South Bangkok Power plant in comparison with Rachaburi power plants. The Rachaburi is a private power plants that was awarded the best environmental management, therefore its is used as the successful case in this study, in order to figure out the environmental friendliness image through its site design and planning. This study discovers that, the old CCPP of EGAT which are Bangpakong and South Bangkok have their ratio of production capacity per unit area much higher than the new one and private power plant., which always include landscape mitigation in their site planning. In general, the combined power plant should has 4 issues in site planning which are 1) Each plant should be located nearby roadways or water supplies 2) Land use within the project should be divided into two zones which are an office zone and a plant zone. The plant zone consists of a power plant unit, power plant buildings, general building and transmission system units which are all connected as a whole generation process. 3) The main building should be accessed from the main road while the minor road accesses to every areas of the project. The footpath is only sided along the main road 4) Each plant should has green areas for providing shade, cool temperature, recreation, decoration, and mitigation of the environmental impacts such as; control the dispersion of dust and gas, reduce noise and visual impact, and wind barrier by using trees, lawn, mounds, lake and wetland. The waste water should be treated and water temperature should be reduced before discharge into natural water way. | en |
dc.format.extent | 34994396 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.136 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การวางผังโรงงาน | en |
dc.subject | โรงไฟฟ้า -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.subject | ภูมิทัศน์ | en |
dc.title | แนวทางการใช้ภูมิทัศน์เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการออกแบบวางผังโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม | en |
dc.title.alternative | Landscape mitigation guidelines for site design and planning of combined cycle power plant | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภูมิสถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | angsana.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.136 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chitapa_Wo.pdf | 34.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.