Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชิต พูลทอง-
dc.contributor.advisorมุรธา พานิช-
dc.contributor.authorอุษณีย์ กัลยาธิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-09-25T09:07:15Z-
dc.date.available2011-09-25T09:07:15Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15982-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อเปรียบเทียบผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์ เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลาและเพื่อเปรียบเทียบผลของน้ำลายเทียมในสภาวะที่มีซีพีพี-เอซีพีเพสต์หรือฟลูออไรด์เจลในการป้องกันความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันจากการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา โดยเตรียมชิ้นตัวอย่างจากฟันตัดล่างของมนุษย์ที่ถูกถอนจำนวน 60 ซี่ ทำการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลองดังนี้ 1) ซีพีพี-เอซีพีเพสต์ร่วมกับน้ำปราศจากประจุ 2) ซีพีพี-เอซีพีเพสต์ร่วมกับน้ำลายเทียม 3) น้ำลายเทียม 4) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ำปราศจากประจุ 5) ฟลูออไรด์เจลร่วมกับน้ำลายเทียม และ6) น้ำปราศจากประจุ วัดค่าความแข็งของผิวเคลือบฟันด้านริมฝีปาก โดยกำหนดระยะห่างของรอยกดเท่ากับ 120 ไมโครเมตร ทำการกดด้วยหัวกดวิคเกอร์ส จำนวน 5 รอยกดต่อการทดสอบแต่ละครั้ง โดยใช้เครื่องทดสอบความแข็งระดับไมโคร ทำการกด 2 ช่วงเวลาต่อชิ้นตัวอย่าง คือ ก่อนการทดลองและหลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา นำค่าความแข็งที่ได้มาทดสอบด้วยสถิติแพร์แซมเปิล ที เทสต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า หลังการสึกกร่อนด้วยเครื่องดื่มโคลา ค่าความแข็งของเคลือบฟันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มซีพีพี-เอซีพีเพสต์ร่วมกับน้ำลายเทียมและกลุ่มฟลูออไรด์ร่วมกับน้ำลายเทียมมีค่ามากกว่าความแข็งของเคลือบฟันของกลุ่มอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ สรุปว่าซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลไม่สามารถป้องกันค่าความแข็งของเคลือบฟันจากการสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลาได้ แต่ซีพีพี-เอซีพีร่วมกับน้ำลายเทียมและฟลูออไรด์ร่วมกับน้ำลายเทียมสามารถลดความรุนแรงของการสูญเสียแร่ธาตุได้en
dc.description.abstractalternativeThe present study aimed to compare protective effects of CPP-ACP paste and fluoride gel on microhardness of enamel surface eroded by a cola drink and to compare effect of artificial saliva with CPP-ACP paste or fluoride gel on protective effect of microhardness of enamel surface eroded by a cola drink. The specimens were prepared from 60 extracted human lower incisors, randomly divided into 6 groups; 1) CPP-ACP with deionized water 2) CPP-ACP paste with artificial saliva 3) artificial saliva 4) fluoride gel with deionized water 5) fluoride gel with artificial saliva and 6) deionized water. The microhardness of labial enamel surface of the six groups were measured by a microhardness tester. Baseline and eroded hardness were measured and analyzed by Paired-Sample T-Test , Two Way ANOVA and One Way ANOVA. After being eroded by a cola drink, the enamel hardness significantly decreased in all groups studied. The eroded hardness of CPP-ACP paste with artificial saliva group and fluoride gel with artificial saliva group are significantly higher than eroded hardness of the other groups. In conclusion, CPP-ACP paste and fluoride gel can not prevent the hardness of enamel after eroded by a cola drink, but CPP-ACP paste with artificial saliva and fluoride gel with artificial saliva can lessen the degree of demineralization.en
dc.format.extent1376779 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1521-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำอัดลมen
dc.subjectฟัน -- การสึกกร่อนen
dc.subjectฟลูออไรด์en
dc.subjectเคลือบฟันen
dc.subjectซีพีพี-เอซีพีเพสต์en
dc.titleผลของซีพีพี-เอซีพีเพสต์และฟลูออไรด์เจลต่อความแข็งระดับไมโครของผิวเคลือบฟันมนุษย์หลังจากสัมผัสกับเครื่องดื่มโคลาen
dc.title.alternativeEffect of CPP-ACP paste and fluoride gel on microhardness of human enamel after exposed to a cola drinken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมหัตถการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsuchit.P@chula.ac.th-
dc.email.advisormupanich@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1521-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
usanee_ka.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.