Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1664
Title: การจัดตารางการผลิตสำหรับระบบการผลิตแบบไหลเลื่อนที่ไม่มีบัฟเฟอร์ โดยวิธีฮิวริสติก กรณีศึกษา : โรงงานประกอบรถยนต์
Other Titles: A heurictic search method for flowshop scheduling with zero buffer a case study : An automobile assembly plant
Authors: ศรันยา อุดมศรี, 2524-
Advisors: วิภาวี ธรรมภรณ์พิลาศ
สีรง ปรีชานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Seeroong.P@Chula.ac.th
Subjects: การกำหนดงานการผลิต
ระบบการผลิตแบบโฟลว์ชอป
โรงงานประกอบรถยนต์
ฮิวริสติก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัมนาวิธีการแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิต สำหรับระบบผลิตแบบไหลเลื่อนที่ไม่มีสถานที่เก็บงานระหว่างกระบวนการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาลำดับของงานที่ทำให้เวลาปิดงานของระบบดีที่สุด โดยในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกคือการพัฒนาวิธีค้นหาคำตอบแบบฮิวริสติก เป็นการเปรียบเทียบวิธีฮิวริสติก NEH และวิธีฮิวริสติกที่ได้ทำการพัฒนาโดยใช้ข้อมูลเวลาการดำเนินงานที่เป็นค่าคงที่จาก OR-Library และในส่วนที่สองเป็นการนำวิธีฮิวริสติก NEH และวิธีฮิวริสติกที่พัฒนามาประยุกต์ใช้กับสายการผลิตของโรงงานกรณีศึกษา ผู้วิจัยทำการพัฒนาวิธีฮิวริสติกซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการเรียงลำดับงานเริ่มต้น โดยในขั้นตอนนี้เป็นการทดลองสร้างลำดับงานเริ่มต้นใหม่ ขั้นตอนที่ 2 คือขั้นตอนการแทรกงานลงในตำแหน่งต่างๆ ของลำดับงาน ให้สอดคล้องกับลำดับงานเริ่มต้นที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 จากนั้นทำการประเมินผลในงานวิจัยส่วนแรกโดยเปรียบเทียบเวลาปิดงานของระบบที่ได้จากวิธีฮิวริสติก กับค่าคำตอบที่ดีที่สุดที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าวิธีที่พัฒนาจากวิธีฮิวริสติกของ Palmer, วิธี Sum Absolute Differences และวิธี Sum Absolute Residuals สามารถหาค่าคำตอบที่ดีกว่าวิธีฮิวริสติก NEH และวิธีฮิวริสติกที่พัฒนาเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการหาคำตอบที่ไม่ต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ในส่วนที่สองพบว่าวิธีฮิวริสติกที่พัฒนาสามารถหาลำดับของงานที่ทำให้เวลาปิดงานของระบบน้อยลงกว่าแผนการผลิตในปัจจุบันของโรงงานกรณีศึกษา นอกจากนั้นวิธีฮิวริสติกที่พัฒนายังสามารถหาคำตอบใกล้เคียงกับค่าคำตอบที่ดีที่สุดที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ นั่นคือเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของคำตอบโดยเฉลี่ยไม่มากกว่า 1% และจากการวิเคราะห์ความไวของวิธีฮิวริสติกที่พัฒนาพบว่าวิธีฮิวริสติกที่พัฒนาจากฮิวริสติกของ Palmer มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดจากสมมติฐานว่าถ้าหากมีการเสียของเครื่องจักร
Other Abstract: This research was proposed to solve a flowshop scheduling with zero buffer problem. The aim of the study was to discover the work sequence of minimum makespan. The research can be divided into two parts. The first part of work is using the heuristic search method with the constant data that taken from the OR-Library in order to evaluate the solution that was better than the NEH algorithm. Another part of work would be taken a NEH algorithm and the improved heuristic search method to apply for using in a case study of automobile assembly plant. The researcher developed the heuristic search method, with there were two step. The first step was to generate the initial sequence and trial to build a new initial sequence. The second step, the work sequence was inserted into the various positions that conform to initial sequence getting form the first step. And then, estimated the results form the first part by compared the makespan from heuristic search method with the optimal solution from math model method. Theresults found that the developed heuristic search method from Palmer, sum absolute differences, and sum absolute residuals, can be evaluated the better solution than the NEH algorithm at the 90% confidence interval. In the second part, the data of flowshop scheduling in the case study at the present time found that the improved heuristic search method can be evaluated the solution nearby the optimal solution because the percent differences are lower than one percent. Finally, the sensitivity analysis with machine breakdown assumption found that the developed heuristic search method from Palmer is the best heuristic from the others improved heuristic.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1664
ISBN: 9741762208
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranya.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.