Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.authorจีรพิศ สุวรรณวงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-10-17T04:12:21Z-
dc.date.available2011-10-17T04:12:21Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16128-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประการที่สอง เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และประการสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 750 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร คือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะการบริหาร ปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน ปัจจัยภาวะแวดล้อมภายนอกโรงเรียน ปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู และขวัญในการปฏิบัติงานของครู ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 31 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์อิทธิพล (Path analysis) ด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.72) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูมีขวัญในการปฏิบัติงานด้านรู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษาร่วมกันสูงสุด และครูมีขวัญในการปฏิบัติงานด้านเต็มใจในการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ อยู่ในระดับปานกลางเพียงด้านเดียว การเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและภูมิภาค ดังนี้ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง เงินเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศเพียงด้านเดียว มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยของระดับขวัญในการปฏิบัติงานสูงกว่าครูเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 เมื่อเปรียบเทียบระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ครูในภูมิภาคต่างกัน มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยครูในภาคใต้มีระดับขวัญในการปฏิบัติงานสูงกว่า ครูในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลจากการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ขวัญในการปฏิบัติงานของครู ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครูสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู และขวัญในการปฏิบัติงานของครู ได้รับอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด จากปัจจัยลักษณะการบริหาร โดยส่งผ่านมายังตัวแปรปัจจัยสัมพันธภาพในการทำงานของครู ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน และปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู รองลงมาคือ ปัจจัยบรรยากาศภายในโรงเรียน และปัจจัยภาวะแวดล้อมภายนอกโรงเรียน โดยส่งผ่านมายังปัจจัยทัศนคติต่อการปฏิบัติงานของครู 3. โมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ chi-square = 140.97, df = 177, p = 0.978, GFI = 0.984, AGFI = 0.956 และ RMR = 0.0105 โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้ 86%en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study a level of morale of teachers in educational opportunity expansion schools, 2) to develop a causal model of morale of teachers in educational opportunity expansion schools, and 3) to examine the consistency between the developed a causal model and empirical data. The research sample was 750 teachers in educational opportunity expansion schools under the office of the basic education commission. Data consisted of 7 latent variables: individual characteristic factor, administration characteristic factor, relationship among teachers factor, internal school climate factor, external school surrounding factor, teachers’ attitude toward working factor and teachers’ morale; 31 observed variables measuring those 7 latent variables. Data were collected by questionnaires. Descriptive statistics, one-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient were analyzed by SPSS, whereas path analysis were implemented using LISREL 8.72. The major findings were as follows : 1. As a whole, the morale of teachers in educational opportunity expansion schools was in the high level. Considering each aspect of teachers’ morale, teachers’ morale in owner accompany with school aspect is in the highest level. Teachers’ morale in willing to follow the school rules,aspect is moderate level. The comparisons of teachers’ morale considering teachers demographic data and geographical region were as follow: 1.1 The comparison of teachers’ morale considering gender, age, educational background, position, salary, and work experience revealed that teachers’ morale was statistically significant different only in gender. Female teachers’ morale was statistically significant higher than male teachers’ morale at .01 level. 1.2 The comparison of teachers’ morale considering geographical region revealed that teachers’ morale was statistically significant different among different geographical region at .01 level. Morale of teacher in the southern region was statistically significant higher than those in the middle and the north eastern region at .05 level. 2. According to the developed model, it had found that the teachers’ attitude toward working factor had the highest direct effect on the teachers’ morale, followed by the relationship among teachers factor. In addition administration characteristic factor had the highest total effect and indirect effect on teachers’ morale, through the relationship among teachers factor, internal school climate factor, and teachers’ attitude toward working factor, followed by internal school climate factor and external school surrounding factor, which had indirect effect on teachers’ morale through teachers’ attitude toward working factor. 3. The causal model of morale of teachers in educational opportunity expansion schools was valid and fit to the empirical data with chi-square = 140.97, df = 177, p = 0.978, GFI= 0.984, AGFI=0.956 and RMR = 0.0105. The model could explain the variance in the morale of teachers in educational opportunity expansion schools for 86%.en
dc.format.extent2388628 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1408-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectขวัญในการทำงานen
dc.subjectครูen
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeDevelopment of a causal model of marale of teachers in educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commissionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1408-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jeerapit_su.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.