Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารัต เกษตรทัต-
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.authorบุตรี กิจจะอรพิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-24T11:38:36Z-
dc.date.available2011-09-24T11:38:36Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อสร้างกระบวนการ medication reconciliation ในขั้นตอนรับและจำหน่ายผู้ป่วยเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาในขั้นตอนรับและจำหน่ายผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยในระบบปกติกับกลุ่มผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการ medication reconciliation และประเมินประสิทธิผลของการดำเนินกระบวนการ medication reconciliation วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองชนิดวัดผลก่อนหลัง โดยสร้างกระบวนการ medication reconciliation และวัดผลของกระบวนการที่มีต่อความคลาดเคลื่อนทางยา เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบในขั้นตอนรับ และจำหน่ายผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยในระบบปกติกับกลุ่มผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการ medication reconciliation ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินการในด้านความถูกต้อง ครบถ้วนของการบันทึกข้อมูล และการทำใน 24 ชั่วโมง ทำการศึกษา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงและอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลกบินทร์บุรี มีผู้ป่วยกลุ่มควบคุม 100 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัย ก่อนการทดลองใช้ร่างคู่มือปฏิบัติงานกระบวนการ medication reconciliation ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2552 และกลุ่มศึกษา 100 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ผ่านกระบวนการ medication reconciliation ในขั้นตอนรับ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2552 ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของข้อมูลพื้นฐานในผู้ป่วยกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม พบความคลาดเคลื่อนทางยาในกลุ่มศึกษา น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในขั้นตอนรับและจำหน่ายผู้ป่วย (p<0.001) ในขั้นตอนรับพบความคลาดเคลื่อนทางยา ร้อยละ 8.2 ในกลุ่มศึกษา และร้อยละ 16.1 ในกลุ่มควบคุมในขั้นตอนจำหน่ายพบความคลาดเคลื่อนทางยา ร้อยละ 0.6 ในกลุ่มศึกษาและร้อยละ 5.3 ในกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาได้รับการบันทึกรายการยาภายในระยะเวลาเฉลี่ย 11.3 ±14.0 ชั่วโมงหลังรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เมื่อประเมินประสิทธิผลของการดำเนินกระบวนการ medication reconciliation พบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาร้อยละ 97 มีการบันทึกรายการยาถูกต้องครบทุกรายการ และร้อยละ 87 มีการบันทึกรายการยาภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล สรุปผลการศึกษา: การดำเนินกระบวนการ medication reconciliation จากการศึกษานี้มีประสิทธิผลสามารถลดความคลาดเคลื่อนที่ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดหรือความถี่ที่ไม่เหมาะสมในขั้นตอนรับ และลดความคลาดเคลื่อนที่แพทย์ไม่สั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับในขั้นตอนจำหน่ายได้en
dc.description.abstractalternativeObjectives: To implement inpatient-medication reconciliation process and evaluate outcomes of the process by comparing the number of medication errors (MEs) between two groups, receiving and non-receiving medication reconciliation process. Effectiveness of the process is also evaluated. Methods: This pretest…posttest, quasi-experimental study was performed at medicine wards in Kabinburi Hospital. Data on medication used were collected and evaluated at two different interface points of care, admission and discharge. One hundred patients were allocated to control group during December 8th, 2008 to January 7th, 2009 when medication reconciliation was not implement. After the medication reconciliation (MR) process had been implemented at the medicine wards, 100 patients were allocated to the study group during June 8th, 2008 to July 8th, 2009. Results: The inpatient-medication reconciliation process had been implemented since April 1, 2009. Pharmacists were responsible for collecting and completing the MR form. Demographic data between the two groups was not significantly difference. The percentage of MEs in the study group was significantly lower than the control group both at admission and discharge point (8.2 % vs. 16.1 % and 0.6 % vs. 5.3 %, respectively, p<0.001) The time for MR processing in the study group was 11.3±14.0 hours. Evaluation of effectiveness of the system resulted that the completeness in documenting medication reconciliation MR form was found in 97% of the patients in this group, MR form was documented within 24 hours in 87% of the patients. Conclusions: The implementation of medication reconciliation system in the study was effective. The system can reduce medication error on wrong dose or frequency of use at the admission step and reduce medication error on omission error at the discharging step.en
dc.format.extent942218 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1489-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเครื่องชี้ภาวะสุขภาพen
dc.subjectอายุรกรรมen
dc.subjectยาen
dc.titleผลสัมฤทธิ์ของการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลกบินทร์บุรีen
dc.title.alternativeOutcomes of medication reconciliation at medicine wards in Kabinburi hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNarat.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorAphirudee.H@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1489-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
budtree_ki.pdf920.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.