Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15687
Title: การสัมผัสก๊าซดมยาที่ปนเปื้อนในบรรยากาศของบุคลากรทางการแพทย์ภายในห้องผ่าตัด
Other Titles: Occupational exposure to waste anesthetic gases in operating room
Authors: รัฐนุกุล วชิรนพ
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
สรันยา เฮงพระพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: bsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th
Sarunya.H@Chula.ac.th
Subjects: ยาระงับความรู้สึก
บุคลากรห้องผ่าตัด
บุคลากรทางการแพทย์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเข้มข้นของก๊าซดมยาที่ปนเปื้อนภายในห้องผ่าตัดที่มีระบบกำจัดก๊าซทิ้งที่แตกต่างกัน ศึกษาถึงความเข้มข้นของก๊าซดมยาในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับสัมผัสขณะปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของก๊าซดมยาที่ปนเปื้อนภายในห้องผ่าตัดกับความเข้มข้นของก๊าซดมยาในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับสัมผัสขณะปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ ประกอบด้วย วิสัญญีแพทย์จำนวน 17 คน พยาบาลวิสัญญีจำนวน 19 คน ผู้ช่วยพยาบาลวิสัญญีจำนวน 15 คน ห้องผ่าตัดซึ่งมีความแตกต่างกันของระบบกำจัดก๊าซทิ้งจำนวน 20 ห้อง แบ่งเป็นระบบกำจัดก๊าซทิ้งแบบใช้เครื่องดูดอากาศจำนวน 16 ห้อง และแบบไม่ใช้เครื่องดูดอากาศจำนวน 4 ห้อง โดยเก็บข้อมูลความเข้มข้นของก๊าซดมยาในอากาศโดยใช้เครื่อง MIRAN SAPPHIRE รุ่น205B-ML1A35 และเก็บข้อมูลความเข้มข้นของก๊าซดมยาที่บุคลากรทางการแพทย์ได้รับสัมผัสโดยใช้ Passive Sampler รุ่น 575 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึง เดือนเมษายน 2550 ผลการทดลองพบว่า ระดับความเข้มข้นของไนตรัสออกไซในห้องผ่าตัด อยู่ในช่วง 0-510.70 ppm. และห้องผ่าตัดจำนวนสี่ห้องเท่านั้นที่มีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่าความเข้มข้นของไอโซฟลูเรนในห้องผ่าตัดมีค่าระหว่าง 0.22-18.60 ppm. และห้องผ่าตัดจำนวน 10 ห้องเท่านั้นที่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ปริมาณการรับสัมผัสสารไอโซฟูเรนที่ตรวจวัดโดย passive samplers พบว่าค่าเฉลี่ยของความเข้มข้น คือ 64.85 ม.ก./ลิตร ผลสรุปของการวิจัยพบว่า ระบบกำจัดก๊าซทิ้งแบบใช้เครื่องดูดอากาศที่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลประดิษฐ์ขึ้นเองสามารถกำจัดก๊าซไนตรัสออกไซด์และก๊าซไอโซฟูเรนได้ดีที่สุดและ การได้รับสัมผัสก๊าซดมยาในบุคลากรทางการแพทย์มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของก๊าซดมยาภายในห้องผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This research aims to investigate occupational exposure to waste anesthetic gases in operating rooms in Chulalongkorn Memorial Hospital. The objectives are threefold: (1) to study the N[subscript 2]O in the air covered 20 operating rooms equipped with different anesthetic scavenging systems. (2) To study the concentration of exposure to waste anesthetic gases in the operating room workers. (3) To study the relationship between the concentrations of waste anesthetic gases in the operating rooms and in the operating room workers. The research was carried out on samples of 17 anesthetists, 19 nurse anesthetists and 15 nurse anesthetist assistances. The operating rooms equipped with different anesthetic scavenging systems were divided into two groups, 16 operating rooms equipped the vacuum and four operating rooms without the vacuum. Mixed methodology of literature review, questionnaire survey and environmental monitoring by use miran sapphire model 205b- ml1a35 and passive sampler series 575 to conduct the concentration of exposure to waste anesthetic gases in the operating room workers. The sampling was conduct between November 2005 and April 2007. Results indicated that the ranges of the Nitrous Oxide concentration in the operating rooms for these experiments were between 0-510.70 ppm. It showed only four operating rooms correspond to standard. The isoflurane concentrations in the operating rooms were between 0.22-18.60 ppm. It showed only 10 operating rooms correspond to standard. Individual exposure was assessed through passive samplers’ isoflurane concentration. It showed the averaged of isoflurane concentration was 64.85 mg/l. In conclusion, The anesthetic scavenging systems equipped the vacuum, which were invented by workers in the hospital, is the best to eliminate Nitrous Oxide and Isoflurane. This study showed relation between concentration of exposure to waste anesthetic gases and the concentration of waste anesthetic gases in the operating rooms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15687
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.483
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratnukun_Wa.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.