Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15816
Title: | ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและผลกระทบของรายได้ครัวเรือน |
Other Titles: | Income tax incidence and impact of household income |
Authors: | ลักษิกา วรรณจิตจรูญ |
Advisors: | ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chairat.A@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายได้ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ข้อหลักๆ ด้วยกัน โดยในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาระภาษีเฉลี่ยของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือจำแนกตามกลุ่มรายได้ จำแนกออกตามภูมิภาค และสุดท้ายจะจำแนกออกตามกลุ่มอาชีพ หลังจากนั้นในส่วนที่สองจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง รายได้ที่เป็นตัวเงินของครัวเรือนที่ส่งผลต่อภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อนำไปสู่การหาความยืดหยุ่น โดยใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี พ.ศ. 2531 2533 2545 และสุดท้ายคือปี พ.ศ. 2547 และใช้ Pooled cross section tobit regression model เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉลี่ย จะไม่แตกต่างกับงานในอดีตที่ผ่านมา กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มรายได้พบว่า ภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีโครงสร้างก้าวหน้า กลุ่มรายได้สูงจะมีภาระภาษีเฉลี่ยสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มรายได้น้อย ส่วนสำหรับการจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครและภาคกลาง จะมีการรับภาระภาษีเฉลี่ยสูง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเป็นภาคที่มีภาระภาษีเฉลี่ยต่ำที่สุด สำหรับการจำแนกตามกลุ่มอาชีพจะพบว่า กลุ่มอาชีพลูกจ้างวิชาชีพจะมีภาระภาษีเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือลูกจ้างทั่วไป และเกษตรกรเป็นกลุ่มอาชีพที่มีภาระภาษีเฉลี่ยต่ำที่สุด สำหรับในส่วนที่สองจะพบว่า ความยืดหยุ่นของปี พ.ศ. 2547 มีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2531 โดยเมื่อจำแนกตามกลุ่มรายได้พบว่า กลุ่มรายได้ปานกลางจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากที่สุด และกลุ่มรายได้สูงจะได้รับประโยชน์น้อยที่สุด ต่อมาเมื่อจำแนกตามภูมิภาคพบว่า กรุงเทพมหานครจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าวมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคกลาง และสุดท้ายคือภาคใต้ และสุดท้ายเมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่า กลุ่มอาชีพลูกจ้างวิชาชีพจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงที่สุด รองลงมาคือลูกจ้างทั่วไป และสุดท้ายคือผู้ประกอบการที่จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวน้อยที่สุด |
Other Abstract: | In this study, there are two main objectives. The first objective is to study the average tax rates classified by income, region and occupation. The second objective is to study the impact of household income on income tax payment in order to find tax elasticities. The study uses data from Socio-Economic Survey (SES) in 1988, 1990, 2002 and 2004. In addition, the pooled cross section Tobit regression model is applied as a main method for the analysis. The study finds that the average tax rates (ATR) classified by income, region and occupation are similar to the research in this area; that is, the personal income tax system is progressive. In terms of income, the high income group has a higher ATR when compared to the lower income group. In terms of region, Bangkok and Central have higher ATR’s, while the northeast has the lowest ATR. In terms of occupation, skilled labor has the highest ATR; next is unskilled labor while agriculturist has the lowest ATR. Moreover, the study finds that tax elasticities in 2007 tend to decrease when compared to those in 1988. In terms of income, the group that benefits most from income structural change is the middle income group; next is the high income group; the poor benefits least over 16 years. In terms of region, Bangkok benefits most, next are Central and South in descending order. In terms of occupation, the skilled labor benefits the most; next is the unskilled labor. Entrepreneur benefits least from the income tax structure change. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15816 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1462 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1462 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lucksiga_Wa.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.