Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์-
dc.contributor.advisorทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์-
dc.contributor.authorธัญภัสสร์ ทองเย็น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2011-09-23T12:51:07Z-
dc.date.available2011-09-23T12:51:07Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15939-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน (เล็กกว่า 100 นาโนเมตร หรือเรียกว่าฝุ่นละอองขนาดนาโน), 0.1-1.0 ไมครอน, 1.0-2.5 ไมครอน, 2.5-10 ไมครอน และขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน โดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดนาโน (Nanoparticle sampler) เก็บตัวอย่างฝุ่นละออง ทุกๆ 6 วัน เป็นระยะเวลา 2 เดือนต่อสถานี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ในพื้นที่ศึกษา 3 แห่งคือ บริเวณริมถนน ได้แก่ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษการเคหะชุมชนดินแดง และบริเวณพื้นที่ทั่วไป ได้แก่ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยสัดส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละอองแต่ละขนาดในสถานีเก็บตัวอย่าง 3 แห่ง มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยของ PM10-2.5, PM2.5-1.0, PM1.0-0.1 และ PM0.1 ต่อความเข้มข้นของ PM10 เท่ากับ 33.35, 22.62, 33.31 และ 10.72 เปอร์เซ็นต์ และสัดส่วนความเข้มข้นของ PM2.5 ต่อ PM10 ในบริเวณริมถนนและบริเวณพื้นที่ทั่วไป มีค่าเท่ากับ 0.67 และ 0.66 เมื่อวิเคราะห์สารพีเอเอชในฝุ่นละอองในพื้นที่ศึกษา พบว่า บริเวณที่มีความเข้มข้นเฉลี่ยของสารพีเอเอชรวมสูงสุดคือ การเคหะชุมชนดินแดง รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ ซึ่งระดับความสูงของจุดเก็บตัวอย่าง และความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีผลกับความเข้มข้นของสารพีเอเอชในฝุ่นละออง และกลุ่มสารพีเอเอชที่มีความเข้มข้นสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสารพีเอเอชชนิดอื่น มีจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Benzo(a)pyrene Benzo(b)fluoranthene Acenaphthylene และ Fluorene และพบว่าสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารพีเอเอชในฝุ่นขนาด >10 mum 2.5-10 µm 1.0-2.5 mum 0.1-1.0 mum และ <0.1 µm มีสัดส่วนแหล่งกำเนิดสอดคล้องกันคือ มาจากการจราจรเป็นหลัก ซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดหลัก 4 ประเภทคือ รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ มีสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือ รถสามล้อเครื่อง รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด และรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeTo identify the contribution of polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) in particulate matter in Bangkok ambient air by nano-particle sampler, which can collect size-selected particulate matter, namely less than 0.1 m (less than 100 nm or nanoparticles) , 0.1-1 mum, 1-2.5 m, 2.5-10 mum and >10 m. The sampler cutoff flow rate was 40 l/m. The samplings were carried out every 6 days for 2 months at each station for the total period of 6 months during November 2008 until May 2009. The sampling were taken at 3 locations: roadside area at Pollution Control Department’s Dindaeng air quality monitoring station (PCD AQ station) and background area at 2 stations; namely Bansomdet Chaopraya Rajabhat University PCD AQ station and Chulalongkorn University. The results at Bangkok roadside area showed the proportions of PM10-2.5, PM2.5-1.0, PM1.0-0.1 and PM0.1 to the total PM10 mass averaged for 3 stations were 33.35, 22.62, 33.31 และ 10.72 percent. The average PM2.5/PM10 ratios of roadside area to background area were 0.67 and 0.66. The PAHs concentration result showed dominant PAHs in every particulate matter size is Benzo(a)pyrene Benzo(b) fluoranthene Acenaphthylene and Fluorene. CMB showed major sources of PAHs is traffic which came from four stroke motorcycle, tuktuk, compressed natural gas vehicles and two stroke motorcycle.en
dc.format.extent5382289 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1338-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอนen
dc.subjectฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleการจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในฝุ่นละอองแต่ละขนาดในพื้นที่กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeSource apportionment of polycyclic aromatic hydrocarbons in size-selected particulate matter in Bangkok Metropolitan areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWongpun.L@eng.chula.ac.th, Wongpun.L@Chula.ac.th-
dc.email.advisortassanee.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1338-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thunyapat_th.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.