Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/160
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิศรา ศานติศาสน์-
dc.contributor.authorสุพรรษา วินมูน, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialมาเลเซีย-
dc.date.accessioned2006-05-29T11:55:19Z-
dc.date.available2006-05-29T11:55:19Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741735847-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/160-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศมาเลเซียและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบของไทยต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ปี 2536-2544 โดยได้แบ่งตลาดสินค้าออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดสินค้านำเข้า และตลาดสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการศึกษาทางด้านอุปทานของสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ศึกษาอุปทานของสินค้านั้น ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้ผลิต ดังนั้น จึงได้สมมติให้อุปทานสินค้าที่ผลิตภายในประเทศมี 2 ลักษณะ คือ อุปทานสินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับศูนย์ และอุปทานสินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับอนันต์ วิธีการศึกษาอยู่บนกรอบแนวคิดของการวิเคราะห์ดุลยภาพบางส่วน โดยได้สร้างสมการอุปสงค์ของรถยนต์และน้ำมันปาล์มดิบนำเข้าและอุปสงค์ของรถยนต์และน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตภายในประเทศ และนำผลที่ได้ไปคำนวณผลกระทบของการลดอัตราภาษีนำเข้าต่อราคาสินค้านำเข้า อุปสงค์ของสินค้านำเข้า ราคาสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และอุปสงค์สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ โดยแบ่งระดับการลดอัตราภาษีนำเข้าเป็น 3 ระดับ คือ 50 เปอร์เซ็นต์ 80 เปอร์เซ็นต์ และ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในแต่ละปี หลังจากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปคำนวณผลกระทบของการลดอัตราภาษีนำเข้าที่เกิดขึ้นต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ แล้วทำการเปรียบเทียบผลกระทบที่เกิดขึ้นของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย โดยอาศัยแนวคิดว่าด้วยค่าเสมอภาคอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity) ผลการศึกษา ชี้ว่า ผลได้ที่ผู้บริโภคของประเทศมาเลเซียจะได้รับจากการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีมูลค่าประมาณ 47,670 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าผลได้ที่ผู้บริโภคของประเทศไทยได้รับจากการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ ที่มีมูลค่าเพียง 240 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนเกินของผู้ผลิตจะลดลง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ของผลได้โดยรวมที่ผู้บริโภคได้รับเพิ่มขึ้นดังกล่าว นั่นคือ ส่วนเกินผู้ผลิตของประเทศมาเลเซียจะลดลงไม่เกิน 38,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ส่วนเกินผู้ผลิตของประเทศไทยจะลดลงไม่เกิน 230 ล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของรายได้จากภาษีนำเข้าที่รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศจะได้รับลดลงนั้น คิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับผลได้โดยรวมที่ผู้บริโภคได้รับ อย่างไรก็ตาม การลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ในทันทีทันใดเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ ดังนั้น รัฐบาลควรที่จะค่อย ๆ ลดอัตราภาษีนำเข้าเพื่อให้เวลาแก่ผู้ผลิตในการที่จะปรับตัวทางด้านการผลิต หรือแรงงานที่จะหางานใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThis study is aimed at assessing the impact of automobile industry protection in Malaysia and palm oil industry protection in Thailand on the economic welfare cost. The study focuses on the period from 1993-2001. The markets are divided into two types: imported and domestically produced. Since data on domestic good costs are not revealed by manufacturers, the elasticities of domestic good supply with respect to the price are not estimated and are assumed to be perfectly inelastic and perfectly elastic. This study is based on the concept of Partial Equilibrium Analysis. Demand equations of imported and domestic goods are employed. Results are used to evaluate the effect of imported tariff reduction (50%, 80% and 100% of the prevailing rates) on prices of both types of goods. The impact of tariff reduction on economic welfare is also analyzed. After that, the impacts on the two countries are compared by the concept of Purchasing Power Parity (PPP). According to the findings, if there had been a 0% tariff reduction between 1993-2001, for automobile industry of Malaysia, the consumer surplus would have increased by about US$47,670 million. This was more than the loss in consumer surplus for palm oil industry of Thailand which would have been around US$240 million. On the contrast, producer surplus would have dramatically decreased approximately 80-90% of total gain. For Malaysia, the producer surplus in automobile industry would have not decreased more than US$38,000 million while producer surplus in palm oil industry of Thailand would have not decreased more than US$230 million. For government revenue of the two countries, it would have slightly decreased when compare with the total gain. In practice, an immediate tariff reduction to 0% is not easily implemented. Thus, government may gradually reduce tariff in order to allow time for producer to improve productivity and labour to search for new occupations. These will induce better and more efficient reallocation of resources.en
dc.format.extent1378508 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.174-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการคุ้มครองอุตสาหกรรม--ไทยen
dc.subjectการคุ้มครองอุตสาหกรรม--มาเลเซียen
dc.subjectภาษีศุลกากร--ไทยen
dc.subjectภาษีศุลกากร--มาเลเซียen
dc.titleผลกระทบต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจของการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศมาเลเซีย และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทยen
dc.title.alternativeEconomic welfare cost of protection for automobile industry in Malaysia and palm oil industry in Thailanden
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorIsra.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.174-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuphansaV.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.