Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16174
Title: การวัดรอยเท้าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทย
Other Titles: Economic footprint measurement of the cement industry in Thailand
Authors: ภาณุวัชร ตระกูลไพบูลย์กิจ
Advisors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sirichan.T@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ -- ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ศึกษาโครงสร้างการใช้ปัจจัยการผลิต การจำหน่ายสินค้าระหว่างสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยใช้ชื่อว่าการวัดรอยเท้าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทย ซึ่งการศึกษารอยเท้าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์นั้น จะทำการศึกษาเชิงมูลค่าของผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ว่าไปที่ใดบ้าง และใครเป็นผู้ได้กำไรหรือผลประโยชน์จากผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ แนวทางการวิจัยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลทุติยภูมิและการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งจัดเก็บโดยสำรวจภาคสนาม และผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ผลจากงานวิจัยนี้ทำให้ทราบโครงสร้างของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่มีมูลค่าการผลิต 99,792 ล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รายใหญ่ทั้งสิ้น 8 ราย มีมูลค่าการจ้างงานรวมทั้งระบบ 1.1 หมื่นล้านบาท นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการหาความสัมพันธ์ที่มีต่อสาขาการผลิตอื่นด้วยการสร้างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ทำให้ทราบว่า มูลค่าของผลผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่ไปเกี่ยวข้องกับสาขาการผลิตอื่นมีจำนวน 20 สาขาการผลิต โดยมีผู้จัดส่งวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์หลัก คือ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ ส่วนลูกค้าหลักที่สำคัญของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การค้าปลีก และการค้าส่ง นอกจากนั้น ผลจากงานวิจัยนี้สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้มิได้ส่งผลเพียงเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลทางอ้อมไปยังสาขาการผลิตอื่นๆ อีกด้วย
Other Abstract: This Research aims to create Input-Output Table for cement industry, to study the use of input structures, goods distribution of inter-manufacturing branches in the cement industry, and to analyze impacts of change in national economic conditions on cement industry. The title of this research, the Economic Footprint Measurement of the Cement Industry, is about the study of value to which the outputs derived from cement industry are distributed and who gain profits and benefits from the outputs derived from the cement industry. The research started with the survey of secondary data and then collected primary data by the field study from the related business entrepreneurs. The result of this research indicates that, the manufacturing value derived from cement industrial structure was in the amount of 99,792 million baht. There were total “Big Eight” cement industrial entrepreneurs with total 11-billion-baht employment value. The finding of the relationships between the cement industry and its related industries by constructing Input-Output Table showed that 20 manufacturing branches of related industries shared the input and output. The main raw materials suppliers for the cement industry are mining industry, petroleum industry, and paper-manufacturing industry and the main customers of the cement industry are construction industry, retail business, and wholesale business. Moreover, the results of this research indicate that the change in product volume of the cement industry has an impact, directly and indirectly, on other industries.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16174
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1133
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1133
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panuwat_tr.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.