Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorสมหญิง หาญธงชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-08-24-
dc.date.available2011-08-24-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15768-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของเจ้าหน้าที่ชายในโรงพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร อันได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรค กระดูกพรุน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน อิทธิพลระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ ของ Pender เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ชายในโรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 40-59 ปี จำนวน 242 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้โรคกระดูกพรุน แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบสอบถามอิทธิพลระหว่างบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้โรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับต่ำ (X-bar = 0.59, SD = 0.14) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับดี (X-bar = 3.88, SD = 0.47) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับพอใช้ (X-bar = 3.51, SD = 0.59) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับดี (X-bar = 3.50, SD = 0.66) การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับดี (X-bar = 3.49, SD = 0.57) และพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของเจ้าหน้าที่ชายในโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X-bar = 1.14, SD = 0.26) 2. ความรู้โรคกระดูกพรุน การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน การรับรู้ อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับทางบวกกับ พฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .35, .26, .28, .33 และ .26 ตามลำดับ)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive correlational study was to examine the osteoporosis preventing behavior in male hospital workers and the relationships between knowledge of osteoporosis, perceived benefits, perceived barriers, perceived selfefficacy, interpersonal influences, and osteoporosis preventing behavior of male hospital workers. Pender Health Promotion Model was used as the theoretical framework of this study. Using multi-stage sampling technique, the participants were 242 men working in the hospitals under the Bangkok Metropolitan Administration. The research instruments consisted of knowledge of osteoporosis questionnaire, perceived benefits of performing osteoporosis preventing behavior questionnaire, perceived barriers questionnaire, perceived self-efficacy questionnaire, interpersonal influences questionnaire and osteoporosis preventing behavior. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product moment correlation. The results of this study were presented as follows: 1. Osteoporosis knowledge level of the participants was low (X-bar = 0.59, SD = 0.14). The participants also reported good level of perceived benefits of performing osteoporosis preventing behavior (X-bar = 3.88, SD =0.47), good level of perceived self-efficacy, (X-bar = 3.50, SD = 0.66), good level of interpersonal influences (X-bar = 3.49, SD = 0.57), but reported fair level of perceived barriers (X-bar = 3.51, SD = 0.59). Overall, osteoporosis preventing behavior of the participants was moderate (X-bar = 22.82, SD = 0.26). 2. Knowledge of osteoporosis, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, and interpersonal influences were significantly correlated with osteoporosis preventing behavior (p< .01; r = .35, .26, .28, .33 and .26 respectively).en
dc.format.extent1636409 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.948-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระดูกพรุนen
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของเจ้าหน้าที่ชายในโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeSelected factors related to osteoprosis preventing behavior of male hospital workersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.948-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somying_Ha.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.