Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15722
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ | - |
dc.contributor.author | ชนันต์ แสงสีดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-08-17T13:46:53Z | - |
dc.date.available | 2011-08-17T13:46:53Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15722 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ. ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในอนาคต ที่จะพบกับอุบัติการณ์การเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันโรคสมองเสื่อมแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระยะการดำเนินอาการของโรค ได้แก่ กลุ่มระยะแรก กลุ่มระยะกลาง และกลุ่มระยะสุดท้าย โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพสังคมเศรษฐกิจ การอยู่อาศัยและปัญหาการอยอาศัยของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ในรูปแบบที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ใช้การเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกต จดบันทึก และถ่ายภาพ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุต่อไป จากการศึกษาด้านสังคมของผู้พบว่า ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน พฤติกรรม ได้แก่ ชอบเก็บตัว และทำกิจกรรมของตนอยู่ตามลำพัง ทำให้ผู้สูงอายุมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมลดลงเรื่อยๆ ตามระยะการดำเนินอาการของโรค ส่วนในด้านเศรษฐกิจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และค่าจ้างผู้ดูแล เฉลี่ยเดือนละประมาณ 15,000-20,000 บาท ซึ่งเพียงพอกับรายได้ครัวเรือน โดยรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากญาติของผู้สูงอายุ จากการศึกษาด้านสภาพการอยู่อาศัย ตามการแบ่งกลุ่มตามระยะดำเนินอาการของโรคพบว่า กลุ่มระยะแรก ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติไม่มีปัญหาการอยู่อาศัย กลุ่มระยะกลางผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมการอยู่อาศัย ได้แก่ หลงลืม ซุกซ่อนสิ่งของ ก้าวร้าว และเดินวกวนไปมา ทำให้เกิดปัญหาการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ได้แก่ การเดินหลงออกจากบ้าน การวางเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของขวางทางเดิน การซุกซ่อนสิ่งของตามที่ต่างๆ และการรื้อค้นสิ่งของ ส่วนในกลุ่มระยะสุดท้ายผู้สูงอายุจะเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง ส่งผลให้มีการใช้พื้นที่ภายในที่อยู่อาศัยลดลง โดยพบว่าผู้สูงอายุมีการใช้พื้นที่ห้องนอน และห้องและห้องน้ำมากที่สุด รองลงมาได้แก่ พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่น ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่อยู่สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม พิจารณาตามระยะการดำเนินอาการของโรค แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ในกลุ่มระยะแรกและกลุ่มระยะกลาง ควรส่งเสริมให้มีการปรับปรุง พื้นที่ใช้สอยต่างๆ ภายในที่อยู่อาศัย ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร และสวนภายนอก โดยการจัดพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมฝึกความจำต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ดูรูปภาพ เล่นเกมส์ลูบิค ถัก ลิตติ่ง และการสวดมนต์ไหว้พระ ส่วนในกลุ่มระยะสุดท้าย ควรส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยในห้องนอนและห้องน้ำ โดยการขยายขนาดพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการดูแลของผู้ดูแลจำนวน 2-3 คน และควรติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวย ความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุได้แก่ ราวจับพยุงตัว ที่นั่งอาบน้ำ และเก้าอี้นั่งพักผ่อน เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถให้ความ ช่วยเหลือผู้สูงอายุได้สะดวกมากขึ้น. | en |
dc.description.abstractalternative | The World Health Organization has been concerned about the increasing number of elderly who are afflicted by dementia. Dementia can be divided into 3 groups according to the progression of the disease: the initial stage, the middle stage and the final stage. The objective of this study was to investigate the social conditions, economic conditions, living conditions and living problems of the elderly with dementia who live in the detached houses. The data were collected by interviewing the subjects, surveying their living conditions and taking photographs. The data were analyzed based on related theories to suggest ways to improve their living conditions. It was found that the elderly living with dementia liked to keep to themselves and did not want to participate in social activities; as a result, they lost their ability to interact with others as the disease progressed. On average, about 15,000-20,000 baht a month was spent on taking care of the elderly, which covered medical expenses, transportation, food, household expenses and a care assistant. Most of the income was from elder relatives. The initial-stage elderly patients could perform their daily living activities which did not affect their living conditions. The middle-stage elderly patients were forgetful and aggressive, hid things and walked to and fro, causing problems; for example, they got lost when they walked out of the house, left things in the way and created disorder. The final-stage elderly patients could hardly move so they used less space. The elderly patients spent most of their time in the bedroom and bathroom, followed by the dining area and the living room. It is suggested that the living conditions of elder dementia patients should be adapted to accommodate the initial, middle and final stages of dementia. As for the initial-stage and the middle-stage elderly patients, the bedroom, bathroom, living room, dining area and garden should be modified so that there is space for the patients to perform activities which can help revive their memory such as reading, writing, looking at pictures, solving puzzles, knitting and reciting prayers. As for the final-stage elderly patients, the bedroom and the bathroom should be expanded so that they can accommodate an elderly patient and 2-3 care assistants. In addition, facilities such as rails for supporting the patient when they get up or move around, a chair in the bathroom and additional chairs should be provided so that care assistants can better help the patient. | en |
dc.format.extent | 6333475 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.222 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย | en |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแล | en |
dc.title | สภาพการอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม : กรณีศึกษาสมาชิกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Living condition of elderly with dementia at home : a case study of the Alzheimer's Disease and Disorder Association Elderly, Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เคหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Trirat.J@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.222 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanan_Sa.pdf | 6.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.