Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร-
dc.contributor.advisorทิพย์สุดา ปทุมานนท์-
dc.contributor.authorดำเนิน เตจ๊ะใหม่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรม-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-01-26-
dc.date.available2012-01-26-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16601-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractตลาด เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของเมือง มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อย่างลึกซึ้ง ได้แก่ ชุมชน วัด และโรงเรียน โดยเฉพาะความสำคัญในการอาศัยอยู่ของผู้คน ตลาดเป็นถิ่นบริการอาหาร บริการเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน และยังเป็นถิ่นรองรับการปฏิสันถารของผู้คนไว้อย่างหลากหลาย ในความเข้าใจนี้ตลาดจึงเป็นถิ่นที่ดำรงอยู่อย่างมีความหมายลึกซึ้ง การวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาการใช้สอยที่ว่างในตลาดตรอกหม้อ ซึ่งเป็นตลาดสดลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่กับชุมชนในย่านเมืองเก่า กรุงรัตนโกสินทร์มาช้านานกว่า 50 ปี โดยอาศัยการศึกษาเชิงสัณฐานวิทยา ร่วมกับแนวคิด ทฤษฎี ปรากฏการณ์ศาสตร์ และจิตวิทยาสถาปัตยกรรมมาเป็นกรอบความคิดในการศึกษา โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารและการวิเคราะห์ปรากฏการณ์และสถานการณ์ จากประสบการณ์ในสนามช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนเมษายน 2552 โดยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การจดบันทึก การบันทึกด้วยภาพถ่าย ร่วมทั้งการร่างภาพ การวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาเรื่องราวของชุมชน และชีวิตผู้คนในชุมชนตลาดตรอกหม้อ ประกอบด้วยการศึกษาเรื่องราวของสี่กั๊กเสาชิงช้า ย่านสังฆภัณฑ์บำรุงเมือง และชุมชนตรอกหม้อ การศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของตลาดตรอกหม้อ การศึกษาองค์ประกอบในชุมชน และการศึกษาเรื่องราวชีวิตและกิจกรรมของผู้คนในชุมชนตลาดตรอกหม้อ จากนั้นได้ศึกษาความสัมพันธ์ของตลาดตรอกหม้อกับบริบทแวดล้อม ได้แก่ การศึกษาความสัมพันธ์ของตลาดตรอกหม้อกับผู้คน ความสัมพันธ์ของตลาดตรอกหม้อกับสินค้า ความสัมพันธ์ของตลาดตรอกหม้อกับพื้นที่และเวลา ซึ่งนำไปสู่การศึกษาในระดับเล็กภายในตลาด คือการวิเคราะห์มิติทางกายภาพ มิติทางกิจกรรม และมิติทางความหมายในการใช้สอยที่ว่างในตลาด ตรอกหม้อ อันประกอบด้วย “ที่ว่างที่มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกิจกรรมการใช้สอย” “ที่ว่างที่มีชีวิต ที่แปรเปลี่ยนได้ เติบโตได้ และเคลื่อนได้” “ที่ว่างที่มีขนาดเล็กและมีการใช้สอยอย่างเข้มข้น” “ที่ว่างที่มีปฏิสันถารกับชีวิต” และ “ที่ว่างที่เปิดสู่ประสบการณ์การรับรู้หลากสัมผัส” โดยความหมายทั้งห้าประการประกอบเป็นความหมายองค์รวมในที่ว่างของตลาดตรอกหม้อ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปถึงความเป็น “ตลาดแห่งชีวิต” ที่ให้คุณค่าและความหมายในการอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คน ชุมชน และสภาพแวดล้อม จากความเข้าใจในมิติกายภาพ กิจกรรมและความหมายองค์รวมของที่ว่างในตลาด จึงนำสู่การสรุปรวบยอด คุณค่าและความหมายของ “ตลาดแห่งชีวิต” เพื่อสืบสานไว้เป็นข้อคิด ข้อพิจารณาในการออกแบบสถาปัตยกรรมตลาด หรือเป็นแนวทางในการปรับปรุงที่ว่างในตลาด อันประกอบด้วย “ตลาดเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิต” “ตลาดเป็นโลกที่มีชีวิต” “ตลาด เป็นโลกแห่งชีวิต” รวมทั้งการตั้งข้อสังเกตถึงมูลเหตุสำคัญที่เอื้อให้ตลาดตรอกหม้อดำรงอยู่อย่างยั่งยืนไว้ห้าประการ คือ “ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่ายกับบริบทแวดล้อมของตลาด” “การพึ่งพากันของผู้คน สินค้า และการใช้สอยที่ว่างภายในตลาด” “การไหลเวียนของผู้คนภายในชุมชนและย่านกับตลาด” “ความไม่ตายตัวของรูปแบบตลาด” และ “ความหลากหลายของสินค้า และที่ว่างภายในตลาด” ท้ายสุดประเด็นที่ได้จากการศึกษาการใช้สอยที่ว่างในตลาดตรอกหม้อ จะนำไปสู่การสานต่อเป็นบทเรียนจากการศึกษาการใช้สอยที่ว่างในตลาด อันเป็นแบบอย่างในการใช้สอยที่ว่างที่มีคุณค่า และมีความหมายต่อการอาศัยอยู่ของผู้คน อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างในวิถีทางของการอยู่อย่างยั่งยืนen
dc.description.abstractalternativeMarkets are both important urban elements and dwellings. As urban elements, they relate to other urban elements, such as temples and schools; and as dwellings, they serve as places where people live and share their lives with each other. This research is a study of the spatial usage in Trokmo Market, an informal market in the Trokmo community, which has been located in an old area of Bangkok since the 1960s. Nowadays, Trokmo Market still retains its meaningful social system and has its own characteristics and identity. This study is grounded in morphology, phenomenology and architectural psychology, and uses theme analysis and situational analysis from field observations, which were carried out from October 2008 until April 2009, along with data collection by participant observation, informal interviews, mapping, field notes and sketches. The research started with a study of the social and historical background of the Trokmo Market comprised of studies of the history of the district and the Trokmo Market community, the stages the market went through in its development, the elements of the market community and the life stories of people in the community. This was followed by analyses of Trokmo Market at both macro- and micro levels. The macro level analysis focused on how the market relates to its context through important elements of the market, such as people, goods and space-time relations. The micro level analysis focused on the physical and psychological dimensions, and the meaning of space in the market. Five spatial aspects of the market that contribute to the quality of space and life were identified: 'polychronic space', 'changeable-growable-moveable space', 'small space', 'dialogical space' and 'multisensory space'. When seen through the lens of these five aspects, the market could be conceived of as a 'market of life', as the market is the 'center of life', the 'living world' and the 'lifeworld'. To conclude, in line with the design concept of a 'market of life', five major factors that have helped Trokmo Market attain sustainable growth were identified: the relationships as a network system of the market, the dependency of people, community, goods and spatial usage in the market, the flow of life in the district and the market, the temporal character of the market and the diversity in the market.en
dc.format.extent31411904 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1051-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่ว่าง (สถาปัตยกรรม)en
dc.subjectตลาด -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectตลาดตรอกหม้อ (กรุงเทพฯ)en
dc.titleการใช้สอยที่ว่างในตลาด : กรณีศึกษาตลาดตรอกหม้อ แขวงวัดราชบพิธ กรุงเทพฯen
dc.title.alternativeThe spatial usage in the market : a case study of Trokmo Market Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTerdsak.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisortipsuda.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1051-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Damnoen_Te.pdf30.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.