Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15674
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ-
dc.contributor.authorปราณระฟ้า พรหมประวัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2011-08-15T07:35:18Z-
dc.date.available2011-08-15T07:35:18Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15674-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนย่านเสาชิงช้า มีรูปทรงและการจัดวางตัวที่แตกต่างหลากหลาย และส่วนมากมีลักษณะเป็นพื้นที่ที่ถูกโอบล้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง หรือเกาะตัวเป็นแนวยาวไปตามทางสัญจร ซึ่งจะส่งผลให้คนเดินเท้าในพื้นที่นั้นๆ มีทัศนียภาพในการมองเห็น หรือ “สนามทัศน์” ที่แตกต่างกัน โดยสนามทัศน์ที่แตกต่างกันนี้ จะส่งผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการสัญจร และการจับจองพื้นที่ของคนเดินเท้า (Benedikt, 1976) กล่าวคือ พื้นที่ที่มีสนามทัศน์กว้างมากมีแนวโน้มที่จะดึงดูดกิจกรรมหลากหลายประเภทของคนเดินเท้าหลากหลายกลุ่ม ในหลากหลายช่วงเวลา หรือเป็นพื้นที่ที่มีระดับ “ความเป็นอเนกประโยชน์” มาก และในทางกลับกัน พื้นที่ที่มีสนามทัศน์แคบหรือจำกัดก็จะสามารถดึงดูดกิจกรรมของคนเดินเท้าได้ลดน้อยลง หรือหรือเป็นพื้นที่ที่มีระดับ “ความเป็นอเนกประโยชน์” น้อยด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแนวคิดดังกล่าวของ Benedikt กับพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนเมือง โดยมีกรณีศึกษาคือชุมชนย่านเสาชิงช้าในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ โดยสร้างแผนที่การบันทึกรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างเป็นระบบ ในวัน และช่วงเวลาต่างๆ เปรียบเทียบกับแผนที่การวิเคราะห์ศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึง (สนามทัศน์) ของพื้นที่ว่างสาธารณะ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่มีสนามทัศน์ในระดับต่างๆ กับระดับความเป็นอเนกประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณสนามทัศน์ไม่ได้สัมพันธ์กับระดับความเป็นอเนกประโยชน์ในพื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนย่านเสาชิงช้าเสมอไป ในรายละเอียดพบว่า ถึงกลุ่มคนเดินเท้าที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ เช่น นักท่องเที่ยว ยังต้องพึ่งพาสนามทัศน์ในการทำความเข้าใจในพื้นที่เพื่อการสัญจรหรือทำกิจกรรม ดังจะพบคนกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณสนามทัศน์มาก แต่กลุ่มคนเดินเท้าที่คุ้นเคยกับพื้นที่อยู่แล้ว เช่น ชาวชุมชน หรือ คนทำงานประจำนั้น ไม่ได้พึ่งพาสนามทัศน์ในการเดินทางหรือทำกิจกรรม แต่มักเลือกใช้พื้นที่หรือเส้นทางลัดที่เป็นตรอกซอกซอยในการสัญจรหรือจับจองทำกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีสนามทัศน์ที่แคบและจำกัด พื้นที่บางบริเวณซึ่งเป็นพื้นที่ในเชิงสัญลักษณ์ของเมือง เช่น ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ลักษณะของพื้นที่เช่นนี้ จะมีสนามทัศน์ที่กว้างมาก แต่กลับมีระดับความเป็นอเนกประโยชน์ต่ำมาก เนื่องจากโล่งและร้อนเกินไป และยังถูกโอบล้อมด้วยถนนถึง 4 ด้าน หรือแม้แต่พื้นที่ภายในชุมชนสำคัญ เช่นชุมชนราชบพิธพัฒนา ที่มีสนามทัศน์แคบมาก แต่กลับมีระดับความเป็นอเนกประโยชน์สูงในบางช่วงเวลา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของตลาดกลางแจ้ง เมื่อประมวลกับข้อมูลด้านประโยชน์การใช้ที่ดิน อาคาร และประเภทของพื้นที่ว่างที่แบ่งตามลักษณะเชิงสัณฐาน สรุปได้ว่า พื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนย่านเสาชิงช้าที่เป็นที่นิยมนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึงแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีคุณภาพเชิงภูมิทัศน์ เช่น ร่มเงา และมีกิจกรรมหมุนเวียน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายอาหารและเครื่องดื่ม มีความต่อเนื่องของทางเดินเท้าไปยังหลายๆ พื้นที่ได้อย่างสะดวกด้วยen
dc.description.abstractalternativeMost public open spaces in Saochingcha District community are enclosed by built structures or attached along transportation lines and have various and different spatial configuration and organization characteristics. This discrepancy differently affects the pedestrians’ visual potentials or ‘isovist fields’ which would also subsequently influence different moving and static activity patterns (Benedikt, 1976). That is, the area with a vast isovist field has a potential to attract multi-types of pedestrian and activity in various periods of time while on the contrary, the area with a smaller isovist field attracts the less ‘mix’. This study aims to test Benedikt’s idea by using public open spaces in Saochingcha District community, an urban community as a case study. This is carried out by creating systematic space use pattern maps, comparing with isovist field maps to analyse their interrelationship. The analytical result shows that isovist fields do not always relate to the levels of mix-use. Detailed findings reveal that although the ‘outsiders’ or those who are not familiar with the area such as tourists rely on isovist fields for their wayfindings, the ‘insiders’ such as local dwellers and workers rather opt for ‘shortcuts’ to go about the area despite having much confined isovist fields. An important area which functions as the civic landmark such as the Civic Ground in front of Bangkok Metropolitan Office has a very vast isovist field but very low level of mix-use. This is because the Ground is too much exposed and heated and also circled by heavy traffic routes. Another area within an important community such as Rachabopit Pattana community has a very confined isovist field but a high level of space use in some certain periods of time because of its outdoor market. Synthesizing with the data on the area’s land use and building use patterns as well as the spatial typology of its public open spaces, the findings can be summarized that successful and popular public open spaces in Saochingcha District community should not only have high potential of sight and access but also other landscape qualities such as shadings and temporary activities, especially those of food vendors, and also potential to efficiently connect to other areas.en
dc.format.extent15362626 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.196-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพื้นที่สาธารณะen
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมืองen
dc.titleสนามทัศนะและรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนเมือง : กรณีศึกษา ชุมชนย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeIsovist fields and public open space use patterns of urban community : a case study of Saochingcha district community, Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังชุมชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKhaisri.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.196-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranrafa_Ph.pdf15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.