Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16062
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ | - |
dc.contributor.author | ชูพงษ์ ทองคำสมุทร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2011-10-02T14:15:37Z | - |
dc.date.available | 2011-10-02T14:15:37Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16062 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | ฮวงจุ้ย คือศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อความปลอดภัยและความสบายของมนุษย์กำเนิดจากประเทศจีนเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว ปัจจุบันการนำข้อปฏิบัติของฮวงจุ้ยไปใช้ในหลายประเทศเกิดการขัดแย้งกับหลักการออกแบบปัจจุบันและเกิดผลเสียในหลายด้านตามมา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลของข้อปฏิบัติและสาระสำคัญเชิงวิทยาศาสตร์ของฮวงจุ้ย เพื่อจัดทำแนวทางการออกแบบเชิงวิทยาศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันอย่างเหมาะสม ข้อปฏิบัติของฮวงจุ้ยจีนโบราณแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ลักษณะทางกายภาพและดวงชะตาราศี งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ทุกคนเท่ากัน ผลศึกษาพบว่าข้อปฏิบัติของ ฮวงจุ้ยจีนโบราณใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความสบายของร่างกายโดยเฉพาะอุณหภูมิร้อนหนาวเป็นหลัก เนื่องจากสภาพอากาศฤดูหนาวเป็นเงื่อนไขวิกฤต จำเป็นต้องทำให้พื้นผิวอาคารและสภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยใช้มวลสารอาคารมากเพื่อกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ และป้องกันการสูญเสียรังสีความร้อนของอาคารสู่ท้องฟ้าในเวลากลางคืน ไม่ใช้การระเหยของน้ำ และป้องกันกระแสลมพัดผ่านร่างกายซึ่งจะทำให้สูญเสียความร้อน โดยใช้รูปทรง ตำแหน่ง และทิศทาง ของสภาพแวดล้อมภายนอกและลักษณะอาคาร สามารถเพิ่มจำนวนชั่วโมงในเขตสบายภายในอาคารเฉลี่ยร้อยละ 35 ในฤดูหนาว ร้อยละ 55 ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ตัวอย่างเช่นในเวลากลางคืนฤดูหนาวมีอุณหภูมิภายนอกเฉลี่ย -5 องศาเซลเซียส ร่างกายจะรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าอุณหภูมิสูงขึ้น 8.5 ถึง 10 องศาเซลเซียสในอาคาร ส่วนฤดูร้อนใช้ความเร็วลมธรรมชาติผ่านผิวน้ำและผ่านช่องเปิดของอาคาร การนำข้อปฏิบัติของฮวงจุ้ยจีนที่เหมาะสมกับภูมิอากาศหนาวเย็น มาใช้กับประเทศไทยที่อยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อทำให้อาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบมีการสะสมความร้อนมากและร่างกายจะรู้สึกร้อนขึ้น ดังนั้นการนำไปใช้ต้องมีความเข้าใจในหลักวิทยาศาสตร์ของฮวงจุ้ย ซึ่งฮวงจุ้ยวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยคือ การทำให้อุณหภูมิพื้นผิวอาคารและสภาพแวดล้อมต่ำโดยใช้มวลสารเพื่อหน่วงเหนี่ยวความร้อนและป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ (อุณหภูมิลดลง 2.5-3.5 องศาเซลเซียส) เพิ่มการสูญเสียรังสีความร้อนของอาคารสู่ท้องฟ้า (อุณหภูมิอากาศลงลง 1.5-2.5 เซลเซียส) เพิ่มการระเหยของน้ำของพื้นผิว (อุณหภูมิลดลง 2-3 องศาเซลเซียส) และเพิ่มความเร็วลมพัดผ่านร่างกาย (อุณหภูมิเสมือนลดลง 1.5-2.5 องศาเซลเซียส) โดยผลการศึกษาพบว่าความรู้สึกเสมือนของร่างกายภายในอาคารอยู่ในช่วงสบายตลอดเวลา ตัวอย่างเช่นในฤดูร้อนเวลากลางวันอุณหภูมิอากาศภายนอก 35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอากาศในอาคาร 28 องศาเซลเซียส และผู้ใช้อาคารจะรู้สึกว่าอุณหภูมิอากาศ 24.5-26 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นผลจากการใช้ปัจจัยของการออกแบบเชิงวิทยาศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับประเทศไทยอย่างเหมาะสม | en |
dc.description.abstractalternative | This study mainly focused on Feng Shui principles only relating to scientific approach. It would be developed as scientific Feng Shui design guidelines for Thailand. Traditional Feng Shui has two parts as physical and horoscope. The modification of physical factors has similar effect to human sensation. The results illustrated that traditional Feng Shui used scientific principle to control thermal comforts since cold climate condition in China is critical. High mass building and surfaces intended to store daylight heat and reduce night sky radiation. Evaporation and wind are prohibited. Applying shape, form, location, and orientation of building and its surroundings can increase thermal comfort condition in winter as 35% in average and 55% in spring or autumn season. It would have -5?C of outside air temperature, but human sensation inside building would range 8.5-10?C. In summer, cool wind would be controlled through all openings. The direct application of traditional Feng Shui in Thailand is strongly not appropriate because of different climate zones. The surface temperature will increase effecting feeling hot to human body. To understand Feng Shui as scientific approach can be easily applied to other climates. The appropriate scientific Feng Shui in Thailand can reduce human sensation into comfort zone as 1)reduce surface temperature and shaded high mass material (decrease 2.5-3.5?C) 2)increase night sky radiation (decrease 1.5-2.5?C) 3)increase evaporative surfaces (decrease 2-3?C) 4)introduce wind velocity (decrease 1.5-2.5?C) Applying all appropriate scientific Feng Shui, human sensation can be 24.5-26?C with inside air temperature of 28?C and 35?C outside air temperature during daytime. | en |
dc.format.extent | 18292703 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.145 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ฮวงจุ้ย -- ไทย | en |
dc.subject | การออกแบบสถาปัตยกรรม -- ไทย | en |
dc.title | แนวทางการออกแบบเชิงวิทยาศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Scientific design guidelines of Feng Shui for Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Vorasun.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.145 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Choopong_th.pdf | 17.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.