Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15691
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิศาชล ตั้งเสงี่ยมวิสัย-
dc.contributor.authorรัฐพล ทูลแสงงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-08-15T10:35:44Z-
dc.date.available2011-08-15T10:35:44Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15691-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractระบบการสื่อสารทางเสียงแบบแฮนด์ฟรีถูกพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยอุปกรณ์สื่อสารปลายทาง ซึ่งได้แก่ ลำโพงและไมโครโฟนจะถูกติดตั้งไว้ ณ บริเวณที่ต้องการทำการสนทนาแทนหูโทรศัพท์ในระบบการสื่อสารแบบเดิม โครงสร้างเช่นนี้นำมาซึ่งปัญหาเสียงก่อกวนที่ถูกพิจารณาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้สองชนิด ได้แก่ เสียงสะท้อนและเสียงรบกวน ดังนั้นวิธีการที่สามารถลดปริมาณเสียงก่อกวนทั้งสองลงได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการสื่อสารทางเสียงแบบแฮนด์ฟรี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการลดเสียงสะท้อนและเสียงรบกวนที่ขึ้นกับเทคนิคการกดทางสเปกตรัม ซึ่งมีความซับซ้อนในการคำนวณต่ำ เหมาะสำหรับงานประยุกต์เช่นระบบการสื่อสารแบบแฮนด์ฟรี โดยเสนอขั้นตอนการปรับปรุงการประมาณค่าความหนาแน่นสเปกตรัมกำลังเสียงสะท้อนที่อาศัยหลักการของการหักล้างเสียงสะท้อน นอกจากนี้ยังได้ทำการพัฒนาวิธีการประมาณค่าอัตราส่วนสัญญาณต่อสัญญาณก่อกวนก่อนประสบ (a priori SDR) ในส่วนของเทคนิคการกดทางสเปกตรัม โดยทั้งนี้สมการช่วงเปลี่ยนที่นิยามขึ้นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และออกแบบการประมาณค่า a priori SDR ดังกล่าว ผลการทดลองเชิงปริวิสัยจากการจำลองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถลดเสียงสะท้อนลงในปริมาณที่มากกว่าวิธีการเดิม นอกจากนี้ผลการทดลองทั้งเชิงปริวิสัย และเชิงอัตวิสัย ยังชี้ให้เห็นอีกว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถลดผลของความผิดเพี้ยนของเสียงพูดลงจากวิธีการลดเสียงสะท้อนและเสียงรบกวนที่ขึ้นกับเทคนิคการกดทางสเปกตรัมแบบเดิมได้en
dc.description.abstractalternativeHands-free communication systems have been designed by considering mainly on “comfortable” use. A hands-free terminal comprising of a loudspeaker and a microphone set up around the conversation area is used instead of a conventional telephone terminal or a handset. This structure, however, brings about two kinds of disturbances namely acoustic echo and noise, which will be considered in this thesis. Hence, an approach to alleviate these problems is necessary for hands-free communication systems. In this thesis, the proposed acoustic echo and noise reduction technique is based upon the spectral suppression method, which gives low computational complexity. Thus, it is suitable for hands-free communication systems. An echo power spectral density (EPSD) estimation using a principle of acoustic echo cancellation (AEC) has been introduced. In addition, a priori signal-to-disturbance ratio (SDR) estimation has been developed via the use of transition equation analysis. Experiments carried out using computer simulations show that the proposed technique not only gives higher echo attenuation but also reduces speech distortion as compared to the conventional technique.en
dc.format.extent7089529 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.168-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเสียงรบกวนen
dc.subjectการบีบอัดสัญญาณเสียงสะท้อน (โทรคมนาคม)en
dc.titleเทคนิคการลดเสียงสะท้อนและเสียงรบกวนสำหรับระบบสื่อสารแบบแฮนด์ฟรีen
dc.title.alternativeAcoustic echo and noise reduction techniques for hands-free communication systemsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNisachon.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.168-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattapol_Th.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.