Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16539
Title: การพัฒนารูปแบบการวัดประสิทธิผลองค์การสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับ
Other Titles: Development of a model of organizational effectiveness measurement for faculties of education : an application of multilevel causal analysis
Authors: ภัทราวดี มากมี
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Sirichai.K@Chula.ac.th
Subjects: ครุศาสตร์
ประสิทธิผลองค์การ -- การประเมิน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการวัดประสิทธิผลของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุระดับบุคคล และระดับสาขาวิชา ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย และ (3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบเชิงสาเหตุ พหุระดับของประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และกลุ่มมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระดับสาขาวิชาจำนวน 132 สาขาวิชา และระดับบุคคลจำนวน 991 คน โดยเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 59 สาขาวิชา 397 คน และมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 73 สาขาวิชา 594 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามวัดจาก ตัวบ่งชี้ 9 ตัว ได้แก่ 1) ความพึงพอใจในการศึกษาของนักศึกษาและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) การพัฒนาด้านวิชาการและบุคลิกภาพของนิสิต/นักศึกษา 3) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร คณาจารย์และผู้บริหาร 4) การพัฒนาวิชาชีพและคุณภาพของคณาจารย์ 5) การเป็นระบบเปิดและปฏิสัมพันธ์กับชุมชน/ผลที่เกิดขึ้นกับสังคม 6) ความสามารถในการได้มาและจัดหาทรัพยากร/การเงิน 7) การบรรลุเป้าหมายตามภารกิจ 8) คุณภาพกระบวนการจัดการภายใน และ 9) การเรียนรู้และการพัฒนา เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีช่วงพิสัยค่าความเที่ยงระหว่าง 0.718-0.898 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ความแปรปรวนพหุนามด้วยโปรแกรม SPSS องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบพหุระดับ และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการพัฒนารูปแบบการวัดประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ พบว่าในระดับบุคคลตัวบ่งชี้ทุกตัวมีความสำคัญอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยตัวบ่งชี้คุณภาพกระบวนการจัดการภายใน มีความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่ในระดับสาขาวิชานั้นพบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การบรรลุเป้าหมายตามภารกิจ ส่วนตัวบ่งชี้การเป็นระบบเปิดและปฏิสัมพันธ์กับชุมชน/ผลที่เกิดขึ้นกับสังคมมีความสำคัญน้อยที่สุด ทั้งระดับบุคคลและระดับสาขาวิชา (2) รูปแบบเชิงสาเหตุพหุระดับประสิทธิผลองค์การสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x[superscript 2]=702.030, df = 371, p =0.000, x[superscript 2]/ df = 1.892, CFI =0.980, TLI = 0.972, RMSEA = 0.030, SRMR[subscript W] = 0.027, SRMR[subscript B] =0.097) (3) ปัจจัยเชิงสาเหตุระดับบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิผล คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ นโยบายและการบริหารจัดการ การมีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนปีที่ทำงานในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มากกว่า 5 ปี และคุณลักษณะของบุคลากร ส่วนปัจจัยระดับสาขาวิชาที่ส่งผลต่อการรับรู้ประสิทธิผลองค์การสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ นโยบายและการบริหารจัดการ และคุณลักษณะของบุคลากร ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับบุคคลสามารถอธิบายความแปรปรวน ประสิทธิผลคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาได้ 95.00% และ 91.90% ตามลำดับ (4) รูปแบบเชิงสาเหตุพหุระดับประสิทธิผลองค์การสำหรับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มีความแปรเปลี่ยนด้านรูปแบบระหว่างมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และกลุ่มมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ
Other Abstract: The objectives of the present research were: (1) to develop an effective measurement model for faculties of education at higher education institutions in Thailand; (2) to study causal factors at individual and field levels for correlation and effect on effectiveness of faculties of education; and (3) to test invariance of a multilevel causal analysis model of faculty of education effectiveness among public universities and public autonomous universities. A total of 132 fields and 991 samples were randomly stratified, and consisted of 59 fields 397 persons from four public autonomous universities (Chulalongkorn University, Chiang Mai University, Burapha University and Thaksin University); and 73 fields 594 persons from seven public universities (Khon Kaen University, Mahasarakham University, Silpakorn University, Kasetsart University, Srinakharinwirot University, Naresuan University and Prince of Songkla University). Instruments used was a questionnaire. Organizational effectiveness was described by nine variables, namely: (1) educational satisfaction; (2) academic development; (3) faculty members’ satisfaction; (4) professional development; (5) system openness and community interaction; (6) ability to acquire resources; (7) goal attainment; (8) internal process management; and (9) learning and development. A 5-point Likert scale was used to measure the results, with Cronbach’s alphas ranging from 0.718 to 0.898. Statistical analyses were made based on descriptive statistics, and Pearson’s product-moment correlation coefficient was calculated using SPSS software. Multilevel confirmatory factor analysis and multilevel causal model analysis were performed using Mplus. The research results showed that: (1) The model of organizational effectiveness of faculties of education in public autonomous and public universities, in terms of faculty members’ perceptions, showed that individual levels regarding faculty of education effectiveness were important for all indicators: the most important at an individual level was internal process management, while at a field level the most important was goal attainment; but system openness and community interaction were less important at both levels. (2) The proposed multilevel causal model of faculty of education effectiveness fits quite well with the empirical data set (x[superscript 2] =702.030, df = 371, p =0.000, x[superscript 2] /df = 1.892, CFI =0.980, TLI = 0.972, RMSEA = 0.030, SRMR[subscript w] = 0.027, SRMR[subscript B] =0.097). (3) Statistical analysis further showed that individual-level variables, such as management policy, academic experience and characteristics of field, significantly affected the faculty members’ perceptions of effectiveness. For field-level variables, only policy management and personal characteristics of the unit were significance. The predictor variables at the individual and field levels accounted for variance of the faculty of education effectiveness of about 95.00% and 91.90%, respectively. (4) The test of the invariance of the multilevel causal model of faculty of measurement effectiveness showed that the developed model was not invariant in model.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16539
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.638
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.638
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattrawadee_ma.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.