Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15858
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราโมทย์ เดชะอำไพ | - |
dc.contributor.author | กอบศักดิ์ พจนานภาศิริ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-09-14T09:49:26Z | - |
dc.date.available | 2011-09-14T09:49:26Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15858 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาการวิเคราะห์ปัญหารอยร้าวภายใต้สภาวะความเค้นในระนาบความเครียดในระนาบและปัญหาสมมาตรรอบแกนด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์เจอินทิกรัล ในการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์เจอิทินกรัลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์รอยร้าวได้ใช้ระเบียบวิธีโดเมนอินทิกรัลซึ่งสมการค่าพารามิเตอร์เจอินทิกรัลได้ถูกเปลี่ยนจากรูปการอินทิเกรตบนเส้นมาอยู่ในรูปการอินทิเกรตบนพื้นที่โดเมนใด ๆ รอบปลายรอยร้าว เอลิเมนต์ที่ใช้ในแบบจำลองประกอบด้วยเอลิเมนต์ที่ปลายรอยร้าวซึ่งเป็นเอลิเมนต์สี่เหลี่ยมเก้าจุดต่อที่ด้านหนึ่งของเอลิเมนต์ถูกยุบมารวมกันที่ตำแหน่งปลายรอยร้าวและเอลิเมนต์ในบริเวณอื่นซึ่งเป็นเอลิเมนต์แบบสามเหลี่ยมหกจุดต่อทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้นำเทคนิคการปรับขนาดเอลิเมนต์โดยอัตโนมัติและเทคนิคการถ่ายทอดผลเฉลยมาใช้เพื่อให้ผลการคำนวณที่ได้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยเทคนิคการปรับขนาดเอลิเมนต์โดยอัตโนมัติทำการสร้างเอลิเมนต์ขนาดเล็กในบริเวณที่ค่าอนุพันธ์อันดับสองของค่าความเค้นวอนมิสเซสมีค่าสูงในขณะเดียวกันก็สร้างเอลิเมนต์ขนาดใหญ่ในบริเวณที่ค่าอนุพันธ์อันดับสองของค่าความเค้นวอนมิสเซสมีค่าต่ำ สำหรับเทคนิคการถ่ายทอดผลเฉลยนั้นทำการถ่ายทอดผลเฉลยค่าการเคลื่อนตัวที่จุดต่อจากโครงตาข่ายก่อนการปรับขนาดเอลิเมนต์ไปสู่จุดต่อต่างๆ ในโครงตาข่ายที่ทำการปรับขนาดเอลิเมนต์แล้วเพื่อให้การคำนวณสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มใหม่ที่ระดับภาระเริ่มต้นทุกครั้งหลังการปรับขนาดเอลิเมนต์ การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น ทำโดยการเปรียบเทียบผลการคำนวณค่าพารามิเตอร์เจอินทริกรัลที่ได้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นกับผลลัพธ์จากงานวิจัยอื่นๆ ที่มีสำหรับปัญหาเดียวกันโดยผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ที่มีการประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับขนาดเอลิเมนต์โดยอัตโนมัติพร้อมกับการถ่ายทอดผลเฉลยในการคำนวณค่าพารามิเตอร์เจอินทิกรัลได้เป็นอย่างดี | en |
dc.description.abstractalternative | A finite element method for two-dimensional crack problems under plane stress, plane strain and axisymmetric conditions is presented. A corresponding finite element computer program has been developed to estimate the J-integral parameter. The domain integral method, for which the J-integral expression has been changed from a line-integral expression into a domain form, is utilized as the J-integral solution scheme. The 6-node triangular element mesh is enhanced by 9-node degenerated elements as crack tip elements. The adaptive remeshing technique is implemented for automatically generating small elements in the regions where large changes in the von Mises stress gradients occur. At the same time, larger elements are generated in the other regions where the stress is nearly uniform. After the new refined mesh has been generated in a load level, a solution mapping scheme is employed to transfer the old-mesh displacement fields onto those of the new mesh to provide good initial fields for the new load level. The finite element computer program was verified by calculating the J-integral of many benchmark examples of which the solutions are presented in the literature. The results have demonstrated that the combined domain integral and finite element method with adaptive remeshing technique and solution mapping scheme is efficient in determining the J-integral. | en |
dc.format.extent | 2306312 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การแตกร้าว | en |
dc.subject | ไฟไนต์เอลิเมนต์ | en |
dc.title | ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ชนิดปรับขนาดได้สำหรับกลศาสตร์การแตกหักแบบอิลาสติก-พลาสติก | en |
dc.title.alternative | Adaptive finite element method for elastic-plastic fracture mechanics | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเครื่องกล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fmepdc@eng.chula.ac.th, Pramote.D@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kobsak_Po.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.