Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16660
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรัตน์ อภินันท์กูล-
dc.contributor.authorเมธปิยา เกิดผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-04T05:16:34Z-
dc.date.available2012-02-04T05:16:34Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16660-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา 2) เปรียบเทียบทักษะทางอารมณ์ก่อนและหลังการทดลองของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา 3) เปรียบเทียบทักษะทางอารมณ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา 4) ศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยประชากรในการวิจัยคือ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา จำนวน 625 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน โดยให้ทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับทักษะทางอารมณ์เพื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ จำนวน 20 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม 14 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 8 วัน โดยในแต่ละกิจกรรมมีทั้งการใช้ระยะเวลายาวนานกว่าหรือสั้นกว่าที่กำหนด รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับทักษะทางอารมณ์ แบบวัดทักษะทางอารมณ์ในด้านทัศนคติ แบบวัดทักษะทางอารมณ์ในด้านพฤติกรรม และแบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) โดยโปรแกรม SPSS version 17.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา มีความสอดคล้อง สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชน และสามารถพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชนโดยครอบคลุม การรู้เท่าทันอารมณ์ การยอมรับอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ 2. ผลการทดลองกิจกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะทางอารมณ์ของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองกิจกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะทางอารมณ์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการทดลองกิจกรรมพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของกลุ่มทดลอง มีความพึงพอใจเฉลี่ยในด้านการจัดการอยู่ในระดับมากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to develop non-formal education activities based on participatory learning concept to develop emotional skills of children and youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for boys. 2) to compare the emotional skills of children and youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for boys before and after the experiment; 3) compare emotional skills of children and youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for boys between the controlled and the experimental group; 4) and to study participants’ satisfaction towards non-formal education activities after the experiment. The research methodology was quasi-experimental design. 40 youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for boys from 625 youths were selected to be the research samples. They had to take the attitude test in order to divided into 2 groups: 20 were in the experimental group and 20 were in the controlled group. The activities were organized for 50 hours in 8 days. The research instruments were the activities plan, the knowledge test, the attitude test, the behavior test, and the evaluation form. The data were analyzed by using means (x-bar), standard deviation (S.D.), and independent-samples t (t-test) at .05 level of significance with SPSS version 17.0 program The results were as follow 1. The developed non-formal education activities based on participatory learning concept to develop emotional skills served the needs of the children and youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for boys and enhanced the children and youths’ emotional skills: emotional quotient, emotional acceptance, and emotional control. 2. After the experiment, the mean scores in knowledge, attitude, and behavior of emotional skills of the experimental group were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After the experiment, the experimental group had means scores in knowledge, attitude, and behavior of emotional skills higher than the controlled group at .05 level of significance. 4. After participated in non formal education activities, most participants reported their satisfaction towards the activities at the highest level.en
dc.format.extent2887749 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1398-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen
dc.subjectการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมen
dc.subjectอารมณ์ในเด็กen
dc.subjectอารมณ์ในวัยรุ่นen
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์en
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณาen
dc.title.alternativeEffects of organizing non-formal education activities based on participatory learning concept to develop emotional skills of children and youths in Bannkaruna Juvenile Vocational Training Centre for Boysen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisoraeworarat@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1398-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
methpiya_ke.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.