Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15850
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยเชษฐ์ สายวิจิตร-
dc.contributor.advisorวสันต์ ภัทรอธิคม-
dc.contributor.authorพัชรี ไพสิฐธนากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-11T13:04:44Z-
dc.date.available2011-09-11T13:04:44Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15850-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเดินทางและอัตราการเข้าครอบครองเชิงเวลาสามารถ แบ่งออกเป็น 3 สภาวะ ได้แก่ คล่องตัว หนาแน่นปานกลาง และคับคั่ง สอดคล้องกับหลักการ พื้นฐานการไหลของจราจร ดังนั้นงานวิจัยในอดีตจึงได้นำเสนอวิธีการประมาณระยะเวลาการเดินทางโดยอาศัยค่าอัตราการเข้าครอบครองเชิงเวลาแบบแบ่งส่วนอย่างเชิงเส้นตรง ออกเป็น 3 ส่วน ตามการจำแนกสภาวะการจราจร โดยแต่ละสภาวะจะมีค่าขอบเขตของอัตราการเข้า ครอบครองเชิงเวลาที่ต่างๆกัน วิธีการนี้ได้ให้ค่าคลาดเคลื่อนของการประมาณค่อนข้างสูง เพราะ ความสัมพันธ์ที่แท้จริง มิได้เป็นเพียงเชิงเส้นตรงเท่านั้น ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงนำเสนอวิธีการเพิ่มความถูกต้องของการประมาณ ระยะเวลา การเดินทางให้มากขึ้นจากวิธีดั้งเดิม โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ในลักษณะไม่เป็นเชิงเส้นตรง อัน เนื่องมาจาก เหตุการณ์ก่อนหน้า ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการเดินทางใน ช่วงเวลาปัจจุบัน ทำให้มีความล่าช้า กว่าการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการเข้าครอบครองเชิงเวลา จึงได้นำเสนอ การแบ่งแยกการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรออกเป็น 8 รูปแบบ สภาวะ ที่ต่างๆกัน โดยแต่ละรูปแบบ จะเป็นการจำลองสถานการณ์ที่คำนึงถึงเหตุการณ์ก่อนหน้า ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การประมาณระยะเวลาการเดินทาง มีความถูกต้อง และสอดคล้องกับทิศ ทางการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาการเดินทางที่เกิดขึ้นจริง ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ในการประมาณระยะเวลาการเดินทางสำหรับสภาวะ การจราจรคับคั่งนั้น การประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีที่นำเสนอจะให้ค่าคลาดเคลื่อนที่สูง เพราะเป็น สภาวะที่มีปริมาณยานพาหนะคับคั่ง จนกระทั่งเกินจุดที่ตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดค่าอัตราการเข้า ครอบครองเชิงเวลา อุปกรณ์ตรวจวัดจึงขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สำหรับ 7 สภาวะที่เหลือนั้น ระเบียบวิธีที่นำเสนอ สามารถเพิ่มความถูกต้องของการประมาณ ระยะเวลาการเดินทางให้ดียิ่งขึ้นจากระเบียบวิธีดั้งเดิมได้เป็นอย่างดีen
dc.description.abstractalternativeA methodology to estimate travel time with acceptable accuracy in urban environment is proposed. In this study, the traffic states which were used in modeling were classified into three states; free flow state, saturated flow state and over-saturated flow state. These states were defined based on time-occupancy value. However, this travel time estimation model based on time-occupancy alone is not sufficient to estimate accurately by applying only linear regression method. Therefore, in this thesis, the accuracy improvement of travel time estimation will be investigated by considering the nonlinear relationship between travel time and time occupancy. This is because the previous period has residual effects on the changes of travel time in the current period. For this reason, this thesis proposed 8-separate schemes which each scheme can capture the behavior of travel-time changes affected from the previous state to the current state. The results show that travel-time estimation using our proposed scheme in oversaturated state still has a high estimation error. This is because our ability to accurately estimate travel-time is limited when queues grow beyond a detector’s capability. However, other proposed schemes can greatly improve the accuracy of travel-time estimation.en
dc.format.extent3384003 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1069-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจราจรen
dc.subjectเศรษฐมิติ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์en
dc.subjectความเร็วทางการจราจรen
dc.subjectการวิเคราะห์อนุกรมเวลาen
dc.titleการเพิ่มความถูกต้องในการประมาณระยะเวลาการเดินทางจากข้อมูลอัตราส่วนการครอบครองพื้นที่เชิงเวลาสำหรับถนนในเมืองen
dc.title.alternativeAccuracy improvement of travel time estimation in urban environment using time-occupancyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchaiyachet.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1069-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patcharee_pa.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.