Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16327
Title: การนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมวัดคาทอลิกในประเทศไทย : กรณีศึกษา วัดคาทอลิกบ้านซ่งแย้ จังหวัดยโสธร
Other Titles: Inculturation in catholic church architecture in Thailand : a case study of Bansongyae Catholic Church, Yasothon province
Authors: กิตติธัช ชัยประสิทธิ์
Advisors: ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kpinraj@chula.ac.th
Subjects: วัดคาทอลิกบ้านซ่งแย้ (ยโสธร)
ศาสนสถาน
ความเชื่อ -- แง่ศาสนา -- คริสต์ศาสนา
ศิลปกรรมและสัญลักษณ์คริสเตียน -- ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อความเชื่อทางศาสนากับวัฒนธรรมในท้องถิ่น ผ่านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมรวมถึงพื้นที่ว่างภายในวัดคาทอลิก ในมิติกายภาพ จิตภาพ และสุนทรียภาพ เพื่อมองหาคุณค่าทั้งทางด้านรูปแบบศิลปะและสถาปัตกยรรม และคุณค่าด้านวัฒนธรรมและอนุรักษ์ชุมชน ที่เกิดขึ้นจากการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม โดยมีวัดคาทอลิกบ้านซ่งแย้เป็นกรณีศึกษาที่นำมาวิเคราะห์และตีความในเชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การที่คริสตศาสนาได้มาเข้ามาสู่บริบทในประเทศไทย ได้ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมวัดคาทอลิกที่มีรูปแบบซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมในท้องถิ่น ทั้งวัฒนธรรมแบบไทยประเพณีและวัฒนธรรมแบบพื้นถิ่นในแต่ละภูมิภาค โดยปัจจัยที่สำคัญของการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมก็คือ “วัฒนธรรมของชุมชน” วัดคาทอลิกบ้านซ่งแย้เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่มีความโด่ดเด่น ทั้งมิติด้านกายภาพ จิตภาพ และสุนทรียภาพ ตั้งแต่ตัวอาคารโบสถ์ที่นำอาคารพื้นถิ่นมาปรับปรุงใช้งานกับการจัดพื้นที่ใช้สอยแบบโบสถ์ตะวันตก อาณาบริเวณของวัดที่ตอบสนองต่อพิธีกรรมและกิจกรรมของชุมชน จุดสวดภายในหมู่บ้านที่ช่วยขยายมิติของความศักดิ์สิทธิ์จากตัวโบสถ์ให้กระจายออกมาสู่พื้นที่ของหมู่บ้าน รวมถึงพิธีกรรมและการใช้สอยพื้นที่ว่างที่มีรูปแบบและสุนทรียภาพที่แตกต่างจากโบสถ์ตะวันตก ทั้งนี้เนื่องจากบริบททางวัฒนธรรมของชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยรอบ ที่ช่วยสร้าง “รูปแบบ” ซึ่งเกิดจากการตีความ “เนื้อแท้” ของคติความเชื่อและพิธีกรรมด้วยวัฒนธรรมของชาวบ้านซ่งแย้ ก่อนที่คุณลักษณะเหล่านั้นจะไปปรากฏในสถาปัตยกรรม และ พื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมของวัด
Other Abstract: To analyze the relationship between catholic catechism and Thai culture that presented into architecture and architectural space of catholic church architecture in Thailand, included with physical view, mental view and aesthetic view, to signify both architecture value and social value. “Bansongyae” catholic church is chosen to be a case study for in-depth analysis in this research. The result of study indicate that Catholic’s evangelization in Thailand leading to church architecture that present the local culture, both high cultural style and local/vernacular cultural style. One of the main factors for the inculturation in catholic church architecture refers to “the concept of social culture and its people.” Songyae catholic church is the good one to represent the idea, included with physical, mental, and aesthetic view ex. Thai vernacular style church’s building with western church planning, sanctuary around church’s building for liturgical and social usage, sacred landmark for defining sense of sacred space around the village, and catholic liturgy with different style of practice that change the aesthetic value in the architecture space that appear in western architecture. Because of the local culture and its environment that define “forms” for the “authenticity” of the catholic catechism and then presented into architecture and architectural space of the church.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16327
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.940
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.940
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kittitouch_ch.pdf16.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.