Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorกรรณิการ์ ศรีวารีรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2011-10-17T08:55:18Z-
dc.date.available2011-10-17T08:55:18Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16135-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตของครู และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตของครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม ปีการศึกษา 2551 จำนวน 614 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายใน จำนวน 1 ตัวแปร คือ คุณภาพชีวิตของครู และตัวแปรแฝงภายนอก จำนวน 4 ตัวแปร คือ ปัจจัยภูมิหลัง ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านโรงเรียน และปัจจัยด้านชุมชน ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 23 ตัวแปร เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ โมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตของครูที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 137.47 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 143 และมีความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.615 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.981 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.963 และค่าดัชนีกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) เท่ากับ0.014 ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของครูได้ร้อยละ 71.00 โดยปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อคุณภาพชีวิตของครูมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop a causal model of teachers’ quality of life, and 2) to examine the goodness of fit of model to empirical data. The research sample consisted of 614 teachers in schools under the Jurisdiction of the Office of Nakornpathom Education Service Area in the academic year 2008. Variables consisted of one endogenous latent variable: teachers’ quality of life, and four exogenous latent variables: background factors, personal factors, school factors and community factors. These latent variables were measured by 23 observed variables. The research instrument was a teachers’ questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and LISREL analysis. The major findings were as follows: The causal model was valid and fit the empirical data. The model indicated that the chi-square goodness of fit test was 137.47, df = 143, p = 0.615, GFI = 0.981, AGFI = 0.963, and RMR = 0.014. The model accounted for 71.00 % of variance in teachers’ quality of life. The important factors that had direct effect on teachers’ quality of life were personal factors and school factors, respectively.en
dc.format.extent1691303 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.408-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectครู -- ไทยen
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.titleโมเดลเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตของครูen
dc.title.alternativeA causal model of teachers' quality of lifeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.408-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannika_sr.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.